20 ส.ค.2566-รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้
การที่พรรคเพื่อไทยแถลงว่า หากได้เป็นรัฐบาลและคนของพรรคเพื่อไทยได้เป็นนายกรัฐมนตรี วาระแรกของการประชุมคณะรัฐมนตรี จะเป็นการพิจารณาให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นวาระแห่งชาติ และให้มี สสร. เพื่อดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ
คำถามคือ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปแล้ว จากที่ใช้บัตรลงคะแนน 1 ใบ มาเป็น 2 ใบ อย่างที่พรรคเพื่อไทยต้องการ สว.ที่มีอำนาจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีก็จะสิ้นสภาพในวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ต้องเลือกกันใหม่โดยวิธีใหม่ เพราะวิธีเดิมอยู่ในบทเฉพาะกาลก็สิ้นสภาพไปด้วยเมื่อครบ 5 ปี และจะไม่สามารถโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีอีกต่อไป พรรคเพื่อไทยยังต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในประเด็นใดอีกบ้าง
การตั้งส.ส.ร. เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จากผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันผ่านประชามติของประชาชนมาแล้ว จึงจะต้องทำประชามติเพื่อถามประชาชนก่อนว่า จะต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อร่างเสร็จแล้วยังต้องนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไปผ่านการทำประชามติอีกครั้ง ซึ่งการทำประชามติ 2 ครั้งต้องใช้งบประมาณครั้งละประมาณ 4,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 8,000 ล้านบาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งส.ส.ร.หากให้สสร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และค่าใช้จ่ายในการประชุมร่างรัฐธรรมนูญ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งหมดทั้งค่าทำประชามติด้วยจะเกินกว่าหมื่นล้านแน่นอน ใช้เงินมากขนาดนี้เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่ออะไร เพื่อประเทศชาติจริงหรือไม่ หรือเพื่อสนองความต้องการของตัวเองและพวกตัวเอง
หากการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดย สสร.ไม่มีกรอบว่าจะไม่แตะต้องหมวด 1 และหมวด 2 และให้สสร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ย่อมเข้าทางพรรคก้าวไกล เพราะพรรคก้าวไกลมีฐานเสียงในปัจจุบันมากพอที่จะส่งคนของพรรคให้ได้รับการเลือกตั้งเป็นสสร.เกือบทุกจังหวัด และถ้าเปิดกว้างให้เปลี่ยนแปลงได้ทุกหมวดทุกมาตรา จะต้องมีความพยายามแก้ไขหมวด 2 ที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแน่นอน
จากเว็บไซด์ของประชาไทยรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล โพสต์ใน face book เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไข หมวด 2 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ 1. กำหนดพระราชสถานะประมุขของรัฐ ศูนย์รวมจิตใจ และความเป็นกลางทางการเมือง 2. กำหนดพระราชอำนาจ ขอบเขตของเอกสิทธิ์และความคุ้มกันพระมหากษัตริย์ให้ชัดเจน
3. เปลี่ยนกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ให้เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
4. ยกเลิกองคมนตรี 5. เปลี่ยนแปลงกระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งพระมหกษัตริย์ การเสนอพระนามองค์รัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ 6. กำหนดให้พระมหากษัตริย์และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องปฏิญานตน(ในสภาผู้แทนราษฎร)ก่อนเข้ารับหน้าที่ 7. กำหนดกรณีที่พระมหากษัตริย์ต้องแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเปลี่ยนแปลงกระบวนการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เสียใหม่ ให้สภาผู้แทนราษฎรเข้ามีอำนาจให้ความเห็นชอบ 8. กำหนดระบบเงินรายปีแก่พระมหากษัตริย์ โดยให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการกำหนดวงเงินและอนุมัติ 9. ยกเลิกการลงพระปรมาภิไธยในพระบรมราชโองการแต่งตั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดีและเทียบเท่า ให้คงไว้เพียงการลงพระปรมาภิไธยบุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไดยและอำนาจตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น อ้นได้แก่ รัฐมนตรี ตุลาการศาลปกครอง และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ 10. ยกเลิกพระราชอำนาจในการยับยั้งในการลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากสภา
แนวทางในการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญหมวด 2 อันเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นแนวทางที่จะตัดทอนพระราชอำนาจ ลดความสำคัญ จำกัดบทบาท จำกัดการใช้จ่ายของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะเดียวกันเพิ่มบทบาทและความสำคัญของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งดูเหมือนจะต้องการให้มีสภาเดียว ไม่มีวุฒิสภา อันเป็นการสะท้อนความมีอคติและความเข้าใจผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน
เรามาลองพิจารณาแนวทางข้างต้นบางแนวทาง ดังนี้ การกำหนดให้พระมหากษัตริย์ต้องปฏิญานตน ซึ่งเข้าใจว่า ให้ปฏิญานตนต่อสภาผู้แทนราษฎร เป็นการให้ความสำคัญต่อสภาผู้แทนราษฎร และเป็นการเข้าใจผิดโดยเชื่อว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เบื้องหลังการทำรัฐประการทุกครั้ง และยังเข้าใจผิดคิดว่าพระมหากษัตริย์ไม่เคยต้องปฏิญานตน แต่ข้อเท็จจริงคือ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระมหากษัตริย์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ ซึ่งก็คือการปฏิญานตนตามโบราณราชประเพณีอยู่แล้ว ดังนั้นไม่จำเป็นต้องปฏิญานตนในที่อื่นๆอีก ซึ่งอ.ปิยบุตรต้องการให้พระมหากษัตริย์ปฏิญานตนในสภาผู้แทนราษฎรว่า
“ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศด้วยความซื่อสัตย์ เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายที่ตราขึ้นโดยสภาผู้แทนราษฎรทุกประการ”
วิญญูชนก็คงบอกได้ว่า อ.ปิยบุตรต้องการให้พระมหากษัตริย์ปฏิญานคนต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่ออะไร การยกเลิกองคมนตรีก็เท่ากับเป็นการไม่ให้พระมหากษัตริย์มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆเพื่อเป็นคณะที่ปรึกษาในการประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ รวมทั้งไม่ให้มีผู้ที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ คงต้องการให้พระมหากษัตริย์เป็นเพียงสัญญลักษณ์เท่านั้น ไม่ต้องมีพระราชกรณียกิจใดๆเลย
การยกเลิกการลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งฝ่ายทหาร และพลเรือนตำแหน่งปลัดกระทรวงและอธิบดีหรือเทียบเท่า เหลือเพียงให้ลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งรัฐมนตรี ตุลาการศาลปกครอง และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น เป็นการทำลายความสัมพันธ์และความภาคภูมิใจของทหารและข้าราชการประจำระดับสูง ที่มีต่อองค์พระมหากษัตริย์
การให้กำหนดระบบเงินรายปีแก่พระมหากษัตริย์ และให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการกำหนดวงเงินและอนุมัติ เป็นความเข้าใจผิดว่าพระมหากษัตริย์ทรงได้รับเงินจากงบประมาณแผ่นดินเพื่อใช้จ่ายส่วนพระองค์ ซึ่งไม่จริง เพราะเงินงบประมาณแผ่นดินใช้เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อส่วนรวมเท่านั้น และสำหรับเงินงบประมาณแผ่นดินส่วนนี้ก็ต้องได้รับอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว
การกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เท่ากับเป็นการตัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการที่จะแต่งตั้งผู้ที่ทรงไว้วางพระทัยเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยให้เป็นอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการมิบังควรอย่างยิ่ง
นี่คือทิศทางของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในหมวดที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หากสสร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
อ.ปิยบุตรให้เหตุผลว่า มีคนเป็นจำนวนมากอย่างไม่เคยมีมาก่อนที่มองสถาบันกษัตริย์ไม่เหมือนอย่างที่คนทั่วไปมองมาทั้งชีวิต ทำให้เกิดการช็อคและโกรธ อาฆาตเพราะไม่เคยเห็นการแสดงออกต่อสถาบันกษัตริย์แบบนี้มาก่อน จึงทำการไล่ล่าพวกเขาด้วย “นิติสงคราม” แต่ไม่ว่าพวกเขาจะถูกปราบปราม ต้องถูกดำเนินคดี หรือถูกนำเข้าห้องขัง ก็ไม่มีทางเปลี่ยนความคิดพวกเขาได้ อ.ปิยบุตรสรุปว่า ทุกคนต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่า การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เป็นความจำเป็นของยุคสมัย ทุกคนต้องร่วมกันปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพื่อรักษาสถาบันกษัตริย์ และเพื่อให้ประเทศไทยยังคงเป็นราชอาณาจักร ไม่ใช่สาธารณรัฐ เพื่อรักษาประชาธิปไตย ให้ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
