ลุ้นศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดคดีขุดเจาะปิโตรเลียมบนบกที่บุรีรัมย์!

ระทึก! 13.30 น.ศาลปกครองสูงสุดเตรียมชี้ขาดปมฟ้องขุดเจาะปิโตรเลียมบนบกที่บุรีรัมย์ หลังศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมาแล้ว เพราะผู้ฟ้องไม่ใช่ผู้เสียหาย

13 ก.ย.2566 - ในเวลา 13.30 น. ห้องพิจารณาคดี 6 ชั้น 3 อาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ ส.40/2557 หมายเลขแดงที่ ส.745/2559 ระหว่าง สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ที่ 1 กับพวกรวม 98 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ

ผู้ฟ้องคดี ฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ให้สัมปทานขุดเจาะปิโตรเลียมบนบกในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์แก่บริษัท ซ่านซี เหยียนฉาง ปิโตรเลียม (กรุ๊ป) จำกัด (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4) ซึ่งทำการสำรวจทางธรณีวิทยาด้วยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 3 มิติ โดยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบ เช่น การเกิดหลุมลึก ทำให้พืชผลเสียหาย และมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด ไม่มีการรับฟังความเห็นของประชาชน จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล

คดีนี้ ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานหลักฐานบ่งชี้ว่าผู้รับจ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ไม่ได้เข้าทำการสำรวจปิโตรเลียมที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีในพื้นที่หมู่บ้านที่ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ถึงที่ 98 อยู่อาศัย ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ถึงที่ 98 จึงไม่ควรจะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 3 กรณีการสำรวจปิโตรเลียมของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ผู้ได้รับสัมปทาน และไม่มีสิทธิฟ้องคดี และผู้ฟ้องคดีที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีไปด้วยตามหลักผู้รับมอบอำนาจไม่มีสิทธิดีกว่าผู้มอบอำนาจ

นอกจากนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้ง 98 คน ไม่ได้ระบุหรือแสดงหลักฐานว่ามีการเข้าสำรวจปิโตรเลียมในที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือราษฎรรายใด ศาลจึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ไม่ปฏิบัติงานปิโตรเลียมที่ดี ตามนัยของมาตรา 51 (5) แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 หรือไม่ และต้องถือว่าไม่มีเหตุตามคำฟ้องที่จะเพิกถอนสัมปทานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ตามกฎหมายดังกล่าวได้ และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ได้ดำเนินการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 3 มิติ เสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่ได้ทำการสำรวจในพื้นที่ที่ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ถึงที่ 98 อาศัยอยู่ จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องกำหนดคำบังคับขอให้ผู้ถูกฟ้องคดียุติ ระงับ หรือเพิกถอนการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 3 มิติ เก็บกู้วัตถุระเบิด หรือดำเนินการให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ทำสัญญากับประชาชนเพื่อรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'กูรูใหญ่' จับตา ป.ป.ช. อาจจะติดคุกทั้งคณะ หากศาลอาญาทุจริตรับฟ้อง ปม 'วีระ' ฟ้องหลายกระทง

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

ต้องจารึก! บุรีรัมย์เปิดฉาก มิวสิคัล “ลมหายใจของแผ่นดิน” สุดงดงาม ยิ่งใหญ่อลังการ สมพระเกียรติ

จังหวัดบุรีรัมย์สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่อีกครั้งกับงาน “ลมหายใจของแผ่นดิน” กิจกรรมเทิดพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6

ตระการตา! ชาวจังหวัดบุรีรัมย์เร่งเตรียมงาน “ลมหายใจของแผ่นดิน” มิวสิคัลเทิดพระเกียรติ สุดยิ่งใหญ่แห่งปี พร้อมเปิดเมืองต้อนรับนทท.ทั่วโลกแล้ว

จังหวัดบุรีรัมย์เผยความคืบหน้าและการดำเนินงานช่วงโค้งสุดท้าย การจัดงาน “ลมหายใจของแผ่นดิน” เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567

ครบองค์ประกอบ! เรืองไกรร้องผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลปกครองตีตกดิจิทัลวอลเล็ต

'เรืองไกร' ขอผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลปกครองวินิจฉัยล้มดิจิทัลวอลเล็ต เหตุเลือกปฏิบัติไม่เสมอภาคขัดรัฐธรรมนูญ

อลังการ! บุรีรัมย์เปิดเมืองครั้งใหญ่ ร่วมใจจัดงาน “ลมหายใจของแผ่นดิน” ในรูปแบบมิวสิคัล ด้วยเทคโนโลยีจัดแสดงระดับโลก สุดยิ่งใหญ่ตระการตา

สมราคาเมืองแห่งบิ๊กอีเวนต์ ประชาชนชาวจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมใจกันจัดงาน “ลมหายใจของแผ่นดิน” เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567