กสม.จี้ กอ.รมน.ภาค 4 หยุดการเผยแพร่ภาพ เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น โยง BRN

กสม. แนะ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า หยุดการเผยแพร่สื่อสร้างความเข้าใจผิดว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบ BRN ชี้ละเมิดสิทธิมนุษยชน

21 ก.ค. 2566 - นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)​เปิดเผยว่า กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้องเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ระบุว่า เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2565 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า) จัดกิจกรรม “พบปะกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ณ สโมสรนายทหารสัญญาบัตร กองพลทหารราบที่ 15 ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยมีผู้แทนส่วนราชการและผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประมาณ 500 คน กิจกรรมดังกล่าวมีการฉายวีดิทัศน์เกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีเนื้อหาเรื่องการเคลื่อนไหวของขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (BRN) โดยมีการนำภาพของบุคคลที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นมาประกอบ และใช้คำบรรยายภาพว่า “BRN ใช้กลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมต่อต้านโครงการพัฒนาพื้นที่ของรัฐ ควบคู่กับการลิดรอนอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายของรัฐ” ซึ่งการจัดทำและเผยแพร่วีดิทัศน์ที่มีเนื้อหาดังกล่าว เป็นการนำภาพเครือข่ายฯ ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและเป็นการใช้ปฏิบัติการข่าวสร้างทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง อันอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเครือข่ายฯ เกี่ยวข้องกับกลุ่ม BRN และเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เครือข่ายฯ ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง และเป็นการด้อยค่านักปกป้องสิทธิมนุษยชน จึงขอให้ตรวจสอบ

กสม. พิจารณาแล้ว เห็นว่า สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 32 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) โดยบุคคลจะถูกแทรกแซงความเป็นส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดต่อสื่อสารโดยพลการหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ ภาพบุคคลย่อมเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอันเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นส่วนตัว การถ่ายหรือนำภาพบุคคลไปใช้จะกระทำได้จะต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้นโดยชัดแจ้งเสียก่อน และรัฐจะต้องไม่ละเมิด จำกัด หรือแทรกแซงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งงดเว้นการกระทำที่รบกวน สร้างอุปสรรค ชี้นำ หรือบิดเบือนการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระของประชาชน ตลอดจนงดเว้นการตรวจตรา เฝ้าระวัง หรือตรวจสอบการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่ไม่คำนึงถึงหลักกฎหมาย หลักความจำเป็น และหลักความได้สัดส่วน

จากการตรวจสอบการจัดทำวีดิทัศน์ดังกล่าว ทราบว่า กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ในฐานะผู้ถูกร้อง ประสงค์จะใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อสำหรับการรายงานสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา โดยแสดงเนื้อหาที่มาจากการรวบรวมสถิติ การวิเคราะห์การก่อเหตุรุนแรง ปัจจัยในการก่อเหตุ และแนวโน้มสภาพการณ์การก่อเหตุ โดยนำภาพของผู้ร้องเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นที่ได้มาจากสื่อออนไลน์มาใช้ โดยปราศจากความยินยอมของบุคคลในภาพโดยชัดแจ้ง

ส่วนภาพบุคคลสมาชิกเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นที่นำมาประกอบการจัดทำวีดิทัศน์ยังปรากฏให้เห็นถึงตัวบุคคลอย่างชัดเจนโดยมิได้มีการปิดบังใบหน้าแต่อย่างใด อีกทั้งการจัดเรียงภาพดังกล่าวมีลักษณะต่อเนื่อง ประกอบกับการบรรยายที่อาจทำให้เข้าใจได้โดยทั่วไปว่าสมาชิกเครือข่ายฯ มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกลุ่ม BRN แม้ผู้ถูกร้องจะให้ข้อเท็จจริงว่าเป็นเพียงการฉายภาพเรียบเรียงติดต่อกันเท่านั้น โดยไม่ได้นำเสนอว่าสมาชิกของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับกลุ่มขบวนการ BRN อย่างไรก็ดี เห็นว่า หากผู้ถูกร้องไม่มีเจตนาจะให้ภาพของกลุ่มเครือข่ายฯ เชื่อมโยงกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเลือกใช้ภาพของเครือข่ายฯ ดังนั้น การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นโดยปราศจากเหตุอันสมควร และย่อมถือได้ว่าเป็นการจงใจเผยแพร่ภาพส่วนบุคคลต่อสาธารณะ ทำให้เครือข่ายฯ ได้รับความเสียหายและกระทบสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว ตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้

