6 มิ.ย.2566- ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานเครือข่ายญาติวีรชนพฤษภา 35 พร้อมด้วย พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ยื่นร้องต่อประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ไต่สวน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม และคณะรัฐมนตรี กรณีมีพฤติการณ์ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ
โดย พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวว่า ด้วยได้ปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งเป็นที่ทราบทั่วกันว่า พล.อ.ประยุทธ์ และคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการจงใจฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ในการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เมื่อวันที่ 19 ก.พ.66 ตามการเสนอของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้เลื่อนการใช้สี่มาตราสำคัญของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 คือมาตรา 22, 23, 24 และ 25 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ.66 ออกไปเป็นวันที่ 1 ต.ค.66 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้ออก พ.ร.ก.ได้เฉพาะเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เท่านั้น
พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 18 พ.ค.66 ชี้ว่า การออก พ.ร.ก.ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้งไม่สามารถบังคับใช้ได้ เครือข่ายประชาชนเห็นว่า การกระทำของ พล.อ.ประยุทธ์ กับพวกคณะรัฐมนตรีทุกคน ถือเป็นพฤติการณ์จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 อย่างชัดแจ้ง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อกฎหมายสำคัญและหลักนิติธรรมของชาติอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.จะต้องไต่สวนตามมาตรา 235 ส่งให้ศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง และตัดสิทธิ์ทางการเมือง รวมทั้งสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ระหว่างการพิจารณาเพื่อระงับความเสียหายที่ได้เกิดต่อชาติและประชาชนมาอย่างต่อเนื่องโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ ผลการดำเนินการเป็นประการใด ขอได้โปรดแจ้งให้ทราบทุกระยะ 15 วันด้วย เพื่อจะได้แจ้งให้ประชาชนและสื่อมวลชนทราบต่อไป
วันเดียวกัน ที่สำนักงาน ป.ป.ช. สนามบินน้ำ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อเอาผิดรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ โดยเฉพาะนายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีต รมว.ยุติธรรม กรณีการเสนอออก พ.ร.ก.เลื่อนการใช้ พ.ร.บ.ป้องกันปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 อันเข้าข่ายจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า สืบเนื่องจากนายสมศักดิ์ รมว.กระทรวงยุติธรรมในขณะนั้นได้เสนอให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้ออก พ.ร.ก.เลื่อนการใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมาน/อุ้มหาย ออกไปจากเดิมที่กฎหมายดังกล่าวต้องถูกนำมาบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ.66 แต่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ กลับใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 172 วรรคแรก ในการออก พ.ร.ก.เลื่อนการบังคับใช้ออกไปเป็นวันที่ 1 ต.ค.66 โดยอ้างว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังไม่มีความพร้อมด้านการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์การบันทึกภาพในขณะจับกุมและคุมขังบนรถและห้องขังในสถานีตำรวจ ทว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวถูก ส.ส.จำนวน 99 คนเข้าชื่อกันเสนอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 หรือไม่ ซึ่งในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยออกมา 8 ต่อ 1 เมื่อวันที่ 18 พ.ค.66 ที่ผ่านมาว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าว ทำให้ พ.ร.ก.ดังกล่าวตกไปไม่มีผลบังคับใช้ ทำให้กฎหมายอุ้มหายต้องย้อนกลับไปบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ.66 ตามที่กฎหมายกำหนดแต่เดิม
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า การที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจในการประวิงเวลาการบังคับใช้กฎหมายป้องกันการทรมาน/อุ้มหายดังกล่าว เป็นการชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลจงใจที่จะฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหลายมาตรา โดยเฉพาะ มาตรา 53 จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าไม่สามารถทำได้แล้วนั้น การกระทำดังกล่าว อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยไม่มีอำนาจที่จะทำได้ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชาติบ้านเมือง ระบบนิติรัฐ นิติธรรม ด้วยเหตุดังกล่าวสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยจึงร่วมมือกับญาติวีรชนพฤษภา 2535 นำความมาร้องต่อ ป.ป.ช. ให้ดำเนินการไต่สวน สอบสวน เอาผิดรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ เพื่อชี้ให้เห็นถึงมาตรฐานทางจริยธรรมที่ผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบ ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างของการใช้อำนาจโดยไม่คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดต่อไป .
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นายกฯอิ๊งค์' ยกไอแพดคุย 'ทรัมป์' แสดงความยินดีชนะเลือกตั้ง ยันไทยพร้อมทำงานกับสหรัฐฯ
ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับ นายโดนัลด์ เจ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิ
วาระแห่งชาติ! 'มาดามแพ' ดูนิทรรศการ 'ผ้าไทยใส่ให้สนุก' ยันออกแบบทันสมัย วัยรุ่นใส่ทำงานได้
ที่ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (
เพจไทยคู่ฟ้าโชว์ภาพ 'มาดามแพ' ขยันมาก! นั่งเครื่องกลับไทยก็ยังทำงาน
เพจไทยคู่ฟ้า เผยแพร่รูป น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ระหว่างนั่งเครื่องกลับประเทศไทย #นายก
เปิดหนังสือ ‘หมอวรงค์’ ร้อง กกต. สอบ 4 ประเด็นใหญ่ ฟัน ‘ทักษิณ’ ปราศรัยอุดรฯเข้าข่ายผิดกม.
ในการปราศรัยที่อุดรที่ผ่านมา จริงอยู่คุณมีสิทธิ์เสรีภาพที่จะพูด อยากจะปราศรัย เป็นเรื่องของคุณ แต่คุณต้องรับรู้นะครับว่า บ้านเมืองมีขื่อมีแป ถ้าคุณทำให้สงสัยได้ว่า มีความเสี่ยงที่ทำผิดกฏหมาย
‘เรืองไกร’ สบช่องร้อง ป.ป.ช. เช็คบิล ‘กิตติรัตน์’ ว่าที่ปธ.บอร์ดธปท.
เรืองไกร ร้อง ป.ป.ช. ตรวจ กิตติรัตน์ ป.กมธ.งปม.2555 เข้าข่ายมีความผิดแบบ สมหญิง หรือไ
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???