กลุ่มราษฎรหยุดเอเปก 2022 ยื่นศาลปกครองฟ้องกลับตำรวจ ปมสลายการชุมนุมประชุมเอเปกปี65 เรียกค่าเสียหายรวม 12 ล้านบาท หวังเป็นบรรทัดฐานหยุดใช้ความรุนแรง พร้อมแช่งแรงเผาพริกเผาเกลือ
05 ก.ค.2566 - ที่ศาลปกครอง กลุ่มราษฎรหยุด APEC 2022 ได้จัดกิจกรรมยื่นฟ้องกลับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยได้ส่งทนายความของกลุ่มฯ เข้ายื่นต่อศาลปกครองในกรณีที่เหตุการณ์การสลายการชุมนุมกลุ่มราษฎรหยุด APEC 2022 เมื่อวันที่ 18 พ.ย.2565 ในระหว่างที่ประเทศเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเป็นการสลายการชุมนุมที่รุนแรง และมีผู้ได้รับบาดเจ็บและถูกดำเนินคดีจำนวนมาก
ทนายกลุ่มฯ กล่าวว่า การยื่นฟ้องคดีปกครองในวันนี้หลักการสำคัญคือ การสร้างบรรทัดฐานให้มีการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ และตำรวจในการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในการชุมนุมว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และถูกต้องตามหลักการสากลหรือไม่ ซึ่งตามข้อเท็จจริงที่ผู้ฟ้องเล่านั้น พบว่าเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2565 ซึ่งปัญหาของการชุมนุมและการปิดกัดวันนั้น เริ่มตั้งแต่คำสั่งที่ว่าตำรวจไม่ให้ผู้ชุมนุมเดินขบวนไปที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์มีปัญหาความไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่แรก พื้นที่เส้นทางที่เดินไป หรือแม้แต่บริเวณศูนย์ประชุมแห่งชาติฯก็ไม่ได้เป็นพื้นที่ต้องห้ามไม่ให้ชุมนุม แต่มีเพียงเงื่อนไขที่ว่าห้ามไปชุมนุมปิดกั้นการเข้าออก หรือรบกวนการประชุม การที่เราเดินไปจากลานคนเมืองไม่ได้เป็นพื้นที่ที่ต้องห้าม แต่ว่าคำสั่งกับการห้ามเคลื่อนขบวนทั้งหมด
หลังจากที่ผู้ชุมนุมยืนยันใช้สิทธิเสรีภาพก็เริ่มเดินไป สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือความรุนแรง เอาเครื่องมือกีดขวางมาปิดกั้น และการใช้กำลังกับผู้ชุมนุม ซึ่งสิ่งที่ผู้ชุมนุมต้องการจะฝ่าไปก็คือการยืนยันว่าตนเองมีเสรีภาพที่จะชุมนุมได้ตามกฎหมาย และรับรองไว้ แต่ถูกปฏิบัติด้วยความรุนแรง การใช้กระสุนอย่าง การทุบตีรุมเตะต่อย การกระทืบ ด่าทอด้วยถ้อยคำที่รุนแรง รวมถึงการขวางปาสิ่งของต่างๆ และฉุกกระซากลากตัวผู้ชุมนุมไปนั้นก็มีการดำเนินคดีในท้ายที่สุดล้วนเป็นการปฏิบัติไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ชุมนุม และไม่เป็นไปตามแผนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเขียนไว้ รวมถึงหลักการสากลที่สหประชาชาติกำหนดไว้ ทั้งเรื่องแนวทางการใช้กำลัง หรือแม้แต่ข้อกำหนด หรือแนวทางเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกสถานที่ชุมนุม ซึ่งต้องเคารพและให้การชุมนุมบรรลุวัตถุประสงค์กับความต้องการที่จะสื่อสารได้ ซึ่งสิ่งที่ผู้ชุมนุมทำวันนั้นเพื่อต้องการที่จะสื่อสารกับผู้ที่มาประชุม แต่การที่ตำรวจปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมทำให้ไม่สามารถสื่อสารไปยังผู้ประชุมได้ และจบลงด้วยความรุนแรง
การฟ้องในวันนี้จึงเพื่อเป็นการตรวจสอบให้ 1.เรียกร้องให้มีการชดเชยเยียวยา เพราะที่ผ่านมาผู้ชุมนุมยังไม่ได้รับการเยียวยาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึงไม่มีการชี้แจงถึงการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ 2.เรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการที่เกี่ยวข้องได้มีการทบทวนปรับปรุงในการดูแลการชุมนุม ต้องมีการกำกับควบคุมไม่ให้ใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม เป็นการสร้างบรรทัดฐานรับรองการชุมนุมในครั้งต่อๆไปด้วย ซึ่งค่าเสียหายที่เราเรียกไปจำนวนผู้เสียหาย 19 คน รวม 12 ล้านบาท มีหายเสียหายทั้งชดเชยต่อการบาดเจ็บ ค่าเสียหายต่อสิทธิเสรีภาพที่ถูกละเมิดไป และทรัพย์สินที่เสียหาย โดยค่าเสียหายที่สำคัญคือค่าเสียหายต่อสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม ซึ่งเราเรียกไปคนละ 150,000 บาท แต่อย่างที่บอกว่าความเสียหายนี้มันตีเป็นมูลค่าไม่ได้ เพราะเสรีภาพตรวจนี้มันเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อระบบประชาธิปไตย แต่การเรียกค่าเสียหายก็เพื่อเป็นบรรทัดฐานว่ารัฐและเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องใช้ความระมัดระวังและให้ความเคารพต่อเสรีภาพการชุมนุมของประชาชน ไม่ปล่อยให้เกิดความรุนแรงเช่นนี้อีก
