‘อดีตรองอธิการ มธ.’ เดือด! แก๊งล้มเจ้าบังอาจก้าวล่วง ‘ร.9’ ยก 3 เหตุการณ์สำคัญ พระองค์เสียสละช่วยบ้านเมือง
6 ธ.ค. 2564 – รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไม่มีพลาด วันที่ 5 ธันวาคม สำนักข่าวเดิม ทั้งๆ ที่รู้ ยังคงโพสต์ลงว่า เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ลงถึง 2 โพสต์ ห่างกัน 1 ชั่วโมง ข้อความที่ลงยังคงแนบเนียน ไม่มีอะไรที่ไม่เหมาะสม แต่ comments ที่ตามมา สำหรับผู้ที่จงรักภักดี หากเข้าไปอ่านแล้ว น่าจะรู้สึกเหมือนๆ กัน คือจิตตก อารมณ์เดือดปุดๆ อยากจะทำอะไรสักอย่างกับพวกนี้ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะทำอะไรได้บ้าง
Comment ที่ชัดเจนว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากหัวขบวนของขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ คือประโยคที่หลายคนใช้ว่า “เซ็นรัฐประหาร”
ประหนึ่งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย เพื่อมีพระบรมราชานุญาตให้ทำรัฐประหารได้ กระนั้น
ความเห็นแบบนี้น่าจะเริ่มมาจากนักวิชาการบางคนที่กล่าวหาซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงอยู่เบื้องหลังการทำรัฐประหารทุกครั้ง ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่นักวิชาการเหล่านั้น ล้วนอนุมานเอาเองทั้งสิ้น
ในขณะที่ นักวิชาการเหล่านี้ ทุกคนยึดหลักการว่า พระมหากษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมือง แต่กลับต้องการให้พระมหากษัตริย์ต่อต้าน ไม่ยอมรับการทำรัฐประหาร
เมื่อทหารทำรัฐประหาร หากทำไม่สำเร็จก็กลายเป็นกบฏ หากทำสำเร็จก็ต้องถือว่า คณะรัฐประหารได้ รัฏฐาธิปัตย์ หรือได้อำนาจสูงสุดของรัฐ จากนั้น คณะรัฐประหารก็จะเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าเสนอให้พระบาทพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิโธย โปรดเกล้าแต่งตั้ง คณะบุคคลที่จะปกครองประเทศชั่วคราว ธรรมนูญการปกครองฉบับขั่วคราว และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีตามลำดับ
อยากถามว่า เมื่อถึงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีทางเลือกเป็นอื่นหรือ อีกประการ หากพระองค์ทรงขัดขวาง จะใช่เป็นการไม่อยู่เหนือการเมืองหรือไม่
ในอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงลงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง 3 ครั้ง ทุกครั้งล้วนเมื่อสถานการณ์มาถึงทางตัน ไม่มีทางออกใดๆ
ครั้งแรก หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นผลให้จอมพล ถนอม กิตติขจร และจอมพล ประภาส จารุเสถียรยอมออกนอกประเทศ และมีการตั้งรัฐบาล สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งเรียกกันว่า เป็นรัฐบาลพระราชทานขึ้น
ครั้งที่ 2 ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้คู่ขัดแย้งคือ พลเอกสุจินดา คราประยูร กับ พลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้า เป็นผลให้เหตุการณ์ที่กำลังจะรุนแรง ลุกลามใหญ่โต สงบลงได้อย่างอัศจรรย์
ครั้งที่ 3 เมื่อบ้านเมืองไม่มีทางออก ช่วงสมัยที่ 2 ของนายกฯทักษิณ ชินวัตร ซึ่งประกาศยุบสภา อันเป็นผลจากการชุมนุมประท้วงขับไล่ครั้งใหญ่ของประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศไม่ลงเลือกตั้ง การเลือกตั้งมีปัญหา มีการจ้างพรรคเล็กให้ส่งผู้สมัครลงในเขตที่มีผู้สมัครเพียงพรรคเดียว เพื่อหนีเกณฑ์ที่ต้องได้คะแนนขั้นต่ำ ครั้งนี้ พระองค์เพียงทรงแนะให้ฝ่ายตุลาการหาทางออกให้ประเทศเท่านั้น
ทั้ง 3 ครั้ง หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางเฉย ไม่เกี่ยวข้องด้วย บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร มองอีกมุมหนึ่ง ต้องยอมรับว่า พระองค์ทรงเสียสละเสียด้วยซ้ำ ที่ทรงลงมาเช่นนี้
พวกที่หลงเชื่อว่า พระมหากษัตริย์ต้องต่อต้านรัฐประหาร และยิ่งกว่านั้น หลงเชื่อว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่เบื้องหลังการทำรัฐประหารทุกครั้ง อยากให้กลับมาพิจารณาใหม่ ด้วยเหตุด้วยผล และด้วยใจเป็นธรรม
พวกเราที่มีลูกมีหลานก็ควรให้เหตุผลที่ถูกต้องกับพวกเขา เพื่อเขาจะได้ไม่เข้าใจผิด เชื่อตามการกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมเช่นนี้
ด้วยสำนึกในพระมหากุณาธิคุณ ตลอดไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เพื่อไทย' ไม่ฟังเสียงต้าน! ดันทุรังเข็น 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน
'หมอวรงค์' เปิดเบื้องลึก! ทำไมไม่ควรนิรโทษกรรมคดี 112
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ทำไมจึงไม่ควรนิรโทษกรรมคดี 112" โดยระบุว่า
จับตา! ปม 'นักโทษเทวดา' จุดตาย 'ทักษิณ-เพื่อไทย'
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพราะคุณไพบูลย์ นิติตะวัน โปรโมตเรื่องหมัดเด็ดที่อาจจะทำให้พรรคเพื่อไทยล่มสลายดีเกินไป
ต้องไม่ยอมมัน! อดีตรองอธิการบดี มธ. ปลุกขวางแก้ รธน. ทำลายความถูกต้อง-เป็นธรรม
ความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราครั้งนี้ หากทำได้สำเร็จ จะเป็นลดความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต และมาตรฐานทางจริยธรรม
ผู้ว่าฯธปท.จบจากที่ไหน 'นักวิชาการ' แนะดูคลิปแล้วจะตัดสินได้เองว่าสมควรเชื่อใคร
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า s
หยาม 'มาดามแพ' ไม่ได้เขียนนโยบายเอง ไร้วิสัยทัศน์ มีแต่พรรณนา กังขาผุด 'กาสิโน' ทำเลทอง
'อ.หริรักษ์' เชื่อนโยบายรัฐบาลผู้เขียนคงไม่ใช่ตัว'แพทองธาร' ภาพรวมไม่ต่างรัฐบาลชุดก่อนคือไม่มีวิสัยทัศน์ มีแต่การพรรณนา ชี้ entertainment complex จุดหมายที่แท้จริงคือ casino ในทำเลทอง ส่วนอื่นๆเป็นเพียงส่วนประกอบ 'ดิจิทัลวอลเล็ต'งวด3คงไม่ได้แจกเพราะคงอยู่ไม่ถึง