นอกจากนี้ การนำภาพการจัดกิจกรรมชุมนุมคัดค้านโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ซึ่งถือเป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ มาเป็นประเด็นเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ ยังเป็นการลดทอนความชอบธรรมในการใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายหรือโครงการพัฒนาของรัฐ อันเป็นการกระทำในลักษณะคุกคามหรือสร้างอุปสรรคทางอ้อมให้แก่เครือข่ายฯ ซึ่งเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วย จึงเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2566 จึงมีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า พิจารณาดำเนินการ สรุปได้ดังนี้

ให้ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า สอบสวนหาข้อเท็จจริงและดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมเนื้อหาข้อมูลและจัดทำสื่อดังกล่าว โดยต้องควบคุมกำกับให้สำนักอำนวยการข่าวกรอง และทุกหน่วยงานในสังกัด ตรวจสอบกลั่นกรองความถูกต้องเหมาะสมของข้อมูลและสื่อก่อนที่จะเผยแพร่หรือนำเสนอต่อสาธารณะ และดำเนินการให้ผู้ร้องและเครือข่ายฯ ได้รับการเยียวยา โดยทำลายและหยุดการเผยแพร่สื่อดังกล่าวทุกช่องทาง รวมทั้งให้ข้อเท็จจริงต่อสาธารณะว่าเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่ม BRN หรือกลุ่มผู้ก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่ผู้ร้องร้องขอ

นอกจากนี้ ให้ทบทวนมาตรการและกำหนดแนวทางปฏิบัติในการผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ ตลอดจนวิธีปฏิบัติการทางการข่าวที่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม หรือเป็นการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้แก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเรื่องการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนและแนวทางสันติวิธี รวมถึงการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กสม.ชงนายกฯทบทวนโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรภายในเขตอุทยานฯหวั่นกระทบสิทธิปชช.

กสม. เสนอแนะนายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนและชะลอพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตอุทยานแห่งชาติ หวั่นกระทบสิทธิของประชาชนในวงกว้าง

กสม.แนะตร.แก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีผู้ต้องขังถูกอายัดตัวกว่า 10 ปี

กสม. แนะ ตร. แก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินคดีอาญาผู้ต้องขังที่ถูกอายัดตัวนานกว่า 10 ปี เสนอเรือนจำงดเว้นการร้องทุกข์ในคดีลหุโทษ

กสม. ประกาศ 9 บุคคลและองค์กร ที่ส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

กสม. ประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 - 2567

กสม. ชื่นชมรัฐบาล เร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะบุคคลแก่ผู้ที่ยังมีปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงว่า ตามที่รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ไว้ในการประชุมระดับสูงว่าด้วยความไร้รัฐ (High-Level Segment on Statelessness) เ

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เย้ย ไส้เดือนถูกขี้เถ้า จะยกเลิกม.112 พอถูกหาเป็นพวก BRN จะฟ้องร้อง

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีพรรคประชาชน(ปขน.) จะดำเนินคดีกับผู้ที่กล่าวหาว่าปชน.เกี่ยวข้องกับขบวนการบีอาร์เอ็น ว่า

ทั่วโลกจับตา! 'คดีตากใบ' สะท้อนไทยล้มเหลว ปล่อยละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำ

แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย หวั่นคดีตากใบหมดอายุความ กลายเป็นใบเบิกทางละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ชี้ชัด ทั่วโลกจับตาดูอยู่ เชื่อจะเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบนเวทีสาธารณะระหว่างประเทศต่อเนื่อง