'นักเศรษฐศาสตร์' กังวล นายกฯใหม่ เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เสี่ยงไม่ได้เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน

'บรรยง พงษ์พานิช' กังวล นายกฯ ใหม่เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เหมือน Donald Trump ได้ผู้กำหนดนโยบายที่ยังอยู่โรงพยาบาล หวังไม่มุ่งเน้นส่งเสริมพวก 'non tradables' มากเกินไป เสี่ยงไม่ได้เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน เป็นตัวเร่งเงินเฟ้อและความเหลื่อมล้ำอีกด้วย

30 ส.ค.2566 - นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหารและกรรมการ  ธนาคารเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP และในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว มีเนื้อหาดังนี้

ข้อกังวลของประชาชนคนหนึ่งครับ…

ในที่สุดเราก็ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่กันแล้วนะครับ ซึ่งท่านก็เป็นนักธุรกิจที่ได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จอย่างมากจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างที่ทราบกันอยู่

อันว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น ถือเป็น Non -tradable ซึ่งก็คือการผลิตสินค้าและบริการที่ซื้อขายกันในประเทศเท่านั้น ถ้าเหลือก็ส่งออกไม่ได้ ถ้าขาดก็นำเข้าไม่ได้ (เช่นเดียวกับพวกสาธารณูปโภค เช่นโทรคมนาคม ผลิตไฟฟ้า ค้าปลีก โรงแรมโรงพยาบาล บริการการเงิน ฯลฯ) ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าทุนใหญ่กับมหาเศรษฐีไทยเกือบทั้งหมด มาจาก non-tradables ทั้งนั้น เรียกว่ารวยมาจาก ค้ากับรัฐ กับ ค้ากับไทย มีน้อยรายมากที่ประสบผลสำเร็จจากการ”ค้ากับโลก”เหมือนพวกมหาเศรษฐีในประเทศพัฒนาแล้ว (ท่านอดีตนายกในโรงพยาบาลแอร์เสียก็เช่นกัน…รวมทั้งตัวผมเองด้วย)

ทั้งนี้ทั้งนั้น คนที่ทำธุรกิจ non-tradablesนั้น มักจะมีทัศนคติที่ 1.protectionism ไม่อยากเปิดเสรีให้ต่างชาติเก่งๆเข้ามาแข่งขัน…2.พยายามแสวงหา monopoly และoligopoly เพราะเป็นไปได้ ไม่เหมือน tradables ที่ไม่มีทางครอบงำตลาดโลกได้…3.อยากขังทรัพยากรไว้ในประเทศเท่านั้น โดยเฉพาะ ด้านdemand เพื่อส่งเสริมธุรกิจตน(เช่นคนทำธุรกิจอสังหาฯมักอยากให้เปิดเสรีด้านคนซื้อ ให้ต่างชาติซื้ออสังหาได้แต่ห้ามมาทำธุรกิจเต็มตัว)…4.ใช้ทรัพยากรรัฐและกฎระเบียบส่งเสริมnon tradables

โดยสรุป ผู้ที่ทำธุรกิจnon tradables มักจะมีทัศนคติเป็นพวก Inward looking กับ anti-globalization อย่างไม่รู้ตัว

อ้อ ลืมไปเรื่องหนึ่งครับ ถ้าสังเกตการคอร์รัปชั่นประเภทที่นักธุรกิจมักจะซื้อหาความได้เปรียบในการแข่งขัน(buyout competitions)นั้น ก็จะเกิดในภาคnon tradables กับภาค imports ทั้งนั้น เพราะเราจ่ายเงินเพื่อซื้อความได้เปรียบในตลาดโลกไม่ได้ จะแข่งขันในตลาดโลกได้

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเรื่องนี้ ก็คือ คุณ Donald Trump ที่เป็นประธานาธิบดีที่มีนโยบาย Inward looking และ Anti-globalization อย่างชัดเจน จนทำให้เป็นจุดเริ่มของสงครามการค้า และทำท่าจะลามไปเป็นสงครามเย็นยุคใหม่ในทุกวันนี้ Campaign “Make America great again”นั้น ชัดเจนมากครับมันสื่อถึงการเปรียบเทียบว่า เคยgreat แล้วมาแผ่ว(ทั้งๆที่ความจริงก็ยังเหนือกว่าโดยเฉลี่ย แต่เหนือกว่าน้อยลง) …มีคนตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อก่อน เวลาขึ้นเครื่องบินมีแต่หัวทองเลี้ยวซ้าย หัวดำเลี้ยวขวา ตอนนี้กลับกัน หัวดำเลี้ยวซ้ายไป first class business class หัวทองเลี้ยวขวาไปนั่งท้ายเครื่อง มันทำให้ชาวตะวันตกรู้สึกแย่ …ทีนี้จะให้เหนือกว่ามันทำได้สองทาง คือปรับปรุงตัว เพิ่มproductivity กับหาทางเตะคู่แข่งให้เตี้ยลง ไอ้Trumpมันดันเลือกอย่างหลังเพราะง่ายกว่า เลยจุดชนวนกีดกันการค้ากับจีน จนวุ่นวายมาทุกวันนี้ ซึ่งดันเป็นนโยบายที่คนจำนวนมากชอบเสียด้วยโดยเฉพาะพวกชาตินิยม เลยทำให้แม้ทุกวันนี้ คุณ Jo Biden ก็ยังต้องใช้นโยบายต่อเนื่องอยู่เลย ซึ่งนโยบาย ชาตินิยม และประชานิยมนั้น ถ้าเริ่มแล้ว มักจะเลิกยาก

