'ศ.ดร.ณัฐวุฒิ' ชี้หากแตะต้องนโยบายรัฐบาลไม่ได้ก็ไม่ต่างจากประเทศเผด็จการ!

'ศ.ดร.ณัฐวุฒิ' อบรม 'เศรษฐา' ชี้แม้คนส่วนใหญ่จะเลือกพรรคนี้เป็นรัฐบาลก็ท้วงติงนโยบายได้ อัดหากวิจารณ์ไม่ได้ก็ต่างอะไรจากประเทศเผด็จการ

11 ต.ค.2566 - ศ.ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ถ้าคนส่วนใหญ่เขาเลือกพรรคนี้มาเป็นรัฐบาลแล้ว หมายความว่าเราไม่ควรจะท้วงในนโยบายของรัฐเลย ใช่หรือไม่” ระบุว่า วันนี้ผมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนที่เข้ามาอ่านและเขียนท้วงผมว่า ถ้าคนส่วนใหญ่เลือกเขามาเป็นรัฐบาลแล้ว นักวิชาการอย่างผมก็ไม่ควรจะออกไปท้วงนโยบายของเขา ถ้าอยากจะท้วง ควรที่จะไปท้วงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งโน่น ไม่ใช่ตอนนี้

ก่อนอื่นเลยนะครับ ไม่ว่ารัฐบาลนี้จะได้เสียงส่วนมากหรือไม่นั้น นักวิชาการควรที่จะมีสิทธิท้วงในเรื่องของนโยบายของรัฐได้ เพราะว่า

1.ในตอนก่อนที่จะเลือกตั้งนั้น มันมีพรรคอยู่หลายพรรคมากๆ และแต่ละพรรคก็มีนโยบายของพรรคเป็นร้อยๆนโยบาย มันไม่มีทางเลยที่นักวิชาการอย่างผมจะไปสามารถเขียนถึงคุณและโทษของทุกๆนโยบายในแต่ละพรรคได้ (ยกเว้นว่าผมเป็นนักวิชาการที่ด้อมพรรคใดพรรคหนึ่ง และอยากจะเขียนโจมตีพรรคคู่แข่งเพื่อที่จะ discredit พรรคนั้นๆ ซึ่งไม่ใช่ผม) เพราะฉะนั้นนักวิชาการอย่างผมจึงสามารถเขียนถึงคุณและโทษของพรรคที่ประชาชนได้เลือกมาแล้วเท่านั้น อันนี้เป็นเพราะว่าเราสามารถ narrow down ได้เรียบร้อยแล้วว่านโยบายไหนอาจจะเกิดขึ้นจริงๆ สรุปก็คือการที่นักวิชาการออกมาเขียน มาพูด ถึงนโยบายของพรรคที่ประชาชนเลือกไปแล้วนั้น มันเป็น cost and time-saving strategy ของนักวิชาการมากกว่า

2.การที่คนเลือกพรรคใดซักพรรคหนึ่งนั้นไม่ได้หมายความว่าเขาชอบทุกๆ นโยบายของพรรคที่เขาเลือก ผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับทุกๆ นโยบายของพรรคที่ผมเลือก และผมก็เชื่อว่าหลายคนก็คงจะรู้สึกอย่างนั้นเหมือนกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่าคนเราทุกคนเลือกพรรคที่ best represent อัตลักษณ์ในเชิงการเมืองของเขา แต่ best represent ไม่ได้หมายความว่า 100% เสมอไป สรุปก็คือคนทุกคนมีสิทธิในการท้วงติงนโยบายของรัฐบาล ถึงแม้ว่ามันจะเป็นรัฐบาลที่เขาเลือกมาก็ตาม

3. คล้ายๆกันกับข้อที่ 1 นโยบายแต่ละนโยบายของรัฐไม่ได้มาจากประชามติ เพราะถ้าเป็นประชามติล่ะก็ นักวิชาการอย่างผมสามารถท้วงติงถึงมันตั้งแต่ก่อนที่จะมีประชามติได้ แต่การเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นการเลือกตั้งเอาผู้แทนราษฎรเข้าสภา เพราะฉะนั้นจะบอกว่าทำไมนักวิชาการไม่ท้วงติงก่อนที่จะเลือกเขาไปเป็นรัฐบาลก็ไม่ได้ ในขณะนี้สิ่งที่นักวิชาการทำได้ดีที่สุดคือการท้วงก่อนที่จะมีการนำนโยบายนี้มาใช้ ว่าถ้าจะใช้จริงๆ เราควรจะใช้ยังไงให้มันมีผลเสียที่จะตามมาน้อยที่สุด ซึ่งก็คือสิ่งที่ผมและเพื่อนๆนักเศรษฐศาสตร์หลายคนกำลังทำอยู่

4.ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญที่สุด ถ้าเราเชื่อว่า ก็คนส่วนใหญ่เลือกเขาไปเป็นรัฐบาลไปแล้ว นักวิชาการไม่มีสิทธิไปขัดเสียงประชาชนส่วนใหญ่ มันก็หมายความว่ารัฐบาลจะทำอะไรก็ได้กับประเทศ เพราะเขามี mandate ไปเรียบร้อยแล้ว

ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ผมก็มองว่าประเทศเราก็ไม่ได้ต่างอะไรจากประเทศที่เป็นเผด็จการ ผมเชื่อว่าเราได้เดินทางออกมาจากจุดนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็หมายความว่าคนเราทุกคนมีสิทธิในการ debate ในการแสดงออกถึงความกังวลต่อนโยบายต่างๆนานาของรัฐ และนักวิชาการอย่างผมก็ถือว่า ถึงแม้ว่าทางรัฐจะยัง insist ทำในสิ่งที่เขาอยากจะทำอยู่แล้ว อย่างน้อยผมก็ยังรู้สึกดีกับตัวเองว่า ในเวลาที่เรายังทำอะไรได้ เราได้ทำหน้าที่ของเราได้ดีที่สุดเท่าที่เราทำได้แล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ภูมิธรรม’ มั่นใจนายกฯกลับมาประชุมตั้ง ‘เจทีซี’ เสร็จ ชงเข้าครม.19 พ.ย.ทันที

‘ภูมิธรรม’ ระบุ หากนายกฯกลับมา เรียกถก ตั้ง เจทีซี วันนี้ก็ เข้าครม.ทันพรุ่งนี้ โยน กต.เคาะรายชื่อ ลั่น เกาะกูดไม่จบซํ้ารอยเขาพระวิหารแน่ ยัน ไม่มีเหตุผลต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44

กมธ.ประชามติ เตรียมเชิญ 'ปณท-กกต.' ถกออกเสียงประชามติผ่านไปรษณีย์

นายนพดล ปัทมะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติ ให้สัมภาษ

'ภูมิใจไทย' นัดหลังปีใหม่ ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาลครั้งต่อไป ว่า