20 มิ.ย. 2566 – นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กมีเนื้อหาดังนี้
ผลประโยชน์ของประเทศ
วันนี้ขอพูดเรื่องการจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับเมียนมา. ที่กระทรวงการต่างประเทศจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน ที่ผ่านมา
การจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการคือ informal meetion เป็นการประชุมที่ไม่อยู่ในกรอบของอาเซียน และไทยได้เคยแจ้งอาเซียนทราบมาก่อนแล้วว่า ไทยจะจัดให้มีการประชุมที่เรียกว่า track 1.5 ไม่เปฺ็นทางการ. และไทยเคยจัดประชุมเช่นนี้มาก่อนหน้านี้สองครั้งแล้ว. และรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียก็เคยมาร่วมประชุมดังกล่าว
ไม่ได้เป็นการเริ่มนโยบายใหม่. แต่ทำเรื่องที่ริเริ่มไว้และค้างคาอยู่ให้เสร็จ. ปูทางให้รัฐบาลใหม่ได้เดินบนกลีบกุหลาบ ด้วยการเมืองระหว่างประเทศที่สร้างสรร ไม่เปฺ็นศัตรูกับใคร. และไม่ผลักมิตรเป็นศัตรู
การสู้รบในเมียนมาเริ่มรุนแรง มีผู้อพยพหนีภัยการสู้รบเข้ามาในไทยและอินเดียจำนวนมาก. มีการลักลอบส่งอาวุธให้กลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลเมียนมา. จนจะกลายเป็นการสร้างประชาธิปไตยบนซากศพของเพื่อนมนุษย์
หากการสู้รบขยายตัว. จะตามมาด้วยการปิดด่านชายแดนที่กระทบต่อการค้าตามแนวชายแดนของทั้งสองประเทศ. คนไทยต้องเดือดร้อนด้วย
ถ้ารัฐบาลใหม่ไม่ชอบแนวทางนี้. ไม่อยากผูกสัมพันธ์อย่างสร้างสรรกับเมียนมา อยากกดดัน. อยาก isolate เมียนมา อยากแซงชั่นเมียนมาอย่างที่ตะวันตกต้องการ. ก็เป็นการตัดสินใจของรัฐบาลใหม่
การจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการเช่นนี้ เป็นการประชุมที่ไม่มีประธานในการประชุม. ไม่มีวาระการประชุม ลักษณะการประชุมเป็นแบบฟรีสไตล์. ใครใคร่พูดอะไร. พูด. ใครใคร่ถาม ถาม ในบรรยากาศสบายๆ. ไม่มีโต๊ะประชุม. ไม่มีการกดดันกัน
การประชุมในครั้งนี้มีประเทศต่างๆส่งผู้แทนมาร่วมประชุม 9 ประเทศ. มีทูตพิเศษจากจีนและอินเดียมาร่วมในการประชุมด้วยในฐานะเพื่อนของเมียนมา Myanmar Friends
ยืนยันว่าการประชุมครั้งนี้ ไม่ใช่การประชุมในกรอบของอาเซียน.และไม่ใช่การจัดประชุมเพื่อตัดหน้าหรือชิงดีชิงเด่นกับใคร. เป็นความพยายามของไทยในการแสวงหาหนทางและโอกาสในการช่วยแก้ปัญหาของ
เมียนมาและดึงเมียนมาให้กลับมาสู่ครอบครัวอาเซียน. เป็นการแสวงหาทางออกทางการเมืองที่ต้องแยกออกจากการทหารและการสู้รบ
การประชุมในลักษณะนี้เป็นเสมือนความพยายามในการสร้างสะพานจากทั้งสองฝั่งแม่น้ำ. ต้องหาจุดร่วม จุดที่ตั้งของตอม่อสะพานจากทั้งสองฝั่งให้ตรงกัน. เพื่อสะพานจะสามารถบรรจบตรงกันได้กลางแม่น้ำโดยไม่คลาดเคลื่อน
ความพยายามของไทยในการผูกสัมพันธ์. Engagement คือ ทุกฝ่ายต้องได้มีโอกาสพูด. อธิบายข้อจำกัด ซึ่งจะเกิดความไว้วางใจ ความเชื่อใจ Trust.
และมีสัญญาณที่ดีมากจากการประชุมในครั้งนี้
ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในการกีดกันเมียนมาออกไปจากครอบครัวอาเซียน. ต้องไม่ชี้หน้าใครว่า.” มึงทำผิด ต้องทำอย่างกู. กูทำถูก” ต้องไม่สั่งให้ใครทำอะไร. เพราะทุกประเทศมีอธิปไตยของตนเอง ต้องไม่เอามาตรฐานของตัวเองไปตัดสินใคร มิเช่นนั้น ความขัดแย้งและสงครามจะไม่สื้นสุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' ฟาด 'จานบูด' มโนละเมอเพ้อพก 'แม้ว' ได้กลับบ้านเพราะส้มชนะเลือกตั้ง
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า
'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เห็นนักการเมืองเกรงใจกัมพูชาเรื่องเกาะกูด แล้วรู้สึกอเนจอนาถใจ สิ้นไร้ไม้ตอก
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า อเนจอนาถ จะมีใครรู้สึกเหมือนผม
'ธีระชัย' ชำแหละกต.ก่อคำถามคาใจ ไม่บอกว่าถ้าเจรจาตาม MOU44 เสี่ยงเสียเกาะกูด 99%
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานร่วมศูนย์นโยบายและวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า
'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' แจงยุค 'ลุงตู่' เจรจา 'เกาะกูด' 3 แนวทาง ไม่มีแรงต้านเหมือนนักการเมือง
8พ.ย.2567-นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าบูรณภาพกับพลังงานอะไรมาก่อน
'มาริษ' เผยไทยพร้อมต่อยอดความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ หลังได้ประธานาธิบดีคนใหม่
นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.การต่างประเทศ กล่าวถึงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอย่างไม่เป็นทางการ ภายหลังผลการนับคะแนนการเลือกตั้ง นายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ 267 คะแนน พร้อมประกาศชัยชนะ
'หม่อมกร' เห็นพ้อง 'ปานเทพ' ตอกย้ำ กต.แถลง MOU 44 ขัดกับพระบรมราชโองการโดยชัดแจ้ง
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่าวันนี้ปรากฎหัวข้อข่าวว่า“ปานเทพ ซัด กต.กล้าบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการ ร.9 ถามกรมสนธิสัญญาฯ ทำเพื่อประโยชน์รัฐบาลชาติใด”