มีคำถามอีกในประเด็นนี้ว่า การที่มีคนจำนวนไม่น้อยมีความรู้สึกและแสดงออกต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่เราได้เห็นในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่เป็นเพราะเพระมีขบวนการป้อนข้อมูลเท็จบ้างจริงบ้างต่อเยาวชนในทุกรูปแบบทุกช่องทางอย่างไม่เคยมีมาก่อน ตั้งแต่ในชั้นเรียนในมหาวิทยาลัย ในโรงเรียน และที่สำคัญและมีพลังมากคือใน social media เพื่อสร้างความเกลียดชังต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มาเป็นเวลานานแล้วหรอกหรือ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีคนจำนวนไม่น้อยที่มีความเกลียดชังสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ก็ยังเชื่อว่า คนกลุ่มนี้ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะใน 14 ล้านเสียงที่เลือกพรรคก้าวไกล ไม่ใช่ทั้งหมดที่มีทัศนคติต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แบบพรรคก้าวไกล และจำนวนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งมีประมาณ 39 ล้านคน แปลว่ายังมีคนอีก 25 ล้านคนที่ไม่ได้เลือกพรรคก้าวไกล และยังมีคนอีกประมาณ 12 ล้านคนที่ไม่ได้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนั้นไม่อาจเหมารวมว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศเห็นดีเห็นงามไปกับพรรคก้าวไกล
หากองค์พระมหากษัตริย์ไม่มีทศพิธราชธรรม ทรงกระทำการที่เป็นการสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน และไม่ทรงปรับพระองค์ ในที่สุดสถาบันพระมหากษัติย์ก็จะเกิดความเสื่อม และในที่สุดก็จะดำรงอยู่ไม่ได้เอง ไม่ต้องให้ใครมาแสดงความหวังดี แต่อาจประสงค์ร้ายเช่นนี้
ขอถามพรรคเพื่อไทยว่า อยากร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่ออะไรกันแน่ ไม่มีประโยชน์อะไร หาก ยืนยันหนักแน่นว่า จะไม่แตะต้องประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แต่กลับปล่อยให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญหมวด 2 และอาจเปลี่ยนแปลงหมวด 1 ด้วย เนื่องจากพรรคก้าวไกลมีท่าทีไม่ปฏิเสธการประกาศเอกราชเพื่อแบ่งแยกดินแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีนโยบายกระจายอำนาจที่ไปไกลถึงขั้นให้แต่ละจังหวัดปกครองตนเอง
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงอยากให้ประชาชนชาวไทยได้ตื่นรู้ว่า หากยอมให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับโดยสสร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย สถาบันพระมหากษัตริย์จะถูกปู้ยี่ปู้ยำอย่างที่คนที่ยังคงเห็นความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ยอมรับไม่ได้
ด้วยเหตุผลทั้งหมดข้างต้น จึงยังเห็นว่า จะอย่างไร คุณเศรษฐา ทวีสิน หากได้รับการเสนอขื่อต่อสภาจริง ก็จะไม่มีทางได้รับคะแนนเสียงที่ให้ความเห็นชอบถึง 375 เสียง เพราะสว.ส่วนใหญ่จะไม่เอาด้วย ขอย้ำอีกครั้งและจะย้ำเรื่อยๆว่า พระสยามเทวาธิราชมีจริง ศักดิ์สิทธิ์จริง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อิ๊งค์' ยิ้มร่ารับฉายา 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' แซวตัวเอง 'แพทองแพด' แฮปปี้ไม่เกลียดใคร
'นายกฯอิ๊งค์' ยิ้มแย้ม ไม่โกรธฉายา 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ขอมองมุมดี พ่อมีประสบการณ์เพียบช่วยหนุน หยอกสื่อกลับ 'แพทองแพด' ไม่ใช่แพทองโพย บอกไม่ค่อยเกลียดใครมันเหนื่อย แฮปปี้เข้าไว้
'เท้ง' ลุ้น! ฉายาผู้นำฝ่ายค้าน เมินตอบ 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง-แพทองโพย'
'เท้ง' ยิ้ม ปัดให้ความเห็น 'ฉายารัฐบาล-นายกฯ' บอกอยากฟังของตัวเองมากกว่า ชี้สื่อทำเนียบ-รัฐสภามีสิทธิ์ตั้งคำถาม พร้อมรับมาสะท้อนปรับปรุงการทำงาน
'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ฉายารัฐบาลปี67 นายกฯ'แพทองโพย' อนุทิน'ภูมิใจขวาง' วาทะแห่งปี'สามีเป็นคนใต้'
สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายาปี 67 'รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง' ส่วนฉายานายกฯ 'แพทองโพย' 7 รมต.ติดโผ 'บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี' พ่วง 3 รมต.โลกลืม
เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2
รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า
‘แม้ว’ ไล่ทุบ- ‘ภูมิใจไทย’ ไม่หมู ‘แดง-น้ำเงิน’ ทนอยู่แบบตบจูบ
นาทีนี้ศึกฝ่ายค้าน-รัฐบาลยังไม่เดือดเท่ากับศึกรัฐบาลด้วยกันเอง แรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการขบเหลี่ยมของพรรคอันดับ 1 และพรรคอันดับ 2