'สส.-สว.-อดีต สนช.' ถือครองที่ดินหนาว! ป.ป.ช.จ่อฟันจริยธรรมแน่ในปีนี้

ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหานักการเมืองผิดจริยธรรม ปมถือครองที่ดิน 10 ราย มีทั้ง สส.-สว.-อดีต สนช. แต่ขออุบรายชื่อ คาดได้เห็นชี้มูลบางรายในสิ้นปีนี้

10 ส.ค.2566 - ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์ถึงการตรวจสอบจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถือครองที่ดิน หรือเอกสารสิทธิโดยมิชอบหรือสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐในการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ ว่า ขณะนี้มีการแจ้งข้อกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประมาณ 10 รายแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ เกรงว่าจะกระทบ แต่มีทั้ง สส. สว. และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งเมื่อแจ้งข้อกล่าวหาไปแล้วจะต้องรอให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่า ครอบครองที่ดินดังกล่าวหรือไม่ ที่ดินเป็นของเจ้าตัวหรือไม่ ที่ดินนั้นชอบหรือไม่ เป็นที่ป่าหรือไม่ ออกเอกสารสิทธิ์ได้อย่างไร ครอบครองโดยบริสุทธิ์หรือไม่ เราต้องดูที่เจตนา ทั้งนี้ เชื่อว่าขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหาน่าจะถึงเจ้าตัวแล้ว ดังนั้น ขอให้มาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา

“การพิจารณาเรื่องดังกล่าวไม่น่าจะช้า เพราะเจ้าหน้าที่ก็ต้องเร่งทำคดี เนื่องจากมีกรอบเวลา คาดว่าจะสามารถชี้มูลบางรายได้ภายในสิ้นปี 2566 นี้”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไม่กล้าบินเดี่ยว! 'ภูมิธรรม' เผยต้องคุยหัวหน้าพรรคการเมือง ชำเรารธน.ทั้งฉบับ ไปในทิศทางเดียวกัน

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักน

สว. 167 เสียง ลงมติเห็นชอบใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น ทำประชามติแก้รธน.

ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ ที่มีพล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชร เป็นประธานกมธ.ฯ พิจารณาเสร็จแล้ว

อึ้ง! 'พิชัย' ตอบกระทู้ปัญหาTemu วกตำหนิ 'แบงก์ชาติ' ไม่ลดดอกเบี้ย

'นันทนา' จี้ถาม 'รมว.พณ.' จัดการแอปTemu 'พิชัย' อ้างสินค้าจีนแทรกแค่ปลายเหตุ แต่ต้นเหตุเกิดจากโควิด งงวกตำหนิ 'แบงก์ชาติ' ไม่ลดดอกเบี้ย

สมชัย แนะ 5 ทางออก อย่ากลัวหาก ‘สว.’ จะแก้ กม.ประชามติ จากร่างเดิม ‘สส.’

ประเด็นที่หวาดหวั่นกันคือ การแก้กลับไปใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น (double majority) สำหรับการทำประชามติเรื่องสำคัญ เช่น แก้รัฐธรรมนูญ ว่า ชั้นที่ 1 ต้องมีผู้มาใช้สิทธิเกินครึ่ง และชั้นที่สอง มติที่ชนะก็ต้องเกินครึ่งของผู้มาใช้สิทธิ