'อัษฎางค์' ตีแผ่ก้าวไกลอีกระลอก ชี้มีการสร้างกระแสความนิยมและความรู้สึกร่วมจนทำให้สาวกเหมือนคนโดนป้ายยา ข้องใจใครอยู่เบื้องหลังแล้วต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศทั้งระบบใช่หรือไม่
14 ก.ย.2566 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กในเชิงบทความ เรื่อง “ใครเป็นเงาช่วยก้าวไกลหาเสียงกับการเมืองที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองทั้งระบบ” ระบุว่า
การเมืองปัจจุบัน ไม่ใช่การเมืองในเรื่องนโยบายเพื่อปากท้องประชาชนอย่างแท้จริง แต่เป็นเพียงการอ้างเรื่องปากท้อง สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค อย่างที่ทำกันอยู่เบี้องหน้า โดยมีเบื้องหลังเพื่อสร้างความต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองทั้งระบบ
การเมืองไทยในห่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นบทพิสูจน์สำคัญของอิทธิพลจากสื่อใหม่หรือโซเซียลมีเดีย ที่มีผลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองและการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างชัดเจน
พรรคก้าวไกลเป็นพรรคที่สามารถสื่อสารอุดมการณ์ทางการเมืองได้แบบไร้รอยต่อ ผ่านการสื่อสารออนกราวด์ (การปราศรัยและการลงพื้นที่) ออนแอร์ (สื่อดังเดิมเช่น ทีวี) และออนไลน์ (โซเซียลมีเดีย)
ซึ่งถือได้ว่าพรรคก้าวไกลใช้สื่อเป็นหรืออาจมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำหรือช่วยเหลืออยู่เบื้องหลังอย่างลับๆ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสื่อที่ว่า อาจจะเป็นทีมงานของตนเองหรืออาจจะเป็นองค์กรจากต่างประเทศที่ต้องการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งขอตน จนทำให้พรรคก้าวไกลประสบความสำเร็จในการสร้างกระแสความนิยม สร้างความรู้สึกร่วม และทำให้ผลการเลือกตั้งเป็นไปตามที่คาดหวังไว้
ผลจากการ “สร้างกระแสความนิยมและความรู้สึกร่วม” นี้ จะเห็นได้ชัดเจนจากอาการของกลุ่มผู้สนันสนุนล้วนอยู่ในลักษณะ “เหมือนคนโดนป้ายยา”
เริ่มมาตั้งแต่ที่ธนาธรถือหุ้นสื่อ ต่อเนื่องมาจนพิธาก็โดนฟ้องเรื่องหุ้นสื่อ ต่อเนื่องไปถึงรองประธานสภาของก้าวไกล หมออ๋อง ปดิพัทธ์ สันติภาดา ดิ่มเบียร์โฆษณาออกสื่อ จนถึง ส.ส.และผู้สมัครรับเลือกตั้งของก้าวไกลที่กระทำความผิดตามกฎหมาย แต่ทุกคนออกมาพูดเหมือนกันว่า ทั้งหมดคือการถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง ทั้งที่การละเมิดกฎหมายของคนเหล่านั้น เป็นกฎหมายบัญญัติไว้มาก่อนคนเหล่านั้นกำเนิดขึ้นบนเส้นทางการเมืองด้วยซ้ำ
แต่ผลจากการ “สร้างกระแสความนิยมและความรู้สึกร่วม” จนผู้สนับสนุนมีอาการในลักษณะ “เหมือนคนโดนป้ายยา”
ทำให้ผู้สนับสนุนของพรรคก้างไกล ไม่ได้เห็นตามกฎหมายหรือยืนอยู่ข้างกฏหายหรือยืนอยู่ข้างข้อเท้จริง แต่กลับไปเชื่อตามสมาชิกพรรคก้าวไกลที่อ้างว่า คนของพรรคก้าวไกล โดนกลั่นแกล้งทางการเมือง
ซึ่งมันคืออาการไม่รับรู้ถึงเหตุผล ตรรกะและข้อเท็จจริง แต่ใช้อารมณ์ที่คล้อยตามทุกอย่างที่ก้าวไกลทำคือสิ่งที่ถูกต้อง อะไรที่ผิดไปจากที่ก้าวไกลพูด คือเรื่องที่ผิด แม้ว่าสิ่งที่ก้าวไกลทำจะผิดกฎหมายก็ตาม
ดูผลการเลือกตั้งล่าสุดที่ระยองเป็นตัวอย่าง ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ถูกจับได้ว่า ขาดคุณสมบัติเพราะเคยกระทำความผิดตามกฎหมาย ซึ่งสังคมวิพากษ์วิจารณ์ด้วยภาษาชาวบ้านว่า เป็นเด็กวิ่งราว ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้รัฐต้องเสียเงินเจากเงินภาษีของประชาชนพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่
แต่ชาวระยองก็ไม่มองว่าสิ่งนั้นคือเรื่องผิด ไม่มองว่าก้าวไกลทำให้รัฐเสียเงินงบประมาณแบบสูญเปล่า ไม่มองวาก้าวไกลเป็นพรรคไม่ดีหรือเป็นกลุ่มคนที่ไม่ดี เนื่องจากส่งคนไม่ดีมาเป็นผู้แทน แต่ชาวระยองยังคงเทคะแนนให้กับก้าวไกลเมื่อมีการเลือกตั้งซ่อม
ตัวอย่างทั้งหลายดังกล่าวนี้ อาจสรุปได้ว่า เป็นผลจากการ “สร้างกระแสความนิยมและความรู้สึกร่วม” จนผู้สนับสนุนมีอาการในลักษณะ “เหมือนคนโดนป้ายยา” หรือไม่ ?
พรรคก้าวไกล สามารถใช้สื่อทุกรูปแบบเชื่อมประสานกันไปหมด ซึ่งเป็นผลทำให้เกิด "หัวคะแนนธรรมชาติ" ที่มีการพัฒนาต่อยอด และช่วยกันส่งต่อ นโยบายและอุดมการณ์ของพรรค
แต่... “นโยบายและอุดมการณ์ของพรรคก้าวไกล” นี่แหละคือสิ่งที่น่ากังวล สโลแกนที่ว่า “การเมืองไทยจะไม่เหมือนเดิมของพรรคก้าวไกล” ไม่ใช่เพียงการต้องการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำหรือขั้วการเมือง แต่ความต้องการที่แท้จริงคือ “การเปลี่ยนแปลงไปจนถึงโครงสร้างทั้งหมด”
สังเกตได้จากนโยบายเป็นร้อยข้อของก้าวไกลนั้น ก้าวไกลยินดีถอยถ้า ส.ว.ยกมือสนับสนุนพิธาเป็นนายกฯ แต่นโยบายยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 และการปฏิรูปสภาบันพระมหากษัติย์ ก้าวไกลไม่ยอมถอยแม้เพียงก้าวเดียว
อาจสรุปได้ว่า การเมืองปัจจุบัน ไม่ใช่การเมืองในเรื่องนโยบายเพื่อปากท้องประชาชนอย่างแท้จริง แต่เป็นเพียงการอ้างเรื่องปากท้อง สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค อย่างที่ทำกันอยู่เบี้องหน้า โดยมีเบื้องหลังเพื่อสร้างความต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองทั้งระบบ ใช่หรือไม่ ?
คำถามคือ เรื่องนี้เป็นการประกาศว่า การเปลี่ยนแปลงที่ก้าวไกลต้องการนั้นคือ “การเปลี่ยนแปลงไปจนถึงโครงสร้างทั้งหมด” ใช่หรือไม่ ?
คำถามต่อมาคือ ใครเป็นเงาช่วยก้าวไกลหาเสียง ? และเขาหรืององค์กรของเขาหรือประเทศของเขาต้องการอะไร จากการช่วยให้ก้าวไกลขึ้มมามีอำนาจทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองและการปกครองทั้งหมด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ทักษิณ’ ติงสื่อขยายข่าวมากเกินไป! หลัง คุยกับ ‘อันวาร์’
27 ธ.ค. 2557 - ที่อาคารมูลนิธิไทยรัฐ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
เลขาฯกกต. ตรวจหน่วยรับสมัคร อบจ.ปราจีนบุรี อุบตอบปมสอบเงิน 20 ล้าน
นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมด้วย พ.ต.ท. ระพีพงษ์ จิรพัฒนาลักษณ์ รองเลขาธิการ กกต. , น.ส.โชติกา แก้วผล ผู้อำนวยการ กกต.ประจำจังหวัดปราจีนบุรี และคณะ ร่วมสังเกตการณ์การรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ.ปราจีนบุรีและนายก อบจ.จังหวัดปราจีนบุรี ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น