นายพายุ บุญโสภณ หรือพายุ ดาวดิน ผู้ชุมนุมร่วมกับกลุ่มราษฎรหยุดเอเปก 2022 และเป็นผู้สูญเสียดวงตาจากเหตุการณ์ กล่าวว่า ตนเองคือหนึ่งคนที่ทำงานกับชาวบ้าน เรื่องที่ดิน เรื่องธรรมชาติ และยังทำงานกับคนรุ่นใหม่ เรื่องโครงสร้าง ความเป็นธรรม จึงรวมกันมาคัดค้านการหารือนโยบาย BCG ในการประชุมเอเปก เพราะเป็นนโยบายที่ไม่เป็นธรรม ฟอกเขียวกลุ่มทุนไม่ต้องรับผิดชอบต่อการขูดรีดชาวบ้าน โดยใช้การชุมนุมซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่เรามี เป็นการชุมนุมตามปกติ ทำตามกฎกติกาของการชุมนุมที่วางไว้ มีกาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ว่าจะทำอะไร มีอุปกรณ์อะไร ซึ่งมีเพียงป้ายผ้า และเครื่องเสียง แต่สุดท้ายก็มีความรุนแรงเกิดขึ้น จากน้ำมือของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยไม่มีการแจ้งเตือน ไม่มีการขออนุญาตสลายการชุมนุม แต่อ้างว่า เป็นการจับกุมคนที่ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น ทั้งๆ ที่เราไม่มีอาวุธ ไม่มีความรุนแรง ดูแลชาวบ้าน และคอยดูแลไม่ให้เกิดความรุนแรงด้วยซ้ำ
“สุดท้ายก็โดนกระทำ และไม่ใช่ครั้งแรกที่เราถูกกระทำ แต่เกิดขึ้นหลายครั้งในสังคม แต่ครั้งนี้เราเห็นว่าถึงเวลาที่ฝ่ายรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมาฟ้องต่อศาลปกครอง เราอยากให้เกิดบรรทัดฐานขึ้นในสังคม เพราะเราคือประชาชนที่ใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพที่ทุกคนพึงมี พึงกระทำได้ ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน แต่ออกมาแล้วชาวบ้านโดนตี โดนทำร้าย และหลังจากนั้นก็ไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้อีกเลย” นายพายุ กล่าว
น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์ กล่าวว่า การที่มายื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้เกิดกระบวนการเอาผิดและเกิดการเยียวยาความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งกับร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะประชาชนเกิดความกลัวในการใช้สิทธิเสรีภาพตาม ระบอบประชาธิปไตย ตามที่ควรจะได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ นับเป็นความเสียหายพอๆ กับความเสียหายทางร่างกายที่หลายคนเจอ ดังนั้นจึงต้องมีคนออกมารับผิดชอบ และต้องออกมาบอกว่า สิ่งที่รัฐกระทำเช่นนี้ผิดต่อประชาชนอย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบริเวณข้างศาลปกครองได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมกว่า 20 คนเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างทนายความเข้ายื่นฟ้องกับศาล ทั้งการแสดงละครที่เกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่ 18 พ.ย.2565 การเผารูปภาพความรุนแรงในการชุมนุมนั้น การเผาพริกเผาเกลือ และการอ่านแถลงการณ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ขรก.ฝ่ายศาลปกครอง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ 3 ราย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
ชาวบ้านเกาะเต่า ร้องผู้ตรวจฯ ชงศาลปค. เพิกถอนกฎกระทรวงห้ามออกโฉนดบนเกาะ
นายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบและมีความเห็นเสนอต่
ศาลปกครองสูงสุด ปิดเงียบผลชี้ขาดคดีบิ๊กโจ๊ก สั่งเก็บหลักฐานฟันสื่อละเมิดอำนาจศาล
นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
จบแล้วบิ๊กโจ๊ก! สะพัด ศาลปกครองสูงสุด ชี้คำสั่ง 'ให้ออกจากราชการ' ชอบด้วยกฎหมาย
ที่ศาลปกครองกลาง ถ.เเจ้งวัฒนะ มีการประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยนายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุม
ลุ้นระทึก!ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดถก ปมคดี 'บิ๊กโจ๊ก' ถูกให้ออกจากราชการ
ที่ศาลปกครองกลาง ถนนเเจ้งวัฒนะ นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด
อธิบดีกรมที่ดิน ยันคำแถลงคกก.สอบเขากระโดง ไม่มีฟอกขาว ยึดข้อกฎหมายไม่ใช้ดุลพินิจ
นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวชี้แจงถึงกรณีการวิพากษ์วิจารณ์ผลสรุปกรมที่ดินกรณีที่ดินเขากระโดง ว่า ในส่วนของกรมที่ดินทำ ทำอยู่สามส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมายไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