ผู้เชี่ยวชาญด้านจัดหางาน อัดรัฐบาลอพยพแรงงานไทยล่าช้า ไม่มีแผนชัดเจน

อดีตประธานที่ปรึกษาบริษัทจัดหางาน อัดรัฐบาลอพยพแรงงานไทยล่าช้า ไม่มีแผนชัดเจน แนะควรเริ่มอพยพตั้งแต่ 24 ชม.แรก แนะเร่งอพยพไปยังพรหม​แดน​ประเทศจอร์แดน​ก่อน แล้วส่งเครื่องบินไปรับที่สนามบินอัมมาน​

13 ต.ค.2566 - นายจักรกฤษณ์ สุวรรณสาร อดีตประธานที่ปรึกษา บริษัท จัดหางาน เงินและทองพัฒนา จำกัด ให้สัมภาษณ์ถึงมาตรการการอพยพแรงงานไทยจากประเทศอิสราเอล​ของรัฐบาล ว่า การอพยพแรงงานในขณะนี้ได้แต่พูดคุยและแถลงข่าว ไม่มีมาตรการที่ถูกต้อง ซึ่งสิ่งที่รัฐบาล​ควรทำคือต้องมีฐานข้อมูลว่าคนไทยที่อยู่ในอิสราเอล​อยู่ในพื้นที่ใด และมีจำนวนเท่าไหร่ และต้องรวบรวมแผนงานอพยพให้ชัดเจนว่าแรงงาน 3 พันคนจะต้องอพยพไปที่ไหน และขนย้ายกลับทางไหน ซึ่งตนมองว่าจุดเดียวที่สามารถอพยพได้คือการข้ามพรหมแดนไปประเทศจอร์แดน​ และส่งเครื่องบินจากประเทศไทยไปยังสนามบินกรุงอัมมาน เพื่อรับคนไทย สำหรับการส่งเครื่องบินของกองทัพอากาศไปรับคนไทยนั้น มองว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะเครื่องบินทหารจะต้องจอดแวะเติมน้ำมันหลายจุดจะทำให้เสียเวลา

ส่วนการที่นายกรัฐมนตรี​เร่งเจรจาสายการบินพาณิชย์​อื่นๆ เพื่อระดมจัดส่งเครื่องบินไปรับคนไทยนั้น นายจักรกฤษณ์ กล่าวว่า จะนำเครื่องบินพาณิชย์​ไปทำอะไรในเมื่อยังไม่มีแผนอพยพ คุณจะต้องมีแผนอพยพให้ชัดเจน และไม่ต้องรอว่าใครจะลงชื่อกลับไม่กลับ จะต้องอพยพให้กลับไทยให้หมดก่อน เมื่อเหตุการณ์​สงบแล้วค่อยกลับไปทำงานใหม่

นายจักรกฤษณ์​ กล่าวต่อว่า เมื่อประกาศอพยพจะต้องทำภายใน 24 ชม. แต่นี่ไม่ทำอะไรเลยมีแค่การประกาศอพยพ และรอรายงานจากสถาน​ฑูต​ไทย แต่สถาน​ทูต​ไทยก็ไม่ได้มีแอคชั่นอะไร โดยการอพยพจะต้องเจ้าหน้าที่​จากกระทรวง​แรงงาน และกระทรวงการต่างประเทศเข้าไปในอิสราเอล​ เพื่อไปช่วยวางแผนงานกับสถาน​ทูต​ในการอพยพ เพราะว่า​งานนี้​รัฐบาล​ต้องรับผิดชอบ​ คนงาน 3 หมื่นกว่าคนที่ทำงานในอิสราเอล​ก็ถูกส่งโดยรัฐบาล ​ไม่ได้ส่งโดยเอกชน ฉะนั้นรัฐบาลต้องนำแรงงานไทยกลับมาให้เร็วที่สุด ซึ่งถ้าเหตุการณ์​สงบ​แล้วนายแจ้งอิสราเอล​ก็ต้องการแรงงานไทยกลับเข้ามาทำงาน ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าตัวเองจะตกงาน

"ซึ่งครั้งเมื่อผมดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษา บริษัทจัดหางาน เงินและทองพัฒนา จำกัด ที่ต้องจัดส่งลูกจ้างไปทำงานที่ลิเบีย ได้ช่วยอพยพแรงงานไทยที่อยู่ในประเทศ​ลิเบีย ในช่วงที่เกิดสงครามเมื่อปี 2554 กว่าหมื่นคนไม่มีใครเสียชีวิต ซึ่งวันแรกก็อพยพได้พันกว่าคนและใช้เวลาอพยพแค่ 7 วันเท่านั้น ถือว่าเร็วพอสมควรเมื่อเทียบกับการอพยพในสถานการณ์​ที่ประเทศอิสราเอล​"

