"จรัญ" รับศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเวทีแจงสังคมในทุกประเด็น ชี้คนวิจารณ์โดยสุจริตเป็นขุมทรัพย์ให้ศาลพัฒนาปรับปรุง รับเคยมีตัวแทนต่างชาติกดดันศาลระหว่างพิจารณาคดี แนะตุลาการไม่หวั่นไหวตัดสินตามกระแสสังคมขอให้ยึดความจริง คดีสู่ศาลรธน.เดิมพันสูง
25 ก.ค.2566 - ที่โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการฯแจ้งวัฒนะ นายจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวตอนหนึ่งในการสัมมนาโครงการศาลรัฐธรรมนูญพบสื่อมวลชน ว่าศาลรัฐธรรมนูญ และทุกศาลไม่มีโอกาสพูดแก้ตัวต่อสังคมผ่านช่องทางสื่อของศาล ศาลไม่มีไอโอ ตุลาการได้สร้างประเพณีไว้ว่า อยากจะพูดอะไรต่อประชาชนก็เขียนลงในคำวินิจฉัยให้กระจ่างให้หมด แล้วไม่ต้องไปแก้ตัวใดๆกับประชาชน โดยขอให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องหรือสนใจรับเอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปวิเคราะห์ และจะวิพากษ์วิจารณ์หรือเสนอแนะโดยถูกต้องสุจริตเป็นธรรมก็จะเป็นประโยชน์ต่อศาล
ขอเสียงติติงเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของผู้ที่มีใจเป็นธรรมในสังคมเหมือนผู้ที่ชี้ขุมทรัพย์ให้กับศาลเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงเพราะไม่มีใครในโลกจะสมบูรณ์ หรือทำอะไรถูกหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ขอให้ทำโดยความบริสุทธิ ยุติธรรม ตรงไปตรงมาไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงไม่หลงเชื่อไปตามพยานหลักฐานเท็จ และใช้กฎหมายให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรม ถ้าเราสามารถพัฒนาระบบกฎหมายงานยุติธรรมของประเทศให้มั่นคงได้ก็จะมีส่วนช่วยให้ระบบการปกครอง การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของประชาชนมีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้นสื่อจึงเป็นตัวกลางให้แก่ผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะสื่อสารอธิบายชี้แจงให้กับคนจำนวนมากได้รับรู้ได้เข้าใจ นั่นจะทำให้ความเกลียดชัง ความโกรธแค้นได้เบาบางลง สังคมก็จะพออยู่ร่วมกันได้ ถ้าประเทศใดระบบศาลไม่เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนแล้วใครเดือดร้อน คนอยากจน ต่ำต้อย และอ่อนแอ จะเดือดร้อน
นายจรัญ กล่าวว่า สิ่งที่เรามองข้ามไปคือมหาอำนาจจากโลกเสรีประชาธิปไตย ทุนนิยมสุดโต่ง กำลังครอบงำการปกครองในระบอบประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการเมือง กฎหมาย หรืองานยุติธรรม มีที่ไหนศาลกำลังพิจารณาพิพากษาคดีสำคัญอยู่ส่งตัวแทนจากต่างชาติเข้ามาโดยบอกว่าเข้ามาเพื่อรับรู้ แต่ผลกระทบมันคือการกดดันผู้พิพากษาที่ทำภารกิจนั้นอยู่ เว้นแต่ท่านจะมั่นคงตรงไปตรงมาจริงๆไม่หวั่นไหว แต่แรงกดดันเหล่านี้เป็นไปได้ และเคยเป็นมาแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อคดีเข้าสู่ศาลแล้วต้องหยุดกดดัน จะต้องสกัดการกดดันศาลทุกรูปแบบ เพื่อหวังว่าเราจะได้คุณภาพของคำวินิจฉัยชี้ขาด เพราะเราก็ไม่มั่นใจว่าตุลาการศาลจะหวั่นไหวหรือไม่ ถ้าท่านหวั่นไหวก็จะทำงานง่ายตัดสินตามกระแสกดดัน แต่ฝั่งตรงข้ามที่ไม่มีกระแสหนุนหลังเขาจะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ หากไม่ตรงไปตรงมาคนในแวดวงตุลาการที่ดูแลองค์กรนี้อยู่ท่านไม่ปล่อยให้เนื้อแรงเจริญงอกงามในองค์กรของท่าน มะเร็งร้ายจะต้องถูกกำจัดไป
"กระแสกดดันในสังคมคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง ไม่รุนแรงเท่าคดีที่เข้ามาสู่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเดิมพันหรือผลของการแพ้ชนะที่ศาลรัฐธรรมนูญมหาศาล กระทบคนเป็นล้าน หลาย10 ล้าน กระทบสถาบันหลักของชาติ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ปกติและธรรมดาที่แรงกดดันของฝากฝ่ายต่างๆในสังคม จึงอยากให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตน เพราะแพ้ไม่ได้ นี่แหละครับจึงเป็นสถานะที่ยากลำบากของศาล "นายจรัญ กล่าว
นายจรัญ กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตามสื่อมวลชนจะต้องเป็นสื่อกลางที่จะเขื่อมระหว่างรัฐ กับประชาชน และประชาชนด้วยกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันสื่อจะต้องมีเสรีภาพเพื่อไม่ให้ตัวกลางหายไป ถ้าหายไปประชาชนก็จะถูกปลุกปั่นให้เป็นเครื่องมือของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล แล้วจะต้องเป็นตัวกลางระหว่างสองฝ่ายที่มักจะขัดแย้งกันเพื่อให้ไปสุสานกระบวนการยุติธรรมไม่ใช่ยุยงให้ลงถนนเพราะการลงถนนของประชาชนต้องเป็นเส้นทางสุดท้ายของสังคม เพราะฉะนั้นจะกลายเป็น Mob Rule (กฎหมู่) เป็นภัยอันตรายมหาศาลของระบอบเสรีประชาธิปไตย เป็นตัวบ่อนทำลายหลักของหลักธรรมาภิบาล และหลักนิติธรรมที่ทรงพลังที่สุด รวมถึงทำให้เกิดความสูญเสียในสังคม มีผู้วิจารณ์การเมืองบอกว่าถ้าเลือกตั้งใหม่จะเสียค่าใช้จ่าย 6 พันล้าน ซึ่งเป็นเรื่องเล็กมากถ้าเปรียบเทียบกับความล้มสลายทางเศรษฐกิจเป็นล้านล้านถ้าเกิด Mob Rule ซึ่งเสียหายทุกฝ่ายรวมทั้งม็อบเองก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการเดินถนน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เอ็ดดี้ อัษฎางค์' มีคำตอบให้! 'พิธา' ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูเพื่อไทย
เอ็ดดี้-อัษฎางค์ ยมนาค อินฟลูเอ็นเซอร์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูกับเพื่อไทย อัษฎางค์ ยมนาค มีคำตอบให้
ชาวบ้านเกาะเต่า ร้องผู้ตรวจฯ ชงศาลปค. เพิกถอนกฎกระทรวงห้ามออกโฉนดบนเกาะ
นายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบและมีความเห็นเสนอต่
'พิธา' คุยพรรคประชาชนแข่งเลือกตั้งมีแต่ชนะกับพัฒนา ไม่มีคำว่าแพ้
ที่จ.อุดรธานี แกนนำ สส. และผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน ร่วมเวทีปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 พ.ย. 2567 ซึ่งพรรคประชาชนได้ส่ง คณิศร ขุริรัง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก
'พิธา' เย้ยกลับทักษิณอย่าลืมผลเลือกตั้ง 66 ลั่นอุดรฯคือเมืองหลวงประชาธิปไตย
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาคณะก้าวหน้าและอดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีจากพรรคประชาชน
'พิธา' เผยไม่ได้เห็นต่าง 'ทักษิณ' เรื่องเปลี่ยนโครงสร้าง เหน็บอย่ามัวแต่พูด ถึงเวลาต้องทำแล้ว
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาคณะก้าวหน้าและอดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวระหว่างลงพื้นที่เป็นผู้ช่วยหาเสียงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร
ถึงคิว 'พิธา' ยกทัพตรึงอุดรฯ ร่วมงานลอยกระทง ขึ้นปราศรัย 3 เวทีใหญ่
ถึงคิว 'พิธา' ยกทัพตรึงอุดรธานี หลังโดน 'ทักษิณ-พท.' แย่งเรตติ้งสองวันติด ร่วมงานลอยกระทง ก่อนขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่สามจุดวันเสาร์