21 ก.ค. 2566 – พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เสียงส่วนมาก ไม่ได้สำคัญกว่าเสียงส่วนน้อย
จากกรณีที่ ส.ส. สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย บางคนได้ออกมาแทรกแซงการจัดตั้งรัฐบาลของประเทศไทย ว่าควรจะสนับสนุนเสียงส่วนมาก ให้เป็นรัฐบาลนั้น
เรื่องนี้ก็อยากจะทบทวนความจำให้ ส.ส. ต่างชาติ ทั้ง 2 คนนี้สักหน่อยครับ เพราะพวกเขาไม่น่าที่จะไม่รู้เรื่องเหล่านี้ได้
1.ทุกประเทศในโลกใบนี้ ย่อมมีวิธีบริหารประเทศให้เหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรม เพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจและความมั่นคง โดยเฉพาะในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ยิ่งต้องระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น พลาดไปแล้วจะแก้ไขได้ลำบากมาก
2.มาลองดูเรื่องเสียงส่วนมากของประเทศในซีกโลกตะวันตก ว่าแตกต่างหรือเหมือนกับประเทศไทย อย่างไรบ้าง
(1) มาดูสหรัฐตัวดีก่อน ตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
แม้จะได้รับเลือกเข้ามาด้วยเสียงข้างมากจากประชาชน (Poppular Vote) แต่ถ้าไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากตัวแทนมลรัฐต่างๆ (Electoral Vote)แล้ว ก็ไม่สามารถขึ้นเป็นประธานาธิบดีได้ เช่นเดียวกับระบบประเทศไทย ที่ประชาชนเลือก ส.ส. แต่รัฐสภาเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูเหมือนจะคล้ายคลึงกับสหรัฐ
(2) เสียงส่วนใหญ่ ถ้าได้ขึ้นบริหารประเทศแล้ว อาจไม่เหมาะสมกับความมั่นคงของประเทศ เสียงส่วนน้อยก็จะเข้ามาเป็นนายกฯ แทน เช่น จัสติน ทรูโด (นายกฯ แคนาดา) ขวัญใจคุณพิธา นายกฯ ฝรั่งเศส สเปน สวีเดน ฯลฯ
(3) เอาตัวอย่างชัดๆ เรื่องเสียงส่วนน้อยเข้ามาเป็นนายกฯ คือ สวีเดน ที่มีการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในโลก และยังเป็นประเทศที่มี NGOsมากที่สุดในโลกอีกเช่นกัน เพียงแต่ NGOsของเขา แม้จะได้รับเงินต่างชาติบ้าง แต่ก็ไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องภายในประเทศเลย
สวีเดน เป็นประเทศที่มีรัฐบาลเสียงข้างน้อยถึง 7 รัฐบาลติดต่อกันมา ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ทำไมถึงเป็นเช่นนี้
รัฐบาลชุดปัจจุบันของสวีเดน มีพรรคร่วม 3 พรรค คือ พรรค Moderate (70), พรรค Christian Democrat (22), พรรค Liberal (20) … 3 พรรค มีที่นั่งรวมกันเพียง 112 ที่นั่ง … มีพรรคพันธมิตร แต่ไม่เข้าร่วมรัฐบาล คือ พรรค Sweden Democrats (62) และ ส.ส. อิสระ (2) คอยค้ำประกันความมั่นคงให้พรรคร่วมรัฐบาล ทำให้พรรคร่วมรัฐบาล มีเสียงสนับสนุนในรัฐสภาทั้งสิ้น 176 เสียง ในขณะที่ ฝ่ายค้าน ซึ่งนำโดยพรรคที่มีที่นั่งมากที่สุดในสภา คือ พรรค Swedish Social Democratic (100) มีคะแนนเสียงรวมกับพรรคอื่นๆ รวม 173 เสียง จากที่นั่งทั้งหมด 349 ที่นั่ง (เลือกตั้ง 310 และแต่งตั้ง 39 ที่นั่ง)
ตอนนี้ ถ้าจะอ้างเรื่องเสียงส่วนมาก ก็จะต้องเข้าใจด้วยว่า เสียงส่วนน้อยก็มีความสำคัญ ไม่แพ้กันครับ ดังนั้นเสียงส่วนมากก็จะต้องทำตัวให้ เสียงส่วนน้อยยอมรับด้วยนะครับ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส้มส่อกระอัก! สนามใหญ่ 'อบจ.อุดรฯ' เพื่อไทยนำหน้า
ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี โดย นายศราวุธ จากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนนำ นายคณิศร จากพรรคประชาชน
'ชูศักดิ์' โล่ง ปลอดชนักล้มล้างการปกครอง
'ชูศักดิ์' มองเป็นสัญญาณดี ปม 'ศาล รธน.' ไม่รับคำร้อง 'พท.' ล้มล้างการปกครอง ชี้ รัฐบาลเดินหน้าทำงานได้แบบไม่กังวล
‘พล.ท.นันทเดช’ เปิดลึกข่าวร้าย..!! ‘อุ๊งอิ๊ง-ทักษิณ’ ตีตั๋วยาว!! | อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567
'เอ็ดดี้ อัษฎางค์' มีคำตอบให้! 'พิธา' ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูเพื่อไทย
เอ็ดดี้-อัษฎางค์ ยมนาค อินฟลูเอ็นเซอร์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูกับเพื่อไทย อัษฎางค์ ยมนาค มีคำตอบให้
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร