สมาคมทนายความฯ ชี้ 'มาตรฐานทางจริยธรรม' ในรธน.60 มีปัญหา สร้างความขัดแย้งเพิ่ม

26 กันยายน 2566 – นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 25 กันยายน ระบุว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 219 บัญญัติให้มีมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อควบคุมการปฏิบัติตนของผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ซึ่งรวมถึง ส.ส.และคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวมีความสง่างาม อันจะทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือ เคารพยกย่อง เสมือนพระสงฆ์ที่ถือศีลและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ย่อมจะได้รับการเคารพกราบไหว้จากสาธุชนอย่างเต็มใจ

มาตรฐานทางจริยธรรมจึงมีขึ้นเพื่อควบคุมการปฏิบัติตน หรือการครองตนในขณะดำรงตำแหน่ง เพราะหากมีการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมเกิดขึ้นก่อน หรือภายหลังการดำรงตำแหน่ง ก็ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย หรือกระทบต่อการดำรงตำแหน่ง จึงไม่มีเหตุที่จะไปถอดถอนผู้นั้นอีก เช่น กรณีของพระองคุลีมาลที่แม้จะเคยฆ่าคนมามากมาย อันถือเป็นอาบัติขั้นปาราชิก แต่เกิดขึ้นก่อนการบวช จึงไม่ทำให้ท่านขาดจากความเป็นสงฆ์ ผู้ใดจะเอาการกระทำนั้นมากล่าวหาเพื่อให้ท่านขาดจากความเป็นสงฆ์ในภายหลังไม่ได้

ในทางสากล หากบุคคลในองค์กรใดมีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎกติกาก็จะให้องค์กรนั้นเป็นผู้ดำเนินการ หากเป็นนักการเมืองที่มาจากประชาชนก็จะให้องค์กรที่มาจากประชาชนขับ หรือถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่ง เช่น กรณีวุฒิสมาชิกของสหรัฐลงมติให้ถอดถอนประธานาธิบดี อดีตประธานาธิบดี หรือกรณีของสงฆ์ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดพระธรรมวินัยก็จะให้คณะสงฆ์เป็นผู้พิจารณา หรือแม้แต่ผู้พิพากษาที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้คณะกรรมการตุลาการเป็นผู้พิจารณา เป็นต้น ยกเว้นการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาด้วย จึงจะส่งเฉพาะเรื่องนั้นให้ศาลพิจารณาลงโทษทางอาญา

ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ประชาชนและศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงผิดพลาดและบิดเบือนอำนาจของประชาชน ผลของการตัดสินได้สร้างความขัดแย้งทางการเมืองอีกครั้ง จึงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เหมาะสมกับสังคมประชาธิปไตย การปล่อยให้รัฐธรรมมนูญมีผลบังคับใช้ต่อไปจะทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น รัฐบาลจึงควรเร่งกระบวนการเพื่อให้ประชาชนได้มีรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นเองบังคับใช้ รวมทั้งควรล้างบาปนิรโทษกรรมคืนสิทธิทางการเมืองให้กับบุคคลที่ถูกตัดสิทธิด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ถาวร' ฟันธง 'พิชิต' ลาออก ศาลรธน.ต้องวินิจฉัยคุณสมบัตินายกฯ เพื่อเป็นบรรทัดฐาน

นายถาวร เสนเนียม สมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ภายหลังนายพิชิต ชื่นบาน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า

นายกสมาคมทนาย เตือนตร.ตั้งข้อหานักข่าวหนุนพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว ต้องดูฎีกาให้ดี

นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกบันทึกจากนายกสมาคมทนายความฯ ความ กรณีพนักงานสอบสวนสน.พระราชวังดำเนินคดีกับ นายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ อายุ 35 ปีกับ นายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้ต้องหาที่ 1-2 ผู้ต้องหากระทำความผิดฐาน

'เทพไท' ยำรธน.ให้เอกสิทธิ์ส.ส.มากเกินไป ไม่เหมือนปี 2518 โหวตสวนมติพรรค ถูกประจานจารึกชื่อบนหนังหมา

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ ดัดหลังส.ส.โหวตสวนมติพรรค โดยมีรายละเอียดดังนี้ ใครจะว่ารัฐธรรมนู

'ทั่นโตโต้' ออกโรงซัดศาลฎีกาวางบรรทัดฐานถูกแล้วหรือปมถอนสิทธิ 'ช่อ พรรณิการ์'

โตโต้แถลงปม ช่อ พรรณิการ์ ถูกศาลฎีกาฟันถอนสิทธิ์ลงเลือกตั้ง ถามใช้มาตรฐานจริยธรรมนี้เหมาะสมแล้วหรือ ชี้ กม.มีปัญหาลงโทษซ้ำซ้อน มองศาลไม่ควรตัดสินถูก-ผิด เพราะจะกลายเป็นบรรทัดฐานต่อ

'นายกสมาคมทนายความ' แนะก้าวไกลถอย 112 เสียสละประโยชน์พรรคเพื่อตั้งรัฐบาลให้ได้

นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ความว่า ต้นเหตุแห่งความวุ่นวายทางการเมืองจนเกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนรอบใหม่ เกิดจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560