'ศรีสุวรรณ' ร้องผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย 5 พระราชกฤษฎีกาอภัยโทษฯ นักการเมืองคดีโกงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ม.50 (10) และ ม.63 หรือไม่
15 ธ.ค.2564- ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 230(1) เพื่อขอให้นำความส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือตีความพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษฯ 5 ฉบับที่ออกมาหลังรัฐธรรมนูญ 2560 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ม.50 (10) และ ม.63 หรือไม่
ทั้งนี้สืบเนื่องจากมีการคัดค้านการลดโทษหรือขอพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องขังคดีทุจริตคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการจัดชั้นนักโทษ ซึ่งอยู่ในอำนาจของกรมราชทัณฑ์ และกระทรวงยุติธรรม แม้นายกรัฐมนตรีจะตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมา 1 คณะ ทำหน้าที่ตรวจสอบในกระบวนการและการจัดชั้นนักโทษ รวมถึงให้ทำหน้าที่เสนอแนะว่าควรจะกำหนดหลักเกณฑ์อะไร อย่างไร ในการขอพระราชทานอภัยโทษในคราวต่อๆไป แต่ก็ยังไม่อาจเชื่อใจได้ว่าจะมีบทสรุปออกมาเป็นเช่นใด และคณะกรรมการราชทัณฑ์ ที่มี รมว.กระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน ตาม พรบ.ราชทัณฑ์ 2560 จะเห็นชอบด้วยหรือไม่
ขณะนี้มีข้อสังเกตว่า ตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 เป็นต้นมามีการออกพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษแล้วถึง 5 ครั้ง ซึ่งการพระราชทานอภัยโทษนั้น เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลตามราชประเพณีในวาระสำคัญของบ้านเมือง ที่ทุกรัฐบาลจะดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้อง แต่เมื่อพิจารณาบัญชีลักษณะความผิดท้ายพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษฯ ต่าง ๆ ข้างต้นทั้ง 5 ครั้งที่ผ่านมาพบว่า มีการสอดแทรกหลักเกณฑ์และความผิดในบางความผิดที่อาจจะไม่เหมาะสม อาจขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2560 ม.63 อันไม่ควรที่จะได้รับการอภัยโทษมารวมอยู่ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวด้วย อาทิ ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น เป็นต้น
ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจำต้องนำความมาร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2560 ม.230(1) เพื่อขอให้นำความส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือตีความพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษฯ 5 ฉบับที่ออกมาหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งใช้อำนาจตามความใน ม.175 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ม.50 (10) และ ม.63 หรือไม่ เพื่อยับยั้งกระบวนการฟอกตัวนักการเมืองและข้าราชการขี้โกง มิให้ต้องโทษเต็มจำนวนตามที่ศาลมีคำพิพากษาต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
'พุทธะอิสระ' ย้ำให้ผ่อนคลายเมื่อคนใช้บริการคนพาลย่อมเตรียมรับมือไว้แล้ว!
นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือพุทธะอิสระ ผู้ก่อตั้งวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม
อย่าสับสน ปมศาลรธน.ยกคำร้องเรื่องป่วยทิพย์นักโทษชั้น 14
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน
ร้องผู้ตรวจการฯ สอบ สทนช. ละเว้นปฏิบัติหน้าที่-ข้อมูลไม่ครบ แต่เดินหน้าจัดเวทีสร้างเขื่อนสานะคาม
ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินสอบ สทนช. ละเว้นปฎิบัติหน้าที่-ข้อมูลไม่ครบแต่เดินหน้าจัดเวทีโครงการสร้างเขื่อนสานะคาม
'สันธนะ' ซดแห้ว! 'ทวี' ยัน 'สุนทร' ไม่สามารถออกเรือนจำ มาแถลงข่าวปม 'สจ.โต้ง' ได้
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (รมว.ยธ.) เปิดเผยกรณี นายสันธนะ ประยูรรัตน์ อดีตตำรวจสันติบาล จะยื่นหนังสือถึงกระทรวงยุติธรรมขอให้ นายสุนทร วิลาวัลย์ หรือ โกทร ผู้ต้องหาในคดีการเสียชีวิตของ นายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ หรือ สจ.โต้ง