'พิธา' สะดุ้ง 'ผู้ช่วยกรณ์' ชี้กฎหมายเลือกตั้งเขียนไว้โหดมาก 'หัวหน้าพรรค' อาจโดนคดีจำคุกถึง 5 ปี

'ผู้ช่วยกรณ์' เล่าตอนที่่กรณ์เป็นหัวหน้าพรรคต้องแบบความรับผิดชอบตรวจคุณสมบัติผู้สมัคร มีคนอยากลงสมัครหลายคนไม่ผ่านเกณฑ์คัดสรร ชี้กฎหมายเลือกตั้งเขียนไว้โหดมาก 'หัวหน้าพรรค' อาจโดนคดีได้โดยไม่ต้องมีใครแกล้ง จำคุกถึง 5 ปี

28 ก.ค.2566 - นายพัสณช เหาตะวานิช ผู้ช่วยดำเนินงานนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก หัวข้อ สิ่งที่ ‘หัวหน้าพรรค’ ต้องแบก!? มีเนื้่อหาดังนี้
.
เล่าให้ฟังครับ ตอนที่คุณ กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij ยังเป็นหัวหน้าพรรคอยู่ เรื่องนึงที่ทีมทุกคนต้องระวังมากที่สุดช่วงเลือกตั้งคือ “การตรวจคุณสมบัติผู้สมัคร”
.
กฎหมายเขียนไว้โหดมาก และผู้รับผิดชอบหนักสุดคนหนึ่งคือ “หัวหน้าพรรค” โดยเฉพาะหากมีการส่งผู้สมัครที่ 'ขาดคุณสมบัติ' หรือมี 'ลักษณะต้องห้าม' ลงสนามเลือกตั้ง
.
เชื่อมั้ยครับว่า มีคนอยากลงสมัครกับเราหลายคน “ไม่ผ่านเกณฑ์คัดสรร” เพราะไม่สามารถนำเอกสารราชการมายืนยันคุณสมบัติของตัวเองได้
.
ตอนนั้นขั้นตอนพื้นฐานในการตรวจสอบคือ
1. เช็คกับ กกต.ว่า ผู้สมัครทุกคนใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนหน้าครบถ้วนตามเงื่อนไขหรือไม่
.
2. เช็คกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่ามีประวัติอาชญากรรม เคยต้องคดีหรือไม่ เคยถูกพิพากษาจำคุกหรือไม่ เคยเข้าไปอยู่ในคุกจริงมั้ย สำคัญสุดคือ ประเภทคดีเป็นคดีอะไร
.
3. นอกจากทางกฎหมาย หลายพฤติกรรมเสี่ยงก็ถูกเช็ตและประเมินอย่างเป็นระบบเช่นกัน บูโรเป็นยังไง คบคนแบบไหน วุฒิต่างๆ ได้มาจริงตามที่กล่าวอ้างหรือไม่
.
จำได้เลยว่า ผู้สมัครหลายคนตัองไปคัดสำเนาคำพิจารณาคดีจากศาลมาเป็นหลักฐานให้กับพรรคว่า 'คดีสิ้นสุดแล้วจริง' ถึงจะได้ลง!
.
บางเคสจำได้ว่า ต้องรอสมัครวันสุดท้ายเลย เพราะความเข้นข้นของการตรวจสอบขั้นสุด
.
หัวหน้าทีมกฎหมายของพรรคทำงานหนักมาก เพราะนอกจากตรวจเอกสารแล้ว ยังมีการ ‘สอบปากคำ’ โดยตรงกับผู้สมัครอีกด้วย
.
คุณกรณ์เอง ช่วงนั้นต้องนั่งฟังการสอบปากคำ เพื่อความรัดกุมที่สุดด้วยแทบทุกรอบ
.
สิ่งที่ “หัวหน้าพรรค” แบกไว้นั้นหนักหนามากนะครับ
เพราะนี่คือสิ่งที่พรรคการเมืองต้องทำหน้าที่คัดสรรตัวแทนประชาชนที่ดีที่สุดในพื้นที่นั้นๆ มาให้ประชาชนเลือก
.
และยิ่งไปกว่านั้นหัวหน้าพรรคอาจจะโดนคดีได้โดยไม่ต้องมีใครแกล้งเลย ไม่ว่าจะเป็น..
.
พรป.พรรคการเมือง ม.56 ม.120
= จำคุกหัวหน้าพรรค 5 ปี
.
พรป.พรรคการเมือง ม.52 + ม.117
= จำคุก หัวหน้าพรรค + กรรมการบริหารพรรค 6 เดือน
.
พรป.เลือกตั้ง ส.ส. ม.151
= จำคุกตัวผู้สมัครเอง 1 - 10 ปี
.
หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าตรวจคุณสมบัติมาอย่างดี และเข้มงวดแล้วไปเซ็นรับรองให้ใครต่อใครที่มีคุณสมบัติต้องห้าม ให้ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งล่ะก็ น่าจะรอดยาก..

ทั้งนี้นายนครชัย ขุนณรงค์ ส.ส.ระยอง เขต 3 พรรคก้าวไกล ได้ประกาศลาออกจากสส.ภายหลังถูกตรวจสอบพบว่าขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 โดยยอมรับเคยต้องโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน ขณะที่กกต. อยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบ และรวบรวมพยานหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนส่งศาลรํฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา และมีคำสั่งให้นายนครชัย พ้นจากตำแหน่ง สส. คล้ายกระบวนการของนายสิระ เจนจาคะ อดีต สส.กรุงเทพฯ และมีคำสั่งให้ กกต.จัดการเลือกตั้งซ่อม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วุฒิสภา นัดถกรายงานเสนอ กกต. แก้กฎหมายเลือกตั้ง-พรรค ใช้โซเชียลหาเสียง

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ได้นัดประชุมในวันที่ 9 เม.ย. โดยมีวาระพิจารณาที่น่าสนใจ คือ การพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ สว.

กกต. วินิจฉัย 'โย พงศธร' ผู้สมัครก้าวไกล มีคุณสมบัติลงเลือกตั้งซ่อม สส.ระยอง

กกต.เผยแพร่คำวินิจฉัยยัน "พงศธร" ผู้สมัครกก.มีคุณสมบัติลงสมัครเลือกซ่อมส.ส.ระยอง เขต3 หลังถูกร้องยังเป็นผู้สมัครปาร์ตี้ลิสต์