'อังคณา' ยกอนุสัญญาฯยูเอ็น ชี้กรณีหยกมีสิทธิปฏิเสธระบบการศึกษาของรัฐ

15 มิ.ย.2566 - นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึงกรณี น.ส.ธนลภย์ ผลัญชัย หรือ "หยก" อายุ 15 ปี แนวร่วมกลุ่มทะลุวังว่า โพสต์นี้อาจไม่ถูกใจบางคน แต่ก็อยากจะพูดในฐานะคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ต้องยืนยันหลักการ ตาม #แถลงการณ์ของโรงเรียนเตรียมอุดมพัฒนาการ ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2566 แสดงเหตุผลของโรงเรียนต่อกรณีสภาพการเป็นนักเรียนของหยกคือ การรายงานตัวที่ต้องมีผู้ปกครอง (ตามกฎหมาย) มาร่วมในการรายงานตัวเด็กที่โรงเรียนภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2566 แถลงการณ์ระบุว่า “... แต่นักเรียนไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว ทำให้ไม่มีฐานข้อมูลในระบบ จึงไม่ได้เป็นนักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ในปีการศึกษา 2566”

หากดูใน live ที่หยกติดต่อกับผู้ปกครอง ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใครคือผู้ปกครอง ทั้งนี้ ในส่วนของ “ผู้เยาว์ – minor” ตามกฎหมายไทย และกฎหมายระหว่างประเทศให้ความสำคัญกับ #ผู้ปกครอง มาก ในอารัมภบทของ #อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ขององค์การสหประชาชาติ (Convention on the Rights of the Child- #CRC) ย่อหน้าที่ 5 ระบุว่า

“เชื่อว่า ครอบครัวในฐานะเป็นกลุ่มพื้นฐานของสังคมและเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สำหรับการเจริญเติบโตและการกินดีอยู่ดีของสมาชิกทุกคนโดยเฉพาะเด็กควรได้รับการคุ้มครองและการช่วยเหลือที่จำเป็น เพื่อที่จะสามารถมีความรับผิดชอบในชุมชนของตนได้เต็มที่”

“ยอมรับว่า เพื่อให้พัฒนาบุคลิกภาพได้อย่างกลมกลืนและเต็มที่ เด็กควรจะเติบโตในสิ่งแวดล้อมของครอบครัว ..” (ย่อหน้าที่ 6) และ
“คำนึงถึงว่า ตามที่ได้ระบุในปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กนั้น เด็กโดยเหตุที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ จึงต้องการการพิทักษ์และดูแลเป็นพิเศษ รวมถึงต้องการการคุ้มครองทางกฎหมายที่เหมาะสมทั้งก่อนและหลังการเกิด” (ย่อหน้า 9)

ผู้ปกครอง (พ่อแม่) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินการต่างๆต่อเด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปี) ไม่ใช่ให้ใครก็ได้มาเป็นผู้ปกครองแทน ซึ่งตามกฎหมายผู้ปกครอง คือ พ่อแม่ หากพ่อแม่ไม่มีความสามารถ หรือเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ หรือกรณีที่เด็กไม่มีพ่อแม่ รัฐมีหน้าที่ต้องให้ความคุ้มครองต่อเด็ก

ในส่วนการศึกษา เด็กมีสิทธิปฏิเสธระบบการศึกษาของรัฐ โดยผู้ปกครองสามารถจัดการศึกษาตามความต้องการและเหมาะสมกับเด็กได้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาทางเลือก เช่น home school รวมถึงการศึกษาในรูปแบบเรียนรู้อื่นๆ ที่เด็กๆหลายคนมีความสุขและประสบความสำเร็จกับการศึกษาที่เหมาะสมกับตัวเอง ... กรณีของหยก ผู้ปกครอง (แม่) ควรออกมาการปกป้องสิทธิเด็ก และดำเนินการต่างๆเพื่อ #ประโยชน์สูงสุดของเด็ก (best interest of the child)
#เครื่องแบบนักเรียน ไม่ใช่ปัญหา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อังคณา' บ่นอุบมีแต่ชื่อข้าราชการบำนาญ ชิงปธ.วุฒิสภา ไม่เปิดโอกาสให้คนธรรมดา-ผู้หญิง

นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังมีการเปิดเผยรายชื่อแคนดิเดตของกลุ่ม สว.สีน้ำเงิน ที่จะลงชิงตำแหน่งประธานสุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ทางกลุ่ม สว.พันธุ์ใหม่ จะมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อแคนดิเดตอีกหรือไม่ ว่า ไม่เปลี่ยน

อังคณา สว. 2567 ภารกิจ-สิ่งท้าทาย สภาสูง กับโมเดลข้อเสนอ สภาเดี่ยว

การทำงานของสมาชิกวุฒิสภาชุดล่าสุด ที่เรียกกันว่า "สว. 2567" กำลังจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากนี้ คาดหมายกันว่า การนัดประชุมวุฒิสภาเพื่อเลือก

'อังคณา' วอน สว.สายสีน้ำเงิน เปิดโอกาส สว.เสียงส่วนน้อยได้มีบทบาทในสภาฯ

นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการเข้ารายงานตัวต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถึงกระแสข่าวการเลือกประธานวุฒิสภา ขณะนี้มีใครติดต่อมาขอคะแนนแล้วหรือไม่ ว่า ไม่มีเลย

'อังคณา' จี้กมธ.นิรโทษ ใช้ความกล้าหาญบอกสังคม เอาหรือไม่เอาล้างผิดคดี 112

นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวถึงความขัดแย้งภายในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม กรณีรวมความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่