'อังคณา' ยกกรณี 'หยก' จี้ กสม. ช่วยหาทางออกคุ้มครอง สวัสดิภาพเด็ก ที่ไม่มีผู้ปกครอง

18 มิถุนายน 2566 – นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก “Angkhana Neelapaijit” ระบุว่า

กรณีของหยกนำมาสู่การถกแถลงของสังคมที่มีฐานความคิดที่ต่างกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ดี แม้อุดมการณ์ทางการเมืองจะต่างกัน แต่กลกไกการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กยังคงต้องยืนยันหลักการสิทธิเด็กตามมาตรฐานสากล

จากแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ของเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยืนยันการไม่มีสภาพการเป็นนักเรียนของหยก เนื่องจากไม่มี #ผู้ปกครองมามอบตัวเด็กให้อยู่ในการดูแลของโรงเรียน ตามกฎระเบียบทั่วไปของ สพฐ. เช่นเดียวกับกรณีที่เมื่อหยกถูกควบคุมตัว ศาลไม่อาจปล่อยตัวหยกเนื่องจากไม่มีผู้ปกครองมารับตัว

ทำให้เห็นว่าปัญหาการไม่มีผู้ปกครองเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กมีความสำคัญอย่างมากทั้งตามกฎหมายไทย และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมถึงความเห็นทั่วไป (General Comments) ต่างๆที่เกี่ยวกับเด็กหรือผู้เยาว์ ทั้งนี้ ความหมายของ #ผู้ปกครอง ไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อแม่ หรือคนในครอบครัว เพราะหลายกรณี บ้านและคนในครอบครัวก็ไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยของเด็กๆ

อย่างไรก็ดีอย่างที่เคยให้ความเห็นไปแล้วว่า การแต่งตั้งผู้ปกครอง ก็ไม่ใช่จะสามารถตั้งกันเองตามอำเภอใจ แต่จะต้องเป็นการแต่งตั้งโดยศาล โดยให้มีการสืบเสาะว่าผู้ที่รับเป็นผู้ปกครองนั้นจะสามารถคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กได้จริงหรือไม่ เพราะหลายครั้งผู้ปกครองบางคนอาจกลายเป็นผู้แสวงประโยชน์จากเด็ก ล่วงละเมิดเด็ก หรืออาจเป็นเกี่ยวพันกับการค้ามนุษย์ หรือนำพาสู่เด็กสู่การค้าบริการทางเพศ

ดังนั้นจึง #ขอเน้นย้ำ ว่าแม้สิทธิในความเห็นต่างทางการเมือง การแต่งกาย หรือการปฏิบัติตามความเชื่อต่างๆจะมีความสำคัญ และต้องได้รับการเคารพ แต่ที่สำคัญมากกว่านั้น คือการที่ #หยกในฐานะผู้เยาว์ถูกรอนสิทธิในการได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมาย ดังนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ #การดำเนินการให้หยกมีผู้คุ้มครองสวัสดิภาพ

มีหลายคนถามว่าแล้วเด็กไร้บ้าน เด็กเร่ร่อน หรือเด็กผู้ลี้ภัยที่ไม่มีผู้ปกครองจะอยู่อย่างไร จะเข้าถึงการศึกษา หรือบริการสาธารณะสุขได้ไหม – คำตอบ คือ เด็กซึ่งเปราะบางต่างๆนี้ ศาลจะเป็นผู้แต่งตั้งให้บุคคล องค์กรด้านสิทธิเด็ก หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่คุ้มครองเด็ก เช่น กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) เป็นผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ส่วนตัวเคยรับรองการประกันตัวผู้ลี้ภัยหลายคน เพื่อให้มีโอกาสออกมาดูแลลูกๆ แทนที่จะอยู่ในห้องกักแบบไม่มีกำหนด ในบางกรณีอาจมีครอบครัวอุปถัมภ์ หรือมูลนิธิต่างๆที่ช่วยดูแลเด็ก ในกรณีเด็กไร้บ้าน หรือเด็กเร่ร่อน (สัญชาติไทย) จะเป็นหน้าที่ของบ้านพักเด็กและครอบครัว (พม.) เป็นผู้ดูแล แม้เด็กๆเหล่านี้บางส่วนจะหนีออกจากบ้านพักเพราะเคยชินกับการใช้ชีวิตเร่ร่อน แต่ก็ยังถือว่า กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยชน มีหน้าที่และอำนาจเป็นผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก

ทางออกเรื่องนี้ คือ #ควรให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพหยก ในฐานะผู้เยาว์ แต่ความท้าทายต่อเรื่องนี้ คือ หากหยกยังคง #ปฏิเสธศาล แล้วจะหาทางออกอย่างไร อีกสิ่งที่สังคมควรตั้งคำถาม คือ องค์กรที่ควรจะทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเด็ก เช่น #กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) หรือ #กรมกิจการเด็กและเยาวชน ทำไมจึงไม่ออกมาแสดงท่าทีอย่างเปิดเผยเพื่อประสานการคุ้มครองเด็ก เราจึงเห็นการตอบโต้ ต่อต้าน ของหยก และผู้ดูแล กับ สพฐ. โรงเรียน สมาคมผู้ปกครองและครู สมาคมศิษย์เก่า ฯ ที่ปะทะตอบโต้กันโดยลำพัง ทั้งที่เรื่องนี้หน่วยงานที่มีหน้าที่ปกป้องสิทธิเด็กควรออกมาเป็นผู้ประสานการคุ้มครองในฐานะที่มีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย โดยที่ทุกฝ่ายต้องไม่ลืมว่าทั้งรัฐธรรมนูญ และอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้รับประกันสิทธิความเท่าเทียมของบุคคลทุกคนไว้ เช่น

“การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้” (รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 27 วรรค 3) และ

“รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะเคารพและประกันแก่ปัจเจกบุคคลทั้งปวงภายในดินแดนของตนและภายใต้ เขตอำนาจของตนในสิทธิทั้งหลายที่รับรองไว้ในกติกานี้โดยปราศจากการแบ่งแยกใด ๆ อาทิ เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ” – กติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง #ICCPR ข้อบทที่ 2 (1)

ส่วนตัวขอเรียกร้องให้ #กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) #กรมคุ้มครองเด็กและเยาวชน และ #สพฐ. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รวมถึงหยก และผู้เกี่ยวข้อง ควรรีบเร่งหาทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกันโดยยึด #ประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ (เด็กที่กล่าวถึงนี้ หมายถึงเด็กทุกคนที่เกี่ยวข้อง)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวน 'นายกฯอิ๊งค์' ลงใต้ ฟังความทุกข์ทรมานจากปาก 'เหยื่อ-ครอบครัวผู้เสียชีวิต'

'อังคณา' ชี้รัฐบาลพท.-แพทองธาร ปฏิเสธความรับผิดชอบคดีตากใบไม่ได้ ชวนนายกฯ ลงใต้ ฟังความทุกข์ทรมานจากปากเหยื่อ-ครอบครัวผู้เสียชีวิต เตือนระวังคนรู้สึกไม่เป็นธรรม อาจเข้าร่วมขบวนการก่อเหตุ

'อังคณา' มากับดวง จับสลาก ฝ่าด่านสว.สีน้ำเงิน นั่งประธานกมธ.การพัฒนาการเมืองฯ

ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ(กมธ.)สามัญประจำวุฒิสภา 21 คณะ โดยแต่ละคณะจะประชุมเพื่อเลือกผู้ดำรงตำแหน่งป

เปิดฉบับเต็ม! รายงานกสม. มัดเรือนจำพิเศษกรุงเทพ-รพ.ตำรวจ เลือกปฏิบัติช่วยทักษิณ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่อง "การเลือกปฏิบัติและสิทธิของผู้ต้องขัง กรณีร้องเรียนว่า นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น" กรณีผู้ร้อง(ปกปิดชื่อ) ผู้ถูกร้อง      เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ที่ 1โรงพยาบาลตำรวจที่ 2

กสม. ชงแก้กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การเป็นข้าราชการตำรวจ

กสม. ชงแก้กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ ย้ำต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ตามหลัก U=U ไม่เจอ=ไม่แพร่

ธำรงวินัยทหารเกณฑ์จนตายย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กสม.ร้องเอาผิด!

กสม.ชี้กรณีทหารเกณฑ์วัย 18 ปี ถูกธำรงวินัยจนเสียชีวิต ละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกาย เตรียมส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด - คกก.ป้องกันการทรมานฯ เอาผิดตามกฎหมาย