กรรมการสภาองค์กรผู้บริโภคเดือด! ซัดการตัดสิทธิการเมืองขัดรัฐธรรมนูญ เพราะ รธน.เล็กกว่าพระราชบัญญัติจึงทำให้ประเทศเละตุ้มเป๊ะ
21 ก.ย.2566 - นายกมล กมลตระกูล กรรมการนโยบายสภาองค์กรของผู้บริโภค โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า การตัดสิทธิทางการเมืองขัดกับรัฐธรรมนูญ!
ถ้าเป็นที่อเมริกา ซึ่งมีระบบกฎหมายที่เข้มแข็ง เป็นธรรมและยึดหลักนิติธรรม คณะศาลฎีกาจะเป็นผู้ตัดสินว่ากฎหมายหรือคำตัดสินของศาลในคดีใดคดีหนึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
กรณีการตัดสิทธิทางการเมืองของของคุณช่อ (พรรณิการ์) คุณธนาธร คุณปิยบุตร และนักการเมืองอื่นอีกหลายคนที่ผ่านมานั้นขัดกับหลักการพื้นฐานเรื่องการรับรองสิทธิ เสรีภาพ และ สิทธิส่วนบุคคลที่รัฐธรรมนูญค้ำประกันไว้ ดังนั้น จึงต้องเป็นโมฆะ (เมื่อบ้านเมืองมีหลักนิติธรรม และระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์)
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญไทยเขียนไว้เป็นเรื่องตลกสำหรับชาวโลกและนักกฎหมายทั่วโลก คือ รับรอง หรือกำหนดเรื่องต่างๆ แต่ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
กลายเป็นว่า รัฐธรรมนูญเล็กกว่า หรือมีอำนาจน้อยกว่า พ.ร.บ. คำถามที่เกิดขึ้น คือ แล้วจะมีรัฐธรรมนูญไว้เพื่ออะไร? ทุกเรื่องถึงเละตุ้มเป๊ะในทุกวันนี้ มีศรีธนญชัย และนักร้องเต็มไปหมด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน
'บิ๊กอ้วน' ชี้ 'สนธิ' แค่หนึ่งเสียงการบริหารประเทศไม่ควรโฟกัสแค่คนคนเดียว!
'ภูมิธรรม' ยังไม่เห็นข้อเรียกร้อง 'สนธิ' บอกเป็นแค่ความเห็นหนึ่งต้องรับฟังทุกฝ่าย เปรียบเหมือนมองปี๊บหนึ่งใบ ต้องมองให้รอบด้าน ไม่หมิ่นประมาทม็อบจุดติดหรือไม่
ดร.ณัฏฐ์ ชำแหละ 92 ปีรัฐธรรมนูญ วัฏจักรการแย่งชิงอำนาจ!
ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม ระบุครบรอบ 92 ปีวันรัฐธรรมนูญ ยังวนเวียนอยู่กับวัฏจักรการแย่งชิงอำนาจของนักการเมือง มากกว่าคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
'อนุทิน' สวนเพื่อไทย! จุดยืน 'ภท.' ไม่เอาด้วย กม.สกัดปฏิวัติ
'อนุทิน' ย้ำจุดยืนภูมิใจไทย ไม่เอาด้วยกฎหมายสกัดปฏิวัติ ชี้นักการเมืองอย่าสร้างเงื่อนไข ทำตัวให้ดีอย่าขึ้โกง ชงกฎหมายแค่สัญลักษณ์ ถึงเวลารัฐธรรมนูญโดนฉีกอยู่ดี
ดร.ณัฏฐ์-นักกม.มหาชน ชี้ 'กฎอัยการศึก' สส.ไทยไม่สามารถยกเลิกได้ แตกต่างจากเกาหลีใต้
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน เผย กฎอัยการศึกสถานะเป็นพระราชบัญญัติ การยกเลิกในประเทศเกาหลีใต้กระทำโดยมติสภา แตกต่างจากประเทศไทย สส.ตัวแทนประชาชน ไม่สามารถยับยั้งยกเลิกได้
ปลุกรุมบี้ 'รัฐบาลอิ๊งค์' ส่งศาล รธน. ชี้ขาด 'MOU 44'
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ท่านที่ได้อ่านโพสต์ที่แล้วของผม คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไป