อดีตรองอธิการบดี มธ. ยกข้อกม.ปิดฉาก ‘พิธา’ ชี้ 4 ส.ค.โหวตนายกฯคนใหม่แน่

30 ก.ค.2566-รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า อาจารย์นิติศาสตร์ 115 คนจากทั่วประเทศ ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยที่รัฐสภามีมติว่า การเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการเสนอญัตติซ้ำ ทำให้ไม่อาจเสนอชื่อนายพิธาเป็นครั้งที่ 2 ได้ ตามข้อบังคับรัฐสภาข้อ 41 เป็นการทำให้มติรัฐสภาใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ อันจะทำให้การสอนลำดับชั้นของกฎหมายยากที่จะทำได้ ก่อนหน้าแถลงการณ์ดังกล่าวก็มีนักกฎหมายชั้นนำของประเทศ 2 ท่านออกมาแสดงความเห็นแบบเดียวกัน ดังนั้น เพื่อความกระจ่างเราลองนำข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ต้องนำมาพิจารณา โดยเริ่มกฎหมายรัฐธรรมนูญก่อน

รัฐธรรมนูญมาตรา 159 บัญญัติว่า ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ………

รัฐธรรมนูญมาตรา 272 บัญญัติว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการตามมาตรา 159 เว้นแต่การพิจารณาให้ความเห็นขอบตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่ให้ความเห็นชอบบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 วรรคสาม ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญทั้งมาตรา 159 และมาตรา 272 เพียงระบุว่า ให้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นายกรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดอื่นๆแต่อย่างใด

แน่นอนว่าข้อบังคับรัฐสภาไม่อาจอยู่เหนือรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ประเด็นนี้ไม่ต้องถกเถียงกัน และผู้ที่สอนกฎหมายก็ไม่เห็นจะมีความยากลำบากในการสอนลำดับชั้นของกฎหมายตรงไหน  เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 128 และมาตรา 157 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาไปจัดทำข้อบังคับการรประชุมของแต่ละสภาเพื่อใช้ดำเนินกาารประชุม และให้จัดทำข้อบังคับการประชุมเป็นการเฉพาะเพื่อใช้สำหรับการประชุมรัฐสภา ซึ่งหมายถึงการประชุมร่วมกันของ 2 สภา

ด้วยเหตุนี้ ข้อบังคับการประชุมของรัฐสภาจึงมาจากรัฐธรรมนูญ มิใช่เป็นการกำหนดขึ้นเอง ซึ่งเท่ากับว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 128 และมาตรา 157 อนุญาตให้รัฐสภาสามารถออกข้อบังคับเพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการประชุมได้เอง เมื่อรัฐธรรมนูญมาตรา 272 เพียงระบุว่า การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยไม่มีรายละเอียดอื่นใด ดังนั้นรายละเอียดในการดำเนินกาารประชุมจึงควรเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา

ข้อบังคับรัฐสภาข้อ 36 ระบุว่า “ญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ผู้รับรองญัตติให้การรับรองโดยวธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ เว้นแต่การรับรองการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามข้อ 136″ และข้อบังคับรัฐสภาข้อ 41 ระบุว่า ” ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุม เดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ยังมิได้มีการลงมติ หรือญัตติที่ประธานสภาจะอนุญาต ในเมื่อพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป”

คำถามคือข้อบังคับทั้ง 2 ข้ออยู่เหนือรัฐธรรมนูญตรงไหน 

ในการประชุมรัฐสภาวันที่  19 กรกฎาคม  แม้ว่าจะมีผู้เสนอว่าการเสนอชื่อผู้ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องถือเป็นญัตติ ดังนั้นต้องเป็นไปตามข้อบังคับข้อ 41 แต่แทนที่จะลงมติว่าการเสนอชื่อดังกล่าวเป็นญัตติหรือไม่โดยดูที่ข้อบังคับข้อ 36  แต่กลับไปให้ลงมติว่า การเสนอชื่อนายพิธาให้ารัฐสภาโหวตเป็นนายกรัฐมนตรีอีกรอบ ขัดกับข้อบังคับการประชุมข้อ 41 หรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาจากข้อบังคับข้อ 36 ก็จะเห็นว่าการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นญัตติอย่างแน่นอน ดังนั้นไม่สามารถเสนออีกครั้งได้ หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

ขณะนี้มีผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนไปที่สำนักงานผู้ตราวจการแผ่นดินถึง 17 ราย เพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มติรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่าศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับวินิจฉัย เนื่องจากพรป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 (8)ระบุว่าให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา และร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา เท่านั้น

ดังนั้นจึงน่าจะฟันธงได้เลยว่า ในการประชุมรัฐสภาวันที่ 4 สิงหาคม จะมีญัตติการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ใช่คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ค่อนข้างแน่

เราลองมองอีกมุม ลองพิจารณว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญคืออะไร มาตรา 88 กำหนดให้พรรคการเมืองสามารถเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีได้ไม่เกิน 3 ชื่อ หากพรรคการเมืองพากันเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐธรรมนูญ พรรคละ 3 ชื่อ และเมื่อพรรคที่ได้ส.ส.มาเป็นอันดับที่ 1 เสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการเแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ เมื่อไม่ผ่านก็เสนอเข้ามาอีก และเสนอเข้ามาอีก จนกว่าจะเห็นว่าไม่มีโอกาสแล้ว จึงเสนอชื่อที่ 2 และชื่อที่ 3 ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะผ่าน เช่นนี้จะต้องใช้เวลานานเท่าใด จะเป็นไปได้หรือว่า นี่คือเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

ไม่ว่าจะพิจารณาในมุมใด คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ก็ไม่มีทางได้รับการเสนอชื่อเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบอย่างแน่นอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิธา' ให้สัมภาษณ์งานแต่งข้ามขั้ว ครม.ครอบครัวสำคัญที่สุดในชีวิต

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินทางเข้าร่วมงานพิธีสมรสระหว่างนายธนาธร โล่ห์สุนทร สส.ลำปางพรรคเพื่อไทย และนางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ สส.ลำปาง พรรคประชาชน

ชื่นมื่น! 'ทักษิณ-พิธา' ร่วมงานแต่ง สส.ลำปาง เพื่อไทย-ประชาชน

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เดินทางมาร่วมพิธีฉลองมงคลสมรสระหว่างนายธนาธร โล่ห์สุนทร

รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?

ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา

'ธนกร' ค้าน 'ปชน.' แก้รธน.สุดซอย เตือนระวังโดนฟ้อง 157 ผิดกราวรูด

'ธนกร' ปักธงค้าน 'ปชน.' ชงแก้มาตรา 256 ชี้ตัดอำนาจ สว. ชัดขัดเจตนารมณ์ รธน. ทำเสียสมดุล 2 สภา หนักข้อสุดซอยเอื้อมแตะหมวด 1-2 พ่วงอำนาจองค์กรอิสระ เตือนระวังถูกฟ้อง 157 เจอผิดกราวรูด

ปธ.'รูทีนตีนตุ๊กแก' ลั่นตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา นิติบัญญัติ-บริหารต้องแยกกัน

'วันนอร์' ไม่หวั่นฝ่ายการเมืองเลื่อยขาเก้าอี้ประธานสภาฯ ย้ำเป็นอำนาจสมาชิกรัฐสภา ต้องแยกฝ่ายนิติบัญญัติ-บริหาร ชี้ตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา ลั่นหากต้องการเปลี่ยนเสนอญัตติมาได้

'นายแบกเพื่อไทย' ตบปาก 'นายกฯว่าว' โทษฐาน แนะ 'นายกฯอิ๊งค์' ใช้เวทีสภาฯ ลบคำครหาเรื่องโพย พึ่งพ่อ

นายอิราวัต อารีกิจ หรือ หมออั้ม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความว่า พิธา แนะนายกฯอิ๊ง ให้ใช้เวทีสภาฯ แส