'อังคณา' จี้พท.คืนสู่อำนาจ เปิดเผยความจริงอุ้มหาย 'ยุคทักษิณ'

ภาพจาก https://www.amnesty.or.th/

ญาติผู้ถูกบังคับให้สูญหาย ทวงถามความจริง และความยุติธรรม ตาม พ.ร.บ.ทรมาน – อุ้มหาย พร้อมเข้าถึงการเยียวยา ที่มีประสิทธิผล

27 ส.ค.2566 – ที่คินใจ คอนเทม โพรารี (Kinjai Contemporary) กลุ่มญาติผู้ถูกบังคับสูญหายในประเทศไทย ร่วมกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จัดเสวนา ‘เมื่อแตกสลาย จะกลับสู่สภาพเดิมได้หรือ’ พร้อมเปิดตัวนิทรรศการ ‘กลับสู่วันวาน…กลับมากินข้าวด้วยกันนะ’ 

เนื่องในวันที่ระลึกถึงเหยื่อของการถูกบังคับสูญหายสากล (International Day of the Victims of Enforced Disappearances) ที่ตรงกับวันที่ 30 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทั่วโลกร่วมกันรำลึกถึงเหยื่อและครอบครัวของผู้ถูกบังคับสูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก  

นางอังคณา นีละไพจิตร ตัวแทนกลุ่มญาติผู้ถูกบังคับสูญหายในประเทศไทย และในฐานะสมาชิกคณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติ (Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances – WGEID) ผู้แทนจากภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเปิดเผยว่า นับตั้งแต่ก่อตั้งคณะทำงานฯ ในปี 2523 คณะทำงานได้ส่งกรณีผู้ถูกบังคับสูญหายทั้งสิ้น 59,600 กรณีไปยัง 112 ประเทศ ซึ่งจำนวนผู้ถูกบังคับสูญหายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเชิงรุกและยังไม่ได้รับการชี้แจงหรือยุติอยู่ที่ 46,751 กรณี จาก 97 ประเทศ โดยในช่วงระยะเวลารายงานมีกรณีการบังคับสูญหาย 104 กรณีที่คณะทำงานสามารถคลี่คลายได้

นางอังคณา ระบุว่า อย่างไรก็ดีคณะทำงานฯ เชื่อว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ที่ผ่านมาคณะทำงานกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับกรณีความพยายามกดดัน การคุกคามหรือการข่มขู่ครอบครัว หรือต่อองค์กรที่ทำงานในนามของพวกเขา หรือพยายามให้พวกเขารวมถึงญาติถอนเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการบังคับให้หายสาบสูญ  สำหรับประเทศไทย รายงานประจำปี 2565 ของคณะทำงานระบุจำนวนผู้ถูกบังคับสูญหายทั้งสิ้น 76 กรณีซึ่งสูงเป็นลำดับที่ 3 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ต่อจากฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย 

นางอังคณา กล่าวว่า รายงานของภาคประชาสังคมระบุว่า มีการบังคับสูญหายของประชาชนระหว่างช่วงการปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย การบังคับบุคคลให้สูญหายช่วงสงครามยาเสพติด การปราบปรามการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การบังคับสูญหายนักปกป้องสิทธิ กรณีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง เช่นเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2535 รวมถึงการบังคับสูญหายของผู้เห็นต่างทางการเมืองที่ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้าน  

นางอังคณา กล่าวด้วยว่า “ในฐานะครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย ตนเองพบว่า มีปัญหาและอุปสรรคมากมายในการเข้าถึงความยุติธรรมและความจริงเกี่ยวกับชะตากรรมของเหยื่อ แม้ในบางกรณีรัฐมีความพยายามให้การเยียวยาด้วยการชดเชยด้วยตัวเงิน แต่การเยียวยาที่มีประสิทธิภาพต้องเป็นการเยียวยาแบบองค์รวม ทั้งการเยียวยาด้านจิตใจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่สำคัญอย่างยิ่งคือการเยียวยาด้วยความยุติธรรม โดยการเปิดเผยความจริง นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ การฟื้นคืนความเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมถึงการช่วยเหลือครอบครัวเหยื่อให้สามารถกลับคืนสู่สังคมได้อีกครั้ง 

