26 ส.ค.2566 - นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เเถลงการณ์สมาคมฯว่าตามที่ได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า เป็นการเลือกปฏิบัติและอดีตนายกทักษิณมีอภิสิทธิ์มากกว่าผู้ถูกจับรายอื่น นั้น
ผมขอเสนอความเห็นทางกฎหมายที่บัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับไว้ ดังนี้
(1) การเดินทางกลับประเทศไทยครั้งนี้ อดีตนายกทักษิณตัดสินใจเดินทางกลับด้วยตนเอง จึงไม่มีเจตนาจะหลบหนีและมิได้ขัดขวางการจับกุม ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมิได้ใช้เครื่องพันธนาการจึงเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งการจับนั้น"
(2) การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจอนุญาตให้อดีตนายกทักษิณได้พบปะกับญาติและประชาชนที่เดินทางมาต้อนรับ เป็นการปฏิบัติตามมาตรา 83 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ถ้าผู้ถูกจับมีความประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุม ซึ่งไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี"
(3) ในการควบคุมตัวอดีตนายกทักษิณไปศาลและเรือนจำโดยมีขบวนรถยนต์คุ้มกันหลายคัน นั้น เป็นไปตามมาตรา83 วรรคแรก และมาตรการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากอดีตนายกทักษิณเป็นนักการเมืองที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้าน อีกทั้งวันดังกล่าวมีผู้ไปต้อนรับเป็นจำนวนมาก การที่เจ้าหน้าที่ใช้ขบวนรถยนต์รักษาความปลอดภัยหลายคันจึงสมควรแก่กรณี
ดังนั้น การปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจับอดีตนายกทักษิณ เพื่อนำตัวไปศาลและเรือนจำจึงชอบด้วยวิธีการจับตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทุกประการ มิได้เป็นการเลือกปฏิบัติหรือให้สิทธิ แก่อดีตนายกเกินเลยจากที่กฎหมายบัญญัติไว้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลุ้นศาลรับคดีล้มล้าง ตุลาการถก6ประเด็น‘ทักษิณ-พท.’/ดันแก้ประชามติไม่รอ180วัน
"ทักษิณ-พท." ระทึก! 9 ตุลาการศาล รธน.ยืนยันนัดประชุมวาระพิเศษ 22 พ.ย.นี้
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
เช็ก 41 รายชื่อแต่งตั้งนายพลสีกากี ระดับ รองผบ.ตร.-ผบช. วาระประจำปี 2567
การประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่มีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 21 พ.ย.2567 ได้มีมติเห็นชอบบัญชีรายชื่อแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
'บิ๊กต่าย' สั่งสอบ 'พ.ต.ต.' อาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ กระทำอนาจาร
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เปิดเผยกรณีเพจดังเผยแพร่ข้อมูลระบุว่า มีนักเรียนนายร้อยตำรวจ ถูกอาจารย์ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และสารวัตร (สอบสวน) สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล
เคาะแล้ว! ก.ตร. แต่งตั้ง รองผบ.ตร.-ผบช. 'สยาม บุญสม' ม้ามืดผงาดนครบาล
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่ 10/2567 โดยวาระสำคัญ คือวาระที่ 4 เรื่องที่ 4 การคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ วาระประจำปี 2567 ระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ถึงผู้บัญชาการ (ผบช.) เป็นการใช้ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เป็นครั้งแรก
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา