'นักวิชาการ' ตั้งข้อสังเกต 'บุ้ง' แถวหน้า 'ด้อมส้ม' มีความรู้ ข้อมูลจำกัด คนอื่นๆยิ่งไม่ต้องพูดถึง

'อ.หริรักษ์' ตั้งข้อสังเกต'บุ้ง'ซึ่งอยู่แถวหน้าของ'ด้อมส้ม' มีความรู้ข้อมูลทางการเมืองจำกัด คนอื่นๆยิ่งไม่ต้องพูดถึงจึงอนุมานได้ว่าสาวกของ'ก้าวไกล'มีตรรกะและพฤติกรรมคล้ายกันหมด ต้องคิดกันใหม่ว่าระบอบประชาธิปไตยควรมีกลไกอย่างไร ที่จะเหมาะสมกับประเทศไทยที่สุด

11ส.ค.2566 - รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้

เมื่อ "บุ้ง" กลุ่มทะลุวังเผชิญหน้ากับคุณพิพัฒน์ รัชกิจประการ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย มีข้อน่าสังเกต 2 ประการคือ

1.คุณพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และยังรักษาการตำแหน่งนี้อยู่ในปัจจุบัน และเป็นรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แต่บุ้งไม่รู้จักว่าเป็นใคร

2. เมื่อรู้ว่าคุณพิพัฒน์ สังกัดพรรคภูมิใจไทย สิ่งที่แรกเข้ามาในสมองของบุ้งก็คือ กระทรวงสาธารณสุข และโควิด จึงได้คาดคั้นถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาว่า รู้หรือไม่ว่า มีผู้เสียชีวิตเพราะโควิดกี่คน ซึ่งคุณพิพัฒน์ก็บอกว่า ไม่รู้ บุ้งจึงบอกตัวเลขผู้เสียชีวิต และเรียกคุณพิพัฒน์ดังๆว่า "ฆาตกรโควิด"

ไม่ว่าจะบอกว่า บุ้ง เรียนเก่งอย่างไร แต่เป็นที่แน่ชัดว่า ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองของบุ้งมีจำกัด มิฉะนั้นด้วยความที่ว่ากันว่า บุ้ง เป็นเด็กฉลาด ไม่ควรจะโจมตีพรรคภูมิใจไทยเรื่องโควิด และต้องไม่นำเรื่องจำนวนผู้เสียชีวิตมาโจมตี เพราะจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดของประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่มีน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ และหากจะโจมตีเรื่องโควิดก็น่าจะตั้งคำถามเรื่องการจัดซื้อวัคซีนมากกว่า ว่ามีการทุจริตกันหรือไม่

นี่ขนาด บุ้ง ซึ่งต้องถือว่าอยู่แถวหน้าของบรรดาด้อมส้ม ยังมีข้อมูลทางการเมืองเท่านี้ คนอื่นๆยิ่งไม่ต้องพูดถึง ดังนั้นจึงน่าจะอนุมานได้ว่า สาวกของพรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้า คงจะมีข้อมูล ความรู้ กระบวนคิด และความเชื่อเท่าที่ได้รับการถ่ายทอดให้เท่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่า สาวกเหล่านี้จึงมีตรรกะและพฤติกรรมคล้ายกันหมด ที่ยังแปลกใจอยู่ก็คือ เหตุใดสาวก 3 นิ้วส่วนใหญ่จึง เอาแต่ใจตัวเอง พูดจาหยาบคาย มีอารมณ์แปรปรวน ถ่อยเถื่อน ชอบใช้ความรุนแรง ชอบทำผิดกฎหมาย เช่นทำลายทรัพย์สินของราชการแต่อ้างว่าเป็นเสรีภาพ

เมื่อพูดถึงข้อมูลทางการเมือง ก็อยากจะเล่าถึงครอบครัวใหญ่ที่เป็นเพื่อนบ้านที่สนิทกันครอบครัวหนึ่ง ทุกคนมีการศึกษาดี สมาชิกของครอบครัวที่อยู่ในวัยที่มีสิทธิ์เลือกตั้งมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เมื่อพูดคุยเรื่องการเมืองกันแล้วจึงทราบว่า ส่วนใหญ่ติดตามข่าวการเมืองน้อยมาก ไม่ค่อยจะทราบว่าใครเป็นใครในแวดวงการเมือง ไม่เคยได้อ่านนโยบายของพรรคการเมืองใดๆ ที่ไม่น่าเชื่อคือ ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าพรรคก้าวไกลมีท่าทีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไร ไม่ทราบว่าพรรคก้าวไกลมีความมุ่งมั่นที่จะยกเลิก ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ยิ่งไม่ทราบว่า เนื้อหาที่ต้องการแก้ไขมาตรา 112 เป็นอย่างไร เมื่อถึงวันเลือกตั้ง สมาชิกในครอบครัวเกือบทั้งหมดเลือกพรรคก้าวไกล

คำถามจึงมีว่า ผู้ที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในบ้านเรา มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่มีข้อมูลที่พร้อมพอ และถูกต้องพอที่จะไปลงคะแนนเลือกตั้งได้อย่างสมเหตุสมผล ไม่ใช่เลือกเพราะเห็นคนอื่นๆเขาเลือกกัน ซึ่งเชื่อได้เลยว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับระดับการศึกษา สมมติว่าคนส่วนใหญ่ที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งไม่มีข้อมูลพอที่จะเลือกคนหรือเลือกพรรคการเมืองได้อย่างสมเหตุสมผล จะโทษว่าคนไทยยังไม่พร้อมก็ไม่ได้ เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยแบบของบ้านเรามีอายุถึง 91ปีแล้ว ถ้าขณะนี้คนไทยยังไม่พร้อมก็คงไม่มีทางจะพร้อมได้แล้ว ก็แสดงว่าระบอบประชาธิปไตยแบบที่เป็นอยู่ในขณะนี้ไม่น่าจะเหมาะกับประเทศเราเสียแล้ว

เมื่อเห็นความวุ่นวายในบ้านเมืองขณะนี้ ยิ่งน่าเชื่อว่าข้อสมมติฐานข้างต้นเป็นจริง ทำให้มีคำถามว่า ควรหรือไม่ที่เราจะต้องคิดกันใหม่แล้วว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ควรเป็นอย่างไร มีกลไกอย่างไร ที่จะเหมาะสมกับประเทศไทยที่สุด โดยเริ่มคิดจากแผ่นกระดาษเปล่า ไม่ต้องไปเลียนแบบจากประเทศตะวันตก เพื่อให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มึความเหมาะสมกับจริตของคนไทย

ฝากเป็นคำถามให้กับรัฐบาลชุดต่อไปด้วยนะครับ ไม่ว่าจะจัดตั้งได้สำเร็จเมื่อใดก็ตาม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี

"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี

‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ

มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร

'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน

“พิพัฒน์” กำชับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ร่วมสร้างเกราะป้องกันในสถานประกอบการ ดูแลคนทำงาน ลดการสูญเสีย มุ่งเป้าลดอันตรายร้ายแรง 1:1,000 คน

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “12 พฤศจิกายน วันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ประจำปี พ.ศ.2567” ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 .