ผู้เชี่ยวชาญด้านจัดหางานต่างประเทศ ​ ยังกล่าวอีกว่า เมื่อรัฐบาล​ส่งแรงงานไทยไปทำงานโดยไม่มีแผนการอพยพในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ​ หรือสงคราม ก็จะไม่เกิดประโยชน์​ เราต้องมองปัญหา​เพื่อพร้อมที่จะแก้ไขทันทีที่เกิดเหตุ เพราะฉะนั้นแผนงานของรัฐบาลที่บอกว่าเตรียมเครื่อง​บินนั้นเตรียมไปทำไมในเมื่อไม่มีแผนอพยพที่ชัดเจน และการเตรียมเครื่องบินจะต้องรู้ว่าสามารถ​บรรจุได้กี่คน ระยะการบินบินได้กี่ชั่วโมง เครื่องบินแอร์บัส 320 บินได้แค่ 5-6 ชั่วโมง ซึ่งการที่จะเดินทางไปอิสราเอลจะต้องใช้เวลากว่า 8-9 ชั่วโมง​และต้องเป็นเครื่องบินลำใหญ่ ตนมองว่ารัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศ​เตรียมการยังไม่เป็นงานเท่าไหร่

"ตอนนี้ชีวิตคนงาน ขวัญ​ และกำลังใจ​ใจของคนที่รอบินกลับ สมรรถภาพ​ทางจิตใจ​ความว้าวุ่น​เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ตอนนี้มีทางเดียวที่จะต้องทำให้เร็วที่สุดคือจะต้องรีบอพยพคนไทยไปยังพรหม​แดน​ประเทศจอร์แดน​และส่งเครื่องบินไปรับที่สนามบินอัมมาน​ วันหนึ่งอพยพ 3 พันคนพอแล้ว มิฉะนั้นจะทำไม่ทัน แล้วค่อย ถ้าทำแบบนี้เรื่อยๆ 10 วันก็ครบ 3 หมื่นคนดังนั้นแนะนำให้อพยพออกมาก่อน อย่าไปรอว่าเหตุการณ์​จะสงบเมื่อไหร่ เพราะกลุ่มฮามาสกล้าบุกถึงขนาดนี้หมายความว่าเขาจะต้องมีของดีอัดอิสราเอล​แน่นอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปานปรีย์' บินอิสราเอล เตรียมนำ 17 ตัวประกันกลับบ้าน ถึงไทย 30 พ.ย.

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ ได้พบหารือกับนางออนา ซากีฟ เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ที่กระทรวงการต่างประเทศ ในวันนี้ (27 พ.ย.) เพื่อแจ้งการที่นายปานปรีย์จะเดินทางไปยังอิสราเอลในคืนนี้

คนไทยในอิสราเอลตายเพิ่ม 2 ราย ประกาศปิดศูนย์พักพิงที่โรงแรมแล้ว

กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสถานการณ์ผลกระทบต่อคนไทยจากสถานการณ์อิสราเอล-กาซา มีผู้เสียชีวิต 34 ราย เพิ่มขึ้น 2 ราย ผู้บาดเจ็บเท่าเดิม 19 ราย โดยยังอยู่ใน รพ. 4 ราย และผู้ถูกจับกุม 24 ราย เพิ่มขึ้น 1 ราย

ทอ.ปรับเส้นทางบินใหม่ ผ่านน่านฟ้า 4 ประเทศ รับคนไทยกลับ 145 คน ถึง 26 ต.ค.นี้

ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 กองทัพอากาศ ส่งเครื่องบิน A-340 อพยพคนไทยในอิสราเอล เที่ยวบินที่ 4 ปรับเส้นทางบินใหม่แบบต่อระยะ หรือ แอร์บริดจ์ บินผ่านน่านฟ้า 4 ประเทศ อพยพคนไทยจากสนามบินฟูไจราห์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยไม่ต้องบินไปถึงอิสราเอล

'เศรษฐา' เตือนคนไทยในอิสราเอลรีบกลับทันที อย่าเปลี่ยนใจ ชี้สถานการณ์จะเลวร้ายกว่านี้

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมศูนย์ประสานงานสถานการณ์ฉุกเฉินความไม่สงบในอิสราเอล-กาซา เพื่อติดตามความคืบหน้าในการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ประสงค์เดินทางกลับประเทศ

ก.แรงงานปรับแผนอพยพคนไทยจากอิสราเอล ชี้ลงทะเบียนขอกลับ 8,439 คน

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่กระทรวงแรงงานได้ส่งเจ้าหน้าที่ จำนวน 10 คน ไปปฏิบัติภารกิจอพยพแรงงานจากอิสราเอลกลับไทย

'บินไทย' ปรับจุดรับแรงงานไทยกลับจากอิสราเอลจาก 'เทลอาวีฟเป็นฟูไจราห์' ประเทศยูเออี

‘บินไทย’เตรียมปรับจุดรับแรงงานไทยกลับจากอิสราเอล จาก ’เทลอาวีฟเป็นฟูไจราห์‘เตรียมพร้อมนักบิน-ลูกเรือกว่า 500 คน สมัครใจร่วมปฏิบัติภารกิจ วันละ1เที่ยวบินถึงสิ้นเดือนต.ค.นี้