'เรืองไกร' จี้ผู้ตรวจการแผ่นดิน เร่งส่งเรื่องแต่งตั้ง ผบ.ตร. ให้ศาลปกครองวินิจฉัย

14 ต.ค.2566 - นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กล่าวว่า ตามที่ตนส่งหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบมติ ก.ตร. เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2566 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 258 ง. ด้านกระบวนการยุติธรรม (4) และมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 78 หรือไม่ ไปแล้วนั้น

นายเรืองไกร กล่าวว่า หนังสือตนมีการรับแล้วเมื่อวันที่ 2 ต.ค. แต่จนถึงวันนี้ ยังไม่ทราบความคืบหน้าเรื่องนี้แต่อย่างใด ทั้งที่เป็นเรื่องที่ปรากฏโดยทั่วไป และสังคมก็มีความสนใจติดตาม ซึ่งต่อมา เมื่อวันที่ 5 ต.ค. พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ก็ส่งเรื่องนี้ไปให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบอีกทางหนึ่งด้วย

นายเรืองไกร กล่าวอีกว่า เพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทำตามหน้าที่และอำนาจให้เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ และปราศจากอคติทั้งปวงในการใช้ดุลยพินิจ ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 215 ประกอบมาตรา 231 (2) ตนจึงขอส่งหนังสือเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการดังต่อไปนี้

1. นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ตามความในพรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 ใช่หรือไม่

2. ในที่ประชุม ก.ตร. มีบุคคลภายนอกคือ นายพิชิต ชื่นบาน ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และอดีตทีมทนายความของนายทักษิณ ชินวัตร เข้าร่วมในวงประชุมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมประชุมด้วย ใช่หรือไม่ และทำให้การประชุมดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนพรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 31 หรือไม่ (รายละเอียดปรากฏตามข่าวและภาพในเว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ หัวข้อ "ทำให้จบ" วลีสั้นๆทางโทรศัพท์ เบื้องหลังตั้ง "บิ๊กต่อ" นั่งผบ.ตร. วันที่ 27 ก.ย. 2566)

3. การประชุมและการลงมติของ ก.ตร. เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2566 เป็นไปตามข้อบังคับตามความในพรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 31 วรรคสี่ หรือไม่

4. การประชุมและการลงมติของ ก.ตร. เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2566 มีการกระทำหรือการกระทำอื่นใดที่ไม่ชอบด้วยพรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 78 เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต ตามความในพรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 หรือไม่

5. การประชุมและการลงมติของ ก.ตร. เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2566 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 258 ง. ด้านกระบวนการยุติธรรม (4) หรือไม่ และเป็นอันใช้บังคับมิได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 วรรคหนึ่ง หรือไม่

6. การกระทำของนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2566 ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือ เสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ต่อข้าราชการตำรวจและประชาชนโดยทั่วไป หรือไม่

7. ผู้ตรวจการแผ่นดินต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 215 ประกอบมาตรา 231 (2) และนำแนวคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.574/2559 มาเป็นหลักในการพิจารณา เพื่อส่งเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้าว่า การกระทำของนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่เสนอชื่อและลงมติเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2566 เป็นการกระทำมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 258 ง. และไม่ชอบด้วยพรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตราที่เกี่ยวข้อง ใช่หรือไม่

นายเรืองไกร กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนยังได้ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งผลให้ทราบโดยด่วนด้วย ทั้งนี้เพื่อจะใช้สิทธิที่พึงมีดำเนินการตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป อีกทางหนึ่งด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เคาะแล้ว! ก.ตร. แต่งตั้ง รองผบ.ตร.-ผบช. 'สยาม บุญสม' ม้ามืดผงาดนครบาล

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่ 10/2567 โดยวาระสำคัญ คือวาระที่ 4 เรื่องที่ 4 การคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ วาระประจำปี 2567 ระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ถึงผู้บัญชาการ (ผบช.) เป็นการใช้ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เป็นครั้งแรก

ชาวบ้านเกาะเต่า ร้องผู้ตรวจฯ ชงศาลปค. เพิกถอนกฎกระทรวงห้ามออกโฉนดบนเกาะ

นายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบและมีความเห็นเสนอต่

'เพื่อไทย' ไม่ฟังเสียงต้าน! ดันทุรังเข็น 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน