ยังไม่สายที่รัฐบาลคุณเศรษฐาจะรีบจัดทำแผนดังกล่าวหลังจากแะลงต่อสภาแล้ว และหากทำได้สำเร็จ ประชาชนจะอภัยให้หากรัฐบาลจะไม่ทำบางอย่างที่หาเสียงไว้ เช่น ค่าแรงขั่นต่ำ 600 บาท ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย หรือแม้แต่ digital wallet คนละ 10,000 บาท ที่ทำท่าจะมีอุปสรรคมากมาย น่าจะเป็นเพราะไม่ได้ศึกษาให้ละเอียดลงตัวก่อนหาเสียง เพื่อจะได้ไม่มีใครเปลี่ยนคำขวัญของพรรคเพื่อไทยจาก “คิดใหม่ ทำเป็น” มาเป็น” คิดไม่หมด ทำไม่เป็น ” การเลือกตั้งครั้งหน้าก็อาจจะชนะแบบ landslide ก็ได้ ใครจะไปรู้
13 ก.ย.2566-รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Harirak Sutabutr ระบุว่าได้ฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภามาหลายรัฐบาล ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลไหนให้ความสำคัญต่อการแถลงนโยบายมากเท่าที่ควรจะให้แม้แต่รัฐบาลเดียว นั่นอาจเป็นเพราะว่าผู้นำรัฐบาลเห็นว่าจะแถลงอย่างไรก็ไม่ทำให้รัฐบาลล้มลงไปได้เหมือนกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน ทุกรัฐบาลจึงแถลงพอเป็นพิธี ขอเพียงไม่น่าเกลียดเกินไปก็พอ
การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ความจริงมีความสำคัญมากต่อรัฐบาลแม้จะไม่มีการลงมติว่าจะให้ผ่านหรือไม่ เพราะเป็นการสร้างความประทับใจครั้งแรก (first impression) ซึ่งมีความสำคัญต่อการได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน จากสื่อมวลชน จากสมาชิกรัฐสภา และแม้กระทั่งจากฝ่ายค้าน และจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของคนทั้งประเทศอย่างยิ่ง อันจะเป็นผลให้การบริหารประเทศของรัฐบาลได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะจากบรรดาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในกระทรวงทบวงกรมต่างๆมากขึ้น
การแถลงนโยบายรัฐบาลของคุณเศรษฐา ทวีสิน ดังที่คุณศิริกัญญา ตันสกุล แห่งพรรคก้าวไกลอภิปรายเป็นคนแรกว่า การแถลงนโยบายปราศจากเป้าหมาย ปราศจากตัวชี้วัด ไม่มีกรอบเวลา ทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่าการบริหารประเทศของรัฐบาลทำได้สำเร็จหรือไม่ ตามกำหนดเวลาหรือไม่ ต้องยอมรับว่าคุณศิริกัญญา อภิปรายได้ดี หากลดหรือตัดคำพูด และกิริยาท่าทางที่ออกไปในทางดูแคลนและเย้ยหยันออกไปก็จะดีมาก แปลกที่ความจริงคุณจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ ก็ออกจะใช้สำนวนโวหารแบบเสียดสีพอกัน เช่น เริ่มต้นว่า นโยบายรัฐบาลครั้งนี้สวนทางกับส่วนสูงของท่านนายกรัฐมนตรี หรือเรียกว่าเป็นนโยบายนินจาเพราะที่หาเสียงไว้หลายประการกลับล่องหนหายไป แต่กลับไม่รู้สึกขัดหูขัดตาเท่ากับกรณีคุณศิริกัญญา แต่ก็นั่นแหละอาจเป็นเพราะลีลาท่าทางอาจต้องเป็นแบบนี้จึงจะถูกใจคนรุ่นใหม่ก็ได้
เพื่อให้การแถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภา มีความหมายมากขึ้น มีความสำคัญมากขึ้นจึงอยากเสนอว่า แทนที่จะเขียนนโยบายว่าจะทำอะไร หรือให้อะไรประชาชนบ้างเท่านั้น ให้เขียนเป็นรูปแบบของแผนการบริหารประเทศ ซึ่งถูกบังคับโดยรัฐธรรมนูญอยู่แล้วว่าจะต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดังนั้นจึงต้องใช้วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีว่า
” ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคำขวัญว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
วิศัยทัศน์ในบริบทของการทำแผนคือ ภาพที่ต้องการจะเห็นในอนาคต ซึ่งก็ทำหน้าที่เป็นเป้าหมายกว้างๆ ดังนั้นแผนบริหารประเทศควรใช้วิสัยทัศน์นี้เป็นเป้าหมายสูงสุด และควรเป็นแผนระยะ 4 ปี เท่าอายุรัฐบาล และควรต้องกำหนดเป้าหมายย่อยๆว่า หากจะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จะต้องมีปัจจัยอะไรที่จะต้องดีขึ้นบ้าง อาทิ จีดีพีต้องโตปีละเท่าใด อัตราว่างงานควรต้องเป็นเท่าใด หนี้ครัวเรือนควรลดลงเหลือเท่าใด คดีอาชญากรรมต้องลดลงเป็นเท่าใดเมื่อสิ้นสุดแผน และอีกหลายๆเป้าหมาย
เป้าหมายเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดว่ารัฐบาลสามารถบริหารประเทศได้สำเร็จตามแผนหรือไม่ จากนั้นจะต้องมียุทธศาสตร์ว่า การที่จะบรรลุเป้าหมายได้ จะต้อง focus ที่ไหน เช่น พัฒนาการเกษตรกรรมแบบก้าวหน้า พัฒนาการการท่องเที่ยว ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น ที่ต้องมี focus ก็เพราะด้วยทรัพยากรที่จำกัด และเวลา 4 ปี รัฐบาลไม่สามารถทำทุกอย่างได้ทั้งหมดพร้อมๆกัน
หลังจากการมี focus แล้ว ก็จะถึงกิจกรรมต่างๆ นั่นคือรัฐบาลต้องทำอะไรบ้างกับสิ่งที่ได้ focus ไว้ เพื่อบรรลุเป้าหมายต่างๆข้างต้น หากทำเช่นนี้ได้ เมื่อเวลาผ่านไป จะสามารถบอกได้ชัดเจนว่ารัฐบาลบริหารประเทศได้สำเร็จมากน้อยเพียงใดเนื่องจากมีตัวชี้วัดแล้ว ประชาชนก็จะได้ทราบอย่างชัดเจน ไม่ต้องใช้ความรู้สึก แต่สามารถดูจากตัวเลขที่ปราศจากความมีอคติของบุคคล
อีกอย่างที่ขาดไม่ได้ในแผนก็คือ ” ค่านิยม หรือ Value ” ที่ต้องเขียนไว้ โดยแยกเป็นอีกหมวดของแผนและควรอยู่หมวดแรกๆของแผนถัดจากวิสัยทัศน์ เพื่อเป็นกรอบให้ทุกคนในรัฐบาลทุกคนยึดมั่นยึดถือ ไม่ทำอะไรที่ขัดต่อค่านิยมอย่างเด็ดขาด เช่น
รัฐบาลยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดไป
รัฐบาลยึดมั่นในความโปร่งใส ปราศจากการทุจริตคอรัปชั่น
รัฐบาลจะยึดหลักนิติรัฐ นิติธรรม ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกัน
ฯลฯ
ยังไม่สายที่รัฐบาลคุณเศรษฐาจะรีบจัดทำแผนดังกล่าวหลังจากแะลงต่อสภาแล้ว และหากทำได้สำเร็จ ประชาชนจะอภัยให้หากรัฐบาลจะไม่ทำบางอย่างที่หาเสียงไว้ เช่น ค่าแรงขั่นต่ำ 600 บาท ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย หรือแม้แต่ digital wallet คนละ 10,000 บาท ที่ทำท่าจะมีอุปสรรคมากมาย น่าจะเป็นเพราะไม่ได้ศึกษาให้ละเอียดลงตัวก่อนหาเสียง เพื่อจะได้ไม่มีใครเปลี่ยนคำขวัญของพรรคเพื่อไทยจาก
“คิดใหม่ ทำเป็น” มาเป็น
” คิดไม่หมด ทำไม่เป็น “
การเลือกตั้งครั้งหน้าก็อาจจะชนะแบบ landslide ก็ได้ ใครจะไปรู้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อิ๊งค์' ยิ้มร่ารับฉายา 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' แซวตัวเอง 'แพทองแพด' แฮปปี้ไม่เกลียดใคร
'นายกฯอิ๊งค์' ยิ้มแย้ม ไม่โกรธฉายา 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ขอมองมุมดี พ่อมีประสบการณ์เพียบช่วยหนุน หยอกสื่อกลับ 'แพทองแพด' ไม่ใช่แพทองโพย บอกไม่ค่อยเกลียดใครมันเหนื่อย แฮปปี้เข้าไว้
'เท้ง' ลุ้น! ฉายาผู้นำฝ่ายค้าน เมินตอบ 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง-แพทองโพย'
'เท้ง' ยิ้ม ปัดให้ความเห็น 'ฉายารัฐบาล-นายกฯ' บอกอยากฟังของตัวเองมากกว่า ชี้สื่อทำเนียบ-รัฐสภามีสิทธิ์ตั้งคำถาม พร้อมรับมาสะท้อนปรับปรุงการทำงาน
'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ฉายารัฐบาลปี67 นายกฯ'แพทองโพย' อนุทิน'ภูมิใจขวาง' วาทะแห่งปี'สามีเป็นคนใต้'
สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายาปี 67 'รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง' ส่วนฉายานายกฯ 'แพทองโพย' 7 รมต.ติดโผ 'บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี' พ่วง 3 รมต.โลกลืม
เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2
รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า
‘แม้ว’ ไล่ทุบ- ‘ภูมิใจไทย’ ไม่หมู ‘แดง-น้ำเงิน’ ทนอยู่แบบตบจูบ
นาทีนี้ศึกฝ่ายค้าน-รัฐบาลยังไม่เดือดเท่ากับศึกรัฐบาลด้วยกันเอง แรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการขบเหลี่ยมของพรรคอันดับ 1 และพรรคอันดับ 2