อดีต กสม. จี้นายกฯ รับผิดชอบสลายม็อบจะนะ-ปล่อยผู้ถูกควบคุมตัวทันที

7 ธ.ค.2564 - นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า การสลายการชุมนุมชาวบ้านจะนะ #ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กลุ่ม #จะนะรักษ์ถิ่น ที่ชุมนุมอย่างสงบบริเวณหน้าทำเนียบเมื่อคืนวันที่ 6 ธันวาคม ถือ #เป็นการกระทำที่น่าละอายและสมควรถูกประณาม

การชุมนุมดังกล่าวของประชาชนเป็นเพียงการทวงถามสัญญาจากรัฐบาลให้ทำตามบันทึกข้อตกลงผลการเจรจาการแก้ไขปัญหาระหว่างกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นกับผู้แทนรัฐบาล ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ซึ่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

#การชุมนุมโดยสงบเป็นสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญและกติกาสากลด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง การสลายการชุมนุมจะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุบ่งชี้ว่าการชุมนุมจะนำไปสู่ความรุนแรงและเกิดความเสียหายต่อสาธารณะ การสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อคืนวันที่ 6 จึงเป็นการใช้อำนาจเกิดสมควร ขาดความชอบธรรมและเป็นเรื่องน่าละอายอย่างยิ่ง

ที่ผ่านมารัฐบาลไทยให้คำมั่นต่อนานาประเทศในเรื่องการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการชาติด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งหนึ่งในเรื่องสำคัญที่รัฐบาลให้คำมั่นคือ การปกป้องนักสิทธิมนุษยชนและการยุติการฟ้องกลั่นแกล้งหรือฟ้องปิดปากนักปกป้องสิทธิมนุษยชน แผนปฏิบัติการชาติยังเน้นย้ำเรื่องการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากธุรกิจ แต่ปัญหาคือหน่วยงานรัฐไม่เคยทำตามสัญญา

โครงการสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ทำให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างรัฐกับชาวบ้านอย่างต่อเนื่องยาวนาน ชาวบ้านหลายคนถูกคุกคามโดยกลุ่มทุน นักการเมือง และผู้มีอิทธิพลในพื้นที่โดยหน่วยงานรัฐแทบไม่สนใจและแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ทะเลจะนะเป็นความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลใน จชต. ที่ชาวบ้านร่วมกันปกป้อง ขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ที่กลุ่มทุนโดยการสนับสนุนจากรัฐมุ่งหวังจะใช้ประโยชน์เพื่อผลทางธุรกิจในนามของการพัฒนา

#นายกรัฐมนตรีต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อผู้ชุมนุมซึ่งส่วนมากเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง และเป็นผู้สูงอายุ โดยยกเลิกการตั้งข้อกล่าวหา ปล่อยผู้ถูกควบคุมตัวทั้งหมดโดยทันที ปฏิบัติตามคำมั่นที่ได้ให้ไว้กับประชาชน พร้อมทั้งชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น และให้หลักประกันว่าการชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่รัฐบาลและหน่วยงานรัฐต้องให้ความเคารพและคุ้มครอง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์

เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม

กลุ่มเยาวชนรักษ์โลก The Youth Fund ผนึก ทช.-เอสซีจี เปิดตัวโครงการใหม่ปกป้องทะเลไทย

กลุ่มเยาวชน The Youth Fund ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ Marine Saver Mission สานต่อโครงการ Nets up ตอกย้ำความสำคัญของนวัตกรรมและความยั่งยืนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อม