หอมกลิ่นความเจริญ! นิด้าโพลจับมือสำนักงานยุติธรรมเผยผลสำรวจ ประชาชนแค่ 40% รู้สึกปลอดภัย ซ้ำร้าย 41% ยังไม่เชื่อมั่นมาตรการของเจ้าหน้าที่รัฐ เชียร์ผุดแอปเตือน-แจ้ง-แนะนำ
27 ก.ย.2566 - สำนักงานกิจการยุติธรรมร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม” โดยทำ การสำรวจระหว่างวันที่ 1-10 กันยายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง โดยการสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพล สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) และกระจายตัวอย่างทั่วประเทศไทย ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่น 97%
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรู้สึกปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินในสภาพสังคมปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง 40.31% ระบุว่า รู้สึกค่อนข้างปลอดภัย 29.77% รู้สึกไม่ค่อยปลอดภัย 20.46% รู้สึกปลอดภัยมาก และ 9.46% รู้สึกไม่ปลอดภัยเลย
ด้านความเชื่อมั่นต่อมาตรการของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดูแลความปลอดภัยในร่างกายและทรัพย์สิน พบว่า ตัวอย่าง 41.91% ไม่ค่อยเชื่อมั่น 33.59% ค่อนข้างเชื่อมั่น 12.98% ไม่เชื่อมั่นเลย และ 11.52% เชื่อมั่นมาก
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อประเด็นเนื้อหาที่ภาครัฐควรจัดให้มีในระบบหรือแอปพลิเคชัน (Application) เพื่อพยากรณ์สถานการณ์การเกิดอาชญากรรมหรือการแจ้งข้อมูลให้ทราบถึงสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่/ช่วงเวลา พบว่า ตัวอย่าง 91.25% เห็นว่าภาครัฐควรจัดให้มีการค้นหาสถานีตำรวจใกล้เคียงในระบบ
หรือแอปพลิเคชัน (Application) มากที่สุด รองลงมา 89.50% การแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยอาชญากรรม 87.75% การแจ้งพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและช่วงเวลาการเกิดอาชญากรรม และการแจ้งข้อมูลองค์ความรู้และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการป้องกันภัยอาชญากรรม 87% ข้อมูลสถิติการเกิดอาชญากรรม และ 85.75% ข้อมูลวางแผนการเดินทาง เพื่อรับรู้ระดับความเสี่ยงอาชญากรรมในพื้นที่ ตามลำดับ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงเรื่องที่ต้องการทราบหากหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมจะมีการจัดทำระบบหรือแอปพลิเคชัน (Application) เพื่อการเรียนรู้กฎหมายในช่องทางออนไลน์ พบว่า ตัวอย่าง 58.55% ระบุว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับกลโกงในสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) มากที่สุด รองลงมา 53.21% เรื่องช่องทางการดำเนินการจากการถูกฉ้อโกงของมิจฉาชีพ 51.22% เรื่องกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค 37.33% เรื่องช่องทางการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย 36.64% เรื่องกฎหมายจราจร 32.67% เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาที่ไม่เป็นธรรม 29.08% เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินและหนี้นอกระบบ 28.02% เรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน 24.43% เรื่องการขอรับ
ความช่วยเหลือหรือเยียวยา ในกรณีตกเป็นผู้เสียหายหรือแพะจากการถูกดำเนินคดี 15.42% เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดี และคดีล้มละลาย 13.89% เรื่องการดำเนินคดี การประกันตัว ค่าธรรมเนียมศาล ทนายความ และ 12.44% เรื่องกฎหมายประกันภัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
18บอสหนาว ดีเอสไอจ่อฟัน ผิด‘แชร์ลูกโซ่’
คนส่วนใหญ่ยังเชื่อทนายความจิตอาสาไม่หิวแสงมีจริง แต่ไม่มาก “ดีเอสไอ” จ่อฟันแชร์ลูกโซ่เร็วๆ นี้
นิด้าโพลชี้ ประชาชน 52% ยังเชื่อว่า สังคมไทยยังมีทนายความจิตอาสาอยู่จริง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทนายความจิตอาสาจริง ๆ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
อย่าหลงประเด็น! เทพไท ตอกหน้ารัฐบาลอิ๊งค์ โพลชี้อยู่ไม่ครบเทอมสูงกว่า 57.71%
รัฐบาลอยู่ไม่ครบเทอม มีหลายเหตุผล มีน้ำหนักแตกต่างกันไป แต่ในฐานะที่เป็นผู้สังเกตการณ์ทางการเมือง จะขอวิเคราะห์
‘รัฐบาล’ ปลื้มนิด้าโพล ประชาชนเชื่อมั่น ‘นายกฯอิ๊ง’ นำ รบ.อยู่ครบเทอม
รัฐบาลขอขอบคุณ ประชาชนที่ตอบแบบสอบถามของศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในหัวข้อเรื่อง 'รัฐบาลนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ไปไหวไหม'
'ศิริกัญญา' กดดันเพื่อไทยอย่าเสียชื่อบริหารเศรษฐกิจไม่ดี ชี้มีแต่โครงการเดิมๆ
'ศิริกัญญา' เห็นพ้องผลโพล หากเศรษฐกิจไม่ดีขึ้นเหมือนที่โฆษณา อาจเป็นปัจจัย "ล้มรัฐบาลแพทองธาร' ได้ บอกยังไม่เห็นผลงานเป็นรูปธรรม ต้องอย่าให้เสียชื่อ 'เพื่อไทย'