“มีผู้ถูกบังคับสูญหายหลายคนที่หายไปช่วงรัฐบาลเพื่อไทยที่มีทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี  วันนี้พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ก็หวังว่ารัฐบาลจะมีความจริงใจในการเปิดเผยความจริง สืบสวนสอบสวนจนกว่าจะทราบชะตากรรมของผู้สูญหายทุกคน และรู้ตัวผู้กระทำผิดตามที่รับประกันไว้ใน พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 อย่างน้อยที่สุดสำหรับครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย ทุกคนอยากรู้ว่าคนในครอบครัวยังมีชีวิตหรือไม่ ถ้ามีชีวิตอยู่เขาอยู่ที่ไหน หรือว่าถ้าเสียชีวิตไปแล้ว อย่างน้อยคืนศพให้พวกเขาก็ยังดี”  นางอังคณา ระบุ  

นางอังคณา ระบุด้วยว่า รัฐต้องยอมรับความจริงว่าการการชดใช้ด้วยเงินอย่างเดียวไม่อาจคืนศักดิ์ศรี และลบเลือนความทรงจำที่โหดร้ายทรมานของเหยื่อได้ การเยียวยาที่ไม่ได้มาตรฐานเช่นที่กระทำอยู่ ทำให้การเปลี่ยนผ่านของเหยื่อและครอบครัวเกิดความชะงักงัน การไม่รู้ความจริงทำให้พวกเขาถูกพันธนาการด้วยความเจ็บปวด และไม่สามารถเชื่อมโยงตัวเองกับสังคม. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ

'ทักษิณ' ถึงเชียงใหม่ ช่วยหาเสียงนายก อบจ. 'สว.ก๊อง' คึกมั่นใจชนะล้านเปอร์เซ็นต์

'ทักษิณ' ถึงเชียงใหม่ 'เจ๊แดง-สมชาย-พิชัย' ต้อนรับ แวะกินก๋วยเตี๋ยวร้านมิชเชอร์ลิน 7 ปีซ้อน ก่อนช่วงเย็นขึ้นปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก อบจ. 'สว.ก๊อง' ลั่นมั่นใจล้านเปอร์เซ็นต์

'อิ๊งค์' ยิ้มร่ารับฉายา 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' แซวตัวเอง 'แพทองแพด' แฮปปี้ไม่เกลียดใคร

'นายกฯอิ๊งค์' ยิ้มแย้ม ไม่โกรธฉายา 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ขอมองมุมดี พ่อมีประสบการณ์เพียบช่วยหนุน หยอกสื่อกลับ 'แพทองแพด' ไม่ใช่แพทองโพย บอกไม่ค่อยเกลียดใครมันเหนื่อย แฮปปี้เข้าไว้

'เท้ง' ลุ้น! ฉายาผู้นำฝ่ายค้าน เมินตอบ 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง-แพทองโพย'

'เท้ง' ยิ้ม ปัดให้ความเห็น 'ฉายารัฐบาล-นายกฯ' บอกอยากฟังของตัวเองมากกว่า ชี้สื่อทำเนียบ-รัฐสภามีสิทธิ์ตั้งคำถาม พร้อมรับมาสะท้อนปรับปรุงการทำงาน

'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ฉายารัฐบาลปี67 นายกฯ'แพทองโพย' อนุทิน'ภูมิใจขวาง' วาทะแห่งปี'สามีเป็นคนใต้'

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายาปี 67 'รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง' ส่วนฉายานายกฯ 'แพทองโพย' 7 รมต.ติดโผ 'บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี' พ่วง 3 รมต.โลกลืม

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า