นิด้าโพล เปิดผลสำรวจประชาชนไม่เชื่อมั่นตำรวจปฏิบัติงานเต็มที่ โปร่งใส

8 ต.ค. 2566 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชาชนเชื่อมั่นตำรวจแค่ไหน?” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 2-5 ตุลาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อตำรวจในด้านต่าง ๆ การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความเชื่อมั่นต่อตำรวจในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1.ด้านการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่และโปร่งใส

1.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้และไม่เลือกปฏิบัติ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.09 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 27.48 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 24.05 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 10.30 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

1.2 เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ ไม่คล้อยตามอิทธิพลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 9.69 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

2.ด้านการให้บริการและอำนวยความสะดวก

2.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถช่วยเหลือประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนบนท้องถนนได้เป็นอย่างดี เช่น ช่วยเคลื่อนย้ายหรือซ่อมแซมรถเสีย นำผู้ป่วย ผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.78 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.77 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 19.16 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 11.30 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

2.2 เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสามารถควบคุมการจราจรให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 26.34 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 21.53 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 12.82 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

2.3 สถานีตำรวจให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี รวมถึงสามารถให้ความช่วยเหลือแนะนำทั้งด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.87 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 25.72 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 20.76 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 14.05 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

2.4 เจ้าหน้าที่ตำรวจมีบริการแจ้งความคืบหน้าในคดีแก่ผู้เสียหายภายในระยะเวลาที่เหมาะสม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.67 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.08 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 22.83 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 10.46 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 4.96 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

3.ด้านความสามารถในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม

3.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการปฏิบัติงานและดำเนินคดี พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 36.57 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 26.41 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 20.00 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 12.21 ระบุว่าไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 4.81 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

3.2 ระบบในการรับแจ้งเหตุ และการตอบสนองของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.36 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.39 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 17.48 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 16.03 ระบุว่าเชื่อมั่นมาก และร้อยละ 3.74 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

3.3 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถสืบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงทางคดีและจับกุมผู้กระทำผิดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.72 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 30.38 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 15.80 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 14.73 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 2.37 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

3.4 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าระงับเหตุการณ์อาชญากรรมได้ทันท่วงที พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.91 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 31.75 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 22.37 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 12.90 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

3.5 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถป้องกันและปราบปรามแหล่งอบายมุขหรือสิ่งผิดกฎหมายในพื้นที่ เช่น บ่อนการพนัน แหล่งมั่วสุม และยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.95 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย รองลงมา ร้อยละ 32.98 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น
ร้อยละ 20.00 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 10.61 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

4.ด้านการบริหารงานองค์กร

4.1 องค์กรตำรวจมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.77 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา
ร้อยละ 30.46 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 23.89 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 13.28 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 1.60 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

4.2 องค์กรตำรวจปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.98 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย รองลงมา
ร้อยละ 29.62 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 17.33 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 8.55 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 2.52 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

4.3 ระบบการแต่งตั้งโยกย้ายในองค์กรตำรวจมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.37 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย รองลงมา ร้อยละ 29.47 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 17.79 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 8.01 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 3.36 ระบุว่าไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อดีตจเรตำรวจฯ ขอทำเรื่องเฉพาะหน้า ‘เพิ่มเงิน-สวัสดิการตำรวจ’ ก่อนจะไปเปลี่ยนประธาน ก.ตร.

ณะนี้มีการเคลื่อนไหวจะปฏิรูปตำรวจโดยตำรวจเอง หลักๆคือให้นายกรัฐมนตรีไม่เป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร.  แต่ประธานจะมาจากการเลือกกันเองเหมือนคณะกรรมการข้าราชการอัยการ หรือ ก.อ. กระผม ไม่แน่ใจว่าจะเกิดผลดีกว่าเดิมหรือแย่กว่าเก่า

‘นักกฎหมายตำรวจ’ ถอดบทเรียน การเข้าระงับเหตุ ลดความสูญเสีย

ด้วยความเคารพความกล้าหาญ และเสียสละของผู้เสียชีวิต ควรแก่การยกย่องเป็นเกียรติประวัติสืบไป แต่การเข้าระงับเหตุ ของตำรวจไทยมีข้อผิดพลาด ต้องนำไปถอดบทเรียนแก้ไข

สลด! หนุ่มมุกดาหารโดนไฟดูด ดับคาเสาไฟฟ้าแรงสูง

เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.มุกดาหาร ได้รับแจ้งเหตุว่ามีคนตายบนเสาไฟฟ้าแรงสูง บริเวณทางเข้าหมู่บ้านคำตุนาง ไปยังหมู่บ้านกุดโง้ง ตำบลมุก อำเภอเมือง

‘บิ๊กเอก’ ยกเสียงสะท้อนจากตำรวจ เจ็บปวดผู้มีอำนาจข่มขืนองค์กร ถึงเวลาต้องปฏิรูปตร.

อีกเสียงสะท้อนจากนายตำรวจ ที่สื่อสารออกมา อย่างเจ็บปวด เปรียบเทียบให้เห็นภาพองค์กรตำรวจ ผู้มีอำนาจทางการเมือง อดีตผู้บังคับบัญชาสูงสุด ทำอะไรไว้ ควรที่จะปฏิรูปตำรวจอีกหรือไม่

เผยคนไทยให้เกียรติคนที่ใช้ ตำแหน่ง ยศ นำหน้าชื่อ และเกือบ 90% ไม่เคยตรวจสอบว่าจริงหรือไม่

นำหน้านามนั้น สำคัญไฉน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับคำนำหน้านาม

'อดีตผช.ผญบ.' ยิงกำนันสาวเจ็บสาหัส ก่อนฆ่าตัวตายหนีความผิด

'อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน' ใช้อาวุดปืน .38 จ่อยิงกำนันสาว ต.แก่งโสภา จนบาดเจ็บสาหัส กลางงานเลี้ยง ก่อนยิงตัวเองเสียชีวิตหนีความผิด