อดีตรองอธิการบดีมธ. อัดปากบอกไม่เห็นด้วยแก้ 112 แต่เข้าร่วมพรรคก้าวไกล!

8 ก.ค.2566 - รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Harirak Sutabutr ว่าหลังจากที่เราได้ตัวประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้วในที่สุด วันที่ 13 กรกฎาคมก็จะเป็นวันที่เราจะได้รู้กันว่า การลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีจะเสร็จสิ้นลงในการประชุมครั้งเดียวหรือหลายครั้ง หรือจะลงคะแนนกันไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงเดือนพฤษภาคมปีหน้า จนกว่าสมาชิกภาพของวุฒิสมาชิกจะสิ้นสุดลง อย่างที่มีคนชี้ช่องว่าทำได้เพื่อให้ได้คุณพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี

ขอย้อนกลับไปดูข้อตกลงครั้งสุดท้ายบ 4 ข้อ ระหว่างพรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทย ในวันก่อนวันเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

1.เสนอชื่อ นาย วันมูหะหมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานสภาคนที่ 2 โดยพรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคเป็นธรรม พรรคเพื่อไทยรวมพลัง และพรรคพลังสังคมใหม่ พร้อมให้การสนับสนุนตามข้อตกลงนี้

2.บุคคลที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมผลักดันวาระที่ทำให้รัฐสภาไทยก้าวหน้า ให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเป็นของประชาชน

3.ข้อตกลงเรื่องตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพระหว่าง 8 พรรคในการจัดตั้งรัฐบาล เสนอและสนับสนุน นาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี อย่างสุดความสามารถ โดยดำเนินการตามข้อตกลง MOU ที่ได้แถลงร่วมกันเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566

4.พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยยืนยันร่วมกันให้ความเห็นชอบกฎหมายสำคัญเพื่อประชาชน ซึ่งรวมถึงการนิรโทษกรรมคดีแสดงออกทางการเมือง และการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปกองทัพ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ร่างพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก และร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามที่พรรคก้าวไกลเสนอ

ข้อ 1 เป็นเรื่องการกำหนดตัวประธานสภาและรองประธานสภาคนที่ 1 และคนที่ 2 ว่าจะเป็นของพรรคใด

ข้อ 2 เป็นข้อความที่เขียนไว้เพื่อความเท่ ตามแบบฉบับของพรรคก้าวไกล

ข้อ 3 เป็นข้อตกลงที่แสดงให้เห็นว่า พรรคก้าวไกลยอมลงให้พรรคเพื่อไทยเพื่อให้พรรคเพื่อไทย "สนับสนุน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างสุดความสามารถ" แสดงว่าพรรคก้าวไกลกลัวมากว่าจะไม่ได้เป็นรัฐบาล

ข้อ 4 เป็นข้อที่พรรคก้าวไกลต้องการผูกมัดพรรคเพื่อไทยให้สนับสนุน กฎหมายนิรโทษกรรมคดีแสดงออกทางการเมือง การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปกองทัพ เพื่อยุบสภากลาโหม และให้การแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งต่างๆในกองทัพกลับมาเป็นอำนาจของฝ่ายการเมือง การจัดทำกฎหมายกฎอัยการศึกฉบับใหม่เพื่อตัดอำนาจกองทัพ และสุดท้ายคือการยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เพื่อแลกกับการยอมให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นคนที่พรรคพื่อไทยเลือก

ที่ต้องจับตาดูคือ กฎหมายนิรโทษกรรมคดีแสดงออกทางการเมือง ซึ่งแม้เขียนไว้กลางๆ แต่เชื่อได้เลยว่าจะต้องรวมถึงผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 อย่างแน่นอน และก็เชื่อได้ด้วยว่า พรรคก้าวไกลต้องผลักดันให้มีการแก้ไขมาตรา 112 และหากเป็นไปได้ก็จะยกเลิก และจะพยายามต่อไปอย่างไม่ลดละจนกว่าจะสำเร็จ ซึ่งพรรคเพื่อไทยก็ต้องรู้แต่แกล้งทำเป็นไม่รู้ เพราะพรรคเพื่อไทยต้องการเปิดทางเลือกในการได้เป็นรัฐบาลไว้ทุกทางเลือก ไม่ว่าจะร่วมกับพรรรร่วมอีก 7 พรรค หรือย้ายขั้วไปร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาลเดิมก็ตาม

ต้องขอชมเชยพรรครวมไทยสร้างชาติที่แสดงจุดยืนอย่างชัดเจน แม้จะรู้ว่าแพ้แน่ๆแต่ก็ยังส่งคุณวิทยา แก้วภราดัย เข้าแข่งขันเพื่อเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 เพราะรู้ดีว่าผู้ที่พรรคก้าวไกลเสนอมีทัศนคติอย่างไรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่างจากพรรคร่วม 8 พรรค ที่ดูเหมือนจะให้ความสำคัญกับการได้ร่วมรัฐบาลมากไว้เหนือสิ่งอื่นใด แต่ก็ไม่ว่ากัน ไม่ว่าจะมีความจงรักภักดี หรือเห็นความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่ ทุกคนย่อมมีเสรีภาพที่จะเชื่อหรือรู้สึกอย่างไรก็ได้ แต่พรรคการเมืองหลายพรรค ปากบอกไม่เห็นด้วยกับการแก้มาตรา 112 ปากบอกมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่กลับเข้าร่วมกับพรรคการเมืองที่เป็นที่ทราบดีว่า มีทัศนคติอย่างไรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ฉะนั้น ก็แสดงตัวกันให้ชัดเจนกันเลยดีกว่า อย่าเอาแต่อ้อมๆแอ้มๆกันอยู่เลย ประชาชนเขาจะได้ตัดสินใจได้ถูกในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอาแล้ว 'อิ๊งค์' มีสิทธิ์หลุดเก้าอี้นายกฯ เซ่นตั้ง 'เลี้ยบ' นั่งรองประธานที่ปรึกษาของนายกฯ

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า “รัดแน่นกว่าเดิม”

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 43)

ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

'วิสุทธิ์' วอน สว. 80-90 เสียง หนุนร่างแก้รธน. ตัดอำนาจวุฒิสภาให้ประเทศเป็นปชต.

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์กรณีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น

'วรชัย' พูดเต็มปาก! 'ชวน' ไม่ควรว่าทักษิณ ถ้ายังกวาดบ้านตัวเองไม่สะอาด

นายวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ทำนองว่า ตัวเองเป็นนักการเมืองรุ่นเก่าที่ไม่โกง