ดีเดย์! เปิดบริการแล้วระบบปรึกษาและยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์ ลูกจ้างฟ้องได้เองคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรรม ผ่านระบบ CIOS
21 ก.ย.2566 - นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า ที่ผ่านมาเมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนายจ้างได้ แต่ต้องเดินทางไปที่ศาลแรงงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้บางครั้งลูกจ้างอาจประสบความยากลำบาก เนื่องจากอาจมีภารกิจอื่นที่ต้องรับผิดชอบทั้งในด้านครอบครัว หรือการหาเลี้ยงชีพ ศาลยุติธรรมได้เล็งเห็นว่าหากจะให้ลูกจ้างสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ดียิ่งขึ้น ควรต้องมีช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้มากขึ้น โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อที่จะทำให้ลูกจ้างสามารถเข้าถึงกระบวนการทางศาลได้ โดยในขณะเดียวกันสามารถดูแลภาระความรับผิดชอบด้านอื่นไปพร้อมกันได้ ศาลยุติธรรมจึงได้พัฒนาระบบการยื่นคำคู่ความในคดีแรงงานทางระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยในระยะเริ่มแรกเรียกว่าระบบปรึกษาและยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์ (e-Service for labour cases) ผ่านระบบ CIOS
นายสรวิศกล่าวว่า ระบบดังกล่าวนี้เป็นไปตามนโยบายรักศาล ร่วมใจ รับใช้ประชาชน ของนายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา โดยเป็นช่องทางที่จะช่วยให้ศาลสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งระบบปรึกษาและยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์นี้ นอกจากจะอำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายแก่บรรดาลูกจ้างเช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังศาลแรงงานแล้ว ยังมีส่วนช่วยทำให้ลูกจ้างได้รับคำแนะนำทางด้านกฎหมายที่ถูกต้องในช่องทางที่สะดวกอันจะทำให้สามารถดูแลรักษาสิทธิของตนได้อย่างเต็มที่ โดยศาลยุติธรรมจะเปิดบริการให้สามารถยื่นฟ้องทางออนไลน์ได้ด้วยตนเอง ซึ่งวันที่ 21 กันยายน 2566 เป็นวันแรก พร้อมให้บริการระบบปรึกษาและยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์อย่างเป็นทางการ
สำหรับขั้นตอนการยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์นั้น ให้ติดตั้งแอพพลิเคชั่น COJ Connect ซึ่งใช้ได้ทั้งระบบ ios และ Android โดยให้กดเข้าไปยังลิงก์เว็บไซด์ https://cios.coj.go.th/labour เพื่อดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น จากนั้นเข้าไปกรอกข้อมูล พิสูจน์และยืนยันตัวตนตามขั้นตอนที่ระบุไว้อย่างถูกต้องครบถ้วน จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ถูกเลิกจ้างหรือถูกปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนดังกล่าว นิติกรจะตรวจสอบข้อมูลในระบบที่ได้รับจากลูกจ้างซึ่งหากมีคำถามหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมนิติกรจะติดต่อกลับเพื่อสอบถามและให้คำปรึกษาในการร่างคำฟ้องทางออนไลน์ เมื่อลูกจ้างยืนยันตัวร่างคำฟ้องถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ก็จะยื่นคำฟ้องเข้าในระบบต่อไป จากนั้นเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนของศาลผู้พิพากษาก็จะพิจารณาในการสั่งประทับรับฟ้องหรือไม่รับฟ้อง ในกรณีที่มีการสั่งฟ้องแล้ว เจ้าหน้าที่ศาลจะกำหนดวันนัดพิจารณาผ่านทางระบบออนไลน์
ส่วนประเภทคดีที่สามารถยื่นฟ้องผ่านระบบได้นั้น ได้แก่ 1.คำฟ้องเรียกค่าชดเชย 2.คำฟ้องเรียกค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 3.คำฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และ 4.คำฟ้องเรียกค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด สำหรับประเภทนายจ้างที่อาจถูกฟ้อง ได้แก่ 1.บุคคลธรรมดา 2.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 3.ห้างหุ้นส่วนจำกัน 4.บริษัทจำกัด และ 5.บริษัทมหาชนจำกัด
“ศาลยุติธรรมมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการพัฒนาระบบปรึกษาและยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์ ผ่านระบบ CIOS จะยกระดับการอำนวยความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมใหม่มาสนับสนุนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการของศาลยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก ประหยัด รวดเร็ว เสมอภาค และเท่าเทียม อันเป็นการกระจายการเข้าถึงความยุติธรรมในคดีแรงงานให้ทั่วถึง ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแรงงานกลางและศาลแรงงานภาค 1 - 9 ซึ่งถือว่าเป็นมิติใหม่ที่ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีถูกเลิกจ้างหรือถูกปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรมสามารถเป็นโจทก์ยื่นฟ้องด้วยตนเองผ่านทางระบบออนไลน์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกสภาทนายความ เข้าพบ ประธานศาลฎีกา หารือป้องกันทนายความปลอม
ที่ศาลฎีกา นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยคณะบริหารสภาทนายความและตัวแทนประธานสภาทนายความจังหวัด ได้เข้าพบนางชนากานต์ ธีรเวชพลกุล ประธานศาลฎีกา พร้อม
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'ชนากานต์ ธีรเวชพลกุล' ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งประธานศาลฎีกา
เปิดเบื้องลึก มติ ก.ต. เห็นชอบ 'ชนากานต์' เป็นประธานศาลฎีกา
จากกรณีเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ได้ประชุมครั้งที่17/2567 โดยมีวาระสำคัญพิจารณาเห็น
มติ ก.ต. เห็นชอบแต่งตั้ง 'ชนากานต์ ธีรเวชพลกุล' นั่งประธานศาลฎีกาคนที่ 50
นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า วันนี้ เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 3 อาคารศาลยุติธรรม สนามหลวง คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ได้ประชุมครั้งที่17/2567 โดยมีวาระสำคัญพิจารณาเห็นชอบแต่งตั้งประธานศาลฎีกาคนใหม่ เนื่องจากนางอโนชา ชีวิตโสภณ
'ดร.อานนท์' ไม่นึกว่า ถุงขนมสองพันล้านจากฮ่องกง จะมาตายน้ำตื้น เรื่องลวนลามผู้หญิง
ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า
ก.ต. เสนอ ปธ.ศาลฎีกา ตั้ง คกก.สดับตรับฟังข้อเท็จจริง ปมถุงขนมภาคสอง
ก.ต.เสนอ ปธ.ศาลฎีกา ตั้ง คกก.สดับตรับฟัง ข้อเท็จจริง หลังทราบข่าวปูดถุงขนมภาคสอง พาดพิงอำนาจศาลประกันตัวผู้ต้องหา โฆษกศาลเผยยังไม่มีการตั้ง คกก.สอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นต้น