ดร.เสรี เบื่อวาทกรรม 'ฟังเสียงประชาชน' 14 ล้านเสียง

2 ส.ค.2566 - ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชการด้านการตลาด และการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า เบื่อวาทกรรม "ฟังเสียงประชาชน" จังเลย จะให้ฟังแต่เสียง 14 ล้านคนที่เลือกพรรคก้าวไกลเท่านั้นกระนั้นหรือ

แล้วอีก 30 กว่าล้านที่ไม่เลือกก้าวไกล ไม่ใช่ประชาชนหรือไร อย่าเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางเลยนะ มองให้กว้างหน่อย

และ 14 ล้านเสียงที่เลือกก้าวไกล เขาไม่ได้สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 เขาถูกหลอกด้วยนโยบายประชานิยมต่างหาก

แล้วพฤติกรรมของพวกคุณ ทั้งแกนนำและด้อมของพวกคุณ กร้าวร้าว รุนแรง หยาบช้า สร้างศัตรู ใครจะยอมให้พวกคุณบริหารบ้านเมือง

คุณควรเข้าใจทำไม 188 เสียง และ สว. เขาไม่เอาพวกคุณ อย่าสร้างวาทกรรม "ฟังเสียงประชาชน" ที่ไม่ใช่เสียงย้างมากเลยนะยืนยัน ไม่ยอมถอยเรื่องนโยบายแก้ไขมาตรา 112 ดังกล่าว ทำให้เป็นสาเหตุที่พรรคพท. จำเป็นต้องขอแก้ไข MOU เดิมของทั้ง 8 พรรค โดยพรรคพท.จะไปจับขั้วใหม่เพื่อจัดตั้งรัฐบาลเอง พรรคพท.ยืนยันว่าหากพรรคการเมืองที่จะเข้าร่วมรัฐบาล จะต้องไม่มีการแก้ไขมาตรา 112

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พรรคพร้อม' เคาะ 'ว่าที่พันตรีกวี ไกรทอง' สู้ศึกเลือกตั้งซ่อมสส. เขต 8 เมืองคอน

กก.บห.พรรคพร้อม เคาะ “ว่าที่พันตรีกวี ไกรทอง" ลงสู้ศึกเลือกตั้งซ่อม สส.เขต 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช "แม่เลี้ยงส้ม-หัวหน้าพรรค" ขอโอกาศชาวเมืองคอน เลือกลูกหลานเข้าสภาฯรับใช้พี่น้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 54)

ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475