อันว่านโยบายProtectionismเพื่อสงวนอาชีพไว้ให้เฉพาะคนไทยในนามแห่งความรักชาตินั้น ถึงจะฟังดูดี แต่พอไปออกกฎหมายว่าธุรกิจสำคัญอย่างเช่น ธนาคาร โทรคมนาคม สายการบิน การเดินเรือ อสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการค้าขายประมูลขายของให้รัฐ เหล่านี้ ต้องมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนไทย ก็เลยกลายเป็นการปกป้องทุนใหญ่(ก็ย้อนไปดูสิครับ ธุรกิจที่ว่านั้น ทุนเล็กทำไหวไหม) ปกป้องนายทุน บนต้นทุนของผู้บริโภค บนศักยภาพการแข่งขันของประเทศ แถมกลายเป็นการส่งเสริมคอร์รัปชั่นไปเสียฉิบ

พอเราได้นายกใหม่เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้ผู้กำหนดนโยบาย(ที่ยังอยู่โรงบาน) เป็นมหาเศรษฐีnon-tradables แถมเหล่านักธุรกิจที่ร่วมรุดไปแสดงความยินดีก็ล้วนมีธุรกิจหลักเป็น non-tradables ผมก็เลยเกิดความกังวล หวังว่านโยบายจะไม่มุ่งเน้นส่งเสริมพวก non tradables มากเกินไป …ซึ่งนอกจากมีความเสี่ยงที่จะทำให้ไม่ได้เพิ่มศักยภาพการแข่งขันแล้ว ยังอาจเป็นตัวเร่งเงินเฟ้อและความเหลื่อมล้ำอีกด้วย

…ทั้งหมดนี่เป็นข้อกังวลนะครับ ไม่ได้เป็นการกล่าวหา ผมเพียงแต่ยกขึ้นมาแต่เนิ่นๆ เพื่อให้สังคม โดยเฉพาะภาควิชาการคอยจับตาดู เพื่อไม่ให้เกิดมาตรการที่อาจบิดเบี้ยวไปได้ เป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ หวังว่าจะไม่ถูกหาว่าเป็นการ”ติเรือทั้งโกลน ติโขนที่ยังไม่ได้แสดง ติแกงที่ยังไม่ชิม”นะครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมศักดิ์' เชื่อไม่ซ้ำรอยรัฐบาลเศรษฐา โยนฝ่ายกฎหมายแจง 6 ประเด็นคำร้องยุบพท.

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว. สาธารณสุข ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ประเด็นทางการเมืองในขณะนี้โดยเฉพาะกรณีนายธีรยุทธ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ผู้ร้องในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องขอศาลรัฐธรรมนูญโปรดวินิจฉัยวินิจฉัยยุบพรรคเพื่อไทย(พท.)

นายกฯ ยันนโยบายส่วนใหญ่สานต่อยุคเศรษฐา!

นายกฯ เผยได้ข้อสรุปนโยบายส่วนของเพื่อไทยวันนี้ ขณะพรรคร่วมฯทยอยส่งนโยบายรัฐบาลแล้ว เชื่อปมกัญชาไม่เป็นปัญหาคุยกันได้ ส่วน 'เพื่อไทย' ยังเหมือนเดิม แต่ปรับรายละเอียดดิจิทัลวอลเล็ตเล็กน้อย

'อดิศร' รับเป็นผู้เปิดประเด็นเขี่ยพลังประชารัฐพ้นพรรคร่วม

'อดิศร' อัดคนร่วม รบ.ต้องมีความจริงใจไม่ใช่ถือมีดสั้นปักหลัง เมินนักร้อง ร้องเรียนภายหลังบอกเป็นเอกสิทธิ์ แต่ถามกลับ ทำหน้าที่อะไรบ้าง จวกสร้างแต่ความเสียหายให้ประเทศ

'เศรษฐา'โผล่ร่วมงานใหญ่! อวยอุ๊งอิ๊งเป็นผู้นำแข็งแกร่งวิสัยทัศน์เฉียบแหลม

'เศรษฐา' ร่วมงานฉลอง 8 ทศวรรษความสัมพันธ์อินเดีย-ไทย บอกเชื่อใจ 'นายกฯอิ๊งค์' เป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง วิสัยทัศน์ทางธุรกิจเฉียบแหลม สามารถสานต่อความร่วมมือสองประเทศยิ่งขึ้น

'เศรษฐา' เปิดทรัพย์สินในฐานะอดีตขุนคลังอึ้ง! ผลตอบแทนโทเคนดิจิทัล 139 บาท

เปิดคลังสมบัติ 'เศรษฐา' หลังพ้นรมต. รวย 1,080 ล้านบาท รายได้ 23 ล้านบาท หนี้สินแค่ 7 หมื่น เทียบลดลงจากวันที่รับตำแหน่งปี 66 1.7 ล้าน หนี้ลด 10 ล้าน