‘ดร.ปริญญา’ ชี้การสลายการชุมนุมชาวบ้านจะนะ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยุฟ้อง'นายกฯ-ผบ.ตร.'เป็นคดีตัวอย่าง

‘ดร.ปริญญา’ ชี้การสลายการชุมนุมชาวบ้านจะนะ ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลไม่ชอบด้วยกฎหมาย ระบุต้องดำเนินการตามขั้นตอนพรบ.ชุมนุมสาธารณะ 5 ขั้น แต่กลับไม่ดำเนินการ ยุฟ้องนายกฯ-ผบ.ตร.เป็นคดีตัวอย่าง

9 ธ.ค.2564 -ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนสลายการชุมนุมของกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น มีเนื้อหาดังนี้

#การสลายการชุมนุมชาวบ้านจะนะ ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อวานนี้ #ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ครับ

ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 มาตรา 7 วรรคสอง จะกำหนดไว้ว่า หน้าทำเนียบรัฐบาลจะเป็นพื้นที่ที่ดำเนินการชุมนุมสาธารณะไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไปใช้อำนาจสลายการชุมนุมได้เลย หากต้องดำเนินการตาม มาตรา 21, มาตรา 22, มาตรา 23 และมาตรา 24 จนครบถ้วนก่อน ซึ่งโดยสรุปขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้ครับ

1.#ต้องแจ้งผู้ชุมนุมให้แก้ไขก่อน (ม.21 วรรคหนึ่ง(2)) ซึ่งก็คือให้ย้ายไปชุมนุมสถานที่อื่น

2.ถ้าผู้ชุมนุมไม่ย้ายที่ชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องไป #ร้องขอต่อศาลให้สั่งเลิกการชุมนุม (ม.21 วรรคสอง)

3.ถ้าศาลเห็นว่าเป็นการชุมนุมโดยมิชอบด้วยกฎหมายและสั่งให้เลิกชุมนุม ก็ต้องไป #ปิดคำสั่งศาลและแจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบ (ม.22 วรรคสี่)

4.ถ้าผู้ชุมนุมไม่เลิกชุมนุมก็ให้ประกาศเป็น “พื้นที่ควบคุม”  และ #กำหนดเวลาให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ (ม.23)

5.เมื่อกำหนดเวลาครบแล้วจึงจะถือว่าผู้ชุมนุม “กระทำผิดซึ่งหน้า” แล้ว #ถึงจะดำเนินการจับกุมผู้ชุมนุมได้ (ม.24)

และแม้จะจับกุมด้วยข้อหาฝ่าฝืนประกาศตาม พรก.ฉุกเฉิน จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ห้ามมิให้มีการชุมนุม แต่ พรก.ฉุกเฉินมิได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสลายการชุมนุม ว่าง่ายๆ คือถ้าจะการสลายการชุมนุม ที่เป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธอันเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าด้วยเหตุผู้ชุมนุมมีการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมายใด ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ 5 ขั้นนี้ ซึ่งมี #ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการไปขอคำสั่งศาลให้สั่งเลิกการชุมนุม จึงจะสลายการชุมนุมได้ครับ

แต่การสลายการชุมนุมของชาวบ้านจะนะ สงขลา ซึ่งเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อวานนี้ (6 ธันวาคม 2565) ไม่มีการดำเนินการไปขออำนาจศาลตามมาตรา 22  ทั้งไม่มีการดำเนินการตามมาตรา 23 และมาตรา 24 แต่ประการใด ผู้ชุมนุมจึงยังมิใช่ “ผู้กระทำผิดซึ่งหน้า” ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะไปใช้กำลังสลายการชุมนุมและจับกุมได้เช่นนี้ครับ

การสลายการชุมนุมชาวบ้านจะนะ #จึงเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และยิ่งเป็นการจับกุมเพื่อให้ชาวบ้านหยุดเคลื่อนไหวเพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดี ก็ยิ่งมิชอบด้วยกฎหมายหนักเข้าไปอีก เพราะเป็นการสลายการชุมนุมและจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐจะเอาการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของตนไปต่อรองกับการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนได้อย่างไร

และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกครับ ภายใต้รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การสลายการชุมนุมไม่มีการไปขอคำสั่งศาลเลย จึงน่าจะมีการดำเนินคดีให้เป็นคดีตัวอย่างครับ เพื่อมิให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้อำนาจเกินเลยกฎหมายกับประชาชนอีกครับ

ฟ้องศาลปกครองก่อน แล้วค่อยไปฟ้องศาลอาญาต่อก็ได้ครับ ฟ้อง #นายกรัฐมนตรี ซึ่ง #เป็นผู้บังคับบัญชาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติเป็นจำเลยด้วยก็ยิ่งดี เพื่อมิให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐบาลทำอะไรแบบนี้อีกครับ

#ท่านเจ้าหน้าที่ตำรวจโปรดเคารพกฎหมายด้วยครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คาดการณ์ดวงชะตาบุคคลสำคัญ 'ลุงตู่' เสียอะไรได้กลับมา 'ทักษิณ' ทุกข์ระทม 'อุ๊งอิ๊ง' ถูกบีบเดินทางแคบ

.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี หลังจากผ่านปรากฎการณ์ต้องคลาดคลาพิจารณาให้เสียดายคือหลังเลือกตั้ง14พฤษภาคม2566ลาออกจากทุกตำแ

เผยผลการตรวจสอบโครงการอุตสาหกรรมจะนะ ขาดการมีส่วนร่วม แนะศอ.บต. แก้ไข

กสม. เผยผลการตรวจสอบโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ จ.สงขลา ระบุขาดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย แนะศอ.บต. แก้ไข

'ปริญญา' ชี้เป้าจับตา 'กกต.' ยุบเพื่อไทยมาตรฐานเดียวยื่นก้าวไกลหรือไม่   

'ปริญญา' มองการตีความคำว่า 'ชี้นำ-ครอบงำ' กว้าง อยู่ที่ 'กกต.-ศาลรธน.' ตัดสิน หลังคำร้อง 'ยุบเพื่อไทย' ถูกรับไว้ จับตาเดินตามแนวก้าวไกลหรือไม่

นับถอยหลังคดีตากใบ! 'ปริญญา' ชี้บทพิสูจน์ครั้งใหญ่ความเชื่อมั่นยุติธรรม

“ปริญญา” ยันต้องมีความยุติธรรม ถึงจะสร้างสันติภาพชายใต้ได้ ชี้ 'คดีตากใบ' แค่เงินเยียวยาไม่พอ รัฐบาลต้องทำเต็มที่ นำตัวผู้ต้องหากลับมาดำเนินคดี  โยนคำถามใหญ่ ขาดอายุความทำอย่างไรต่อ

มธ. จัดเสวนารุมสับระบบเลือก สว.ชุดใหม่ เป็นปัญหามากที่สุด ซับซ้อน ทำให้งงอย่างจงใจ

ศูนย์นิติศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการ “การเลือก สว. และประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับอนาคตประชาธิปไตยไทย” เนื่องในงานรำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535

'บ่อน้ำ' ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของอาจารย์ปริญญา

อาจารย์ปริญญา จบกฎหมายมหาชน จากเยอรมัน จึงน่าจะเป็นเหตุผล ที่ทำให้ อาจารย์ มักแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับกฎหมายของประเทศไทย อยู่หลายๆครั้ง ทำเหมือนไม่รู้ว่า “เมื่อเป็นคนไทยทำผิด ก็