6 ส.ค.2566-นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng ระบุว่า พรป. การเลือกตั้ง สส. มาตรา 73 ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น ให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือการชักชวนให้ไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
(1) จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด
…..การที่พรรคการเมืองต่างๆ หาเสียงโดยการประกาศว่าจะแจกเงินแก่ผู้สิทธิเลือกตั้ง เช่น แจกเงินดิจิทอลแก่ประชาชนทุกคนๆ ละ 10,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน จ่ายค่าแรงขั้นต่ำให้ลูกจ้างวันละ 450 บาท จ่ายเงินให้เด็กแรกเกิด 3,000 บาท เด็กเล็กเดือนละ 1,200 บาท ผู้จบปริญญาตรีต้องได้รับเงินเดือนละ 25,000 บาท และจ่ายเงินให้แก่คนชราเดือนละ 3,000 บาท เป็นต้น
…..การหาเสียงโดยการจะแจกจ่ายเงินดังกล่าวทำให้ประชาชนหลงเชื่อจึงเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. และเลือกพรรคนั้นๆ โดยหวังว่าจะได้ประโยชน์ตามที่พรรคการเมืองต่างๆ หาเสียง อันเป็นผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่หาเสียงดังกล่าวได้รับการเลือกตั้งมาเป็นจำนวนมากทั้งๆ สส.เขต สส. บัญชีรายชื่อ
…..ทั้งๆ ที่การหาเสียงเช่นนั้นย่อมเห็นได้ว่า เข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 73(1) อย่างชัดเจน แต่ กกต. กลับให้ความเห็นว่า สามารถทำได้เพราะเป็นเรื่องนโยบายของพรรคการเมือง ตามพรป.พรรคการเมือง อันเป็นกฎหมายคนละฉบับกัน จึงไม่ควรจะเอามาตีความเพื่อยกเว้นการกระความผิดตาม พรป.การเลือกตั้ง สส. ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่ต้องให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
…..ถ้า กกต. ที่มีหน้าที่จัดการเลือกไม่ปล่อยปละละเลยให้พรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งซื้อเสียงกันได้ทั้งที่ กกต.เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายและที่เห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ กกต.ก็ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ทั้งๆ ที่มีการใช้เงินซื้อเสียงกันซึ่งประชาชนต่างก็รู้กันดีดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
…..ไม่ปล่อยให้ผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 สมัครรับเลือกตั้งกันโดยไม่ได้ตรวจสอบ แม้กระทั่งผู้สมัครที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยมีผู้ร้องเรียนแล้ว ซึ่ง กกต.เพียงมีหนังสือสอบถามประวัติอาชญากรไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ได้รับคำตอบแล้ว
…..หรือเพียงเรียกผู้สมัครคนนั้นมาสอบถามว่า ถูกศาลพิพากษาจำคุกจริงหรือไม่ ที่ศาลไหน ปีใด เชื่อว่า ผู้สมัครคงไม่กล้าโกหก จากนั้นสอบถามไปที่ศาลก็คงได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน แต่ กกต. ก็ไม่กระทำกลับประกาศผลให้ผู้สมัครคนนั้นได้เป็น สส. และรัฐต้องจ่ายเงินเดือนให้แล้วตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2566 อันเป็นวันที่บุคคลนั้นลาออกจากเป็น สส. อยากถาม กกต.ว่า จะให้ใครรับผิดชอบเงินจำนวนนี้
…..ถ้า กกต.ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็งเคร่งครัดตามบทบัญญัติของกฎหมายอย่างละเอียดรอบคอบดังเช่นที่ กกต. ชุดแรกได้ประพฤติปฏิบัติเชื่อได้ว่า สส. คงมีคุณภาพมากกว่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบันและการเมืองของประเทศไทยคงต้องไม่เกิดวิกฤติเละเทะอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ
‘ยิ่งลักษณ์’ กลับคุก ‘บิ๊กเสื้อแดง’ รู้มา! ว่าไปตามราชทัณฑ์ไม่ใช้สิทธิพิเศษ
“เลขาฯ แสวง” ยันเดินหน้าคดี “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างการปกครองต่อ เพราะใช้กฎหมายคนละฉบับกับศาล รธน. "จตุพร" ลั่นยังไม่จบ! ต้องดูสถานการณ์เป็นตอนๆ ไป
ลุ้นระทึก! เลือก ‘อบจ.’ 3 จว. ‘กกต.’ จับตาที่อุดรฯแข่งดุ
“เลขาฯ แสวง” มั่นใจเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี แข่งขันสูงไม่ใช่ปัญหา แต่ช่วยกระตุ้นประชาชนออกมาใช้สิทธิ เผยมีเรื่องร้องเรียน 2 เรื่อง ใส่ร้ายระหว่างผู้สมัคร เร่งตรวจสอบ
กกต. มั่นใจเลือกตั้ง นายกอบจ.อุดรธานี แข่งขันสูงไม่ใช่ปัญหา
นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ระหว่างไปตรวจเยี่ยมการรับมอบวัสดุอุปกรณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการเ
เลขาฯกกต.ยันคดี 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างปกครองฯ ที่ศาลรธน.ยกคำร้องไม่เกี่ยว กกต.
นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้อง ข้อกล่าวหาว่า นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง ว่า ศาล
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