22 พ.ค. 2566 – นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ แกนนำพรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า นิรโทษกรรม คดีการเมือง
ผมอ่านคร่าวๆ ทำนอง ว่า MOU จะมีเรื่อง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคดีการเมืองด้วย
-เรื่องนิรโทษกรรม เคยมีการตั้งกรรมการขึ้นมาพิจารณา ทั้งในและนอกสภาหลายครั้ง แต่ไม่มีข้อยุติ จนเมื่อมีการนำเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่สภา ก็กลายเป็น “นิรโทษกรรมสุดซอย” จึงมีการชุมนุมใหญ่ เป็นเหตุให้มีการยึดอำนาจ
-ในวินาทีที่มีการยึดอำนาจ ผมอยู่ในเหตุการณ์ด้วย ใครพูดอะไร ในขณะนั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องที่ผมนี่แหละนำมาเขียนในเฟซบุ๊ก
-เรื่องนิรโทษกรรม ไม่ง่ายครับ ปัญหาที่พบ คือ
1.คดีการเมือง คืออะไร มันไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายว่า คดีใด คือ “คดีการเมือง” อาจจะอนุมานได้ว่า คดีกบฏ หรือ คดีล้มล้างการปกครอง คือ คดีการเมือง แต่การชุมนุมครั้งนั้น ไม่มีใครโดนข้อหาเหล่านี้ การนิรโทษกรรมจึงไม่มีใครได้ประโยชน์
2.คดีเผาสถานที่ราชการ หรือ สถานที่ของเอกชน ที่มีบางคนกล่าวว่า “เผาไปเลยครับพี่น้อง ผมรับผิดชอบเอง” คดีเหล่านี้ก็เคยถกเถียงกันว่า ไม่ใช่คดีการเมือง ประกอบทั้งผู้กระทำผิดก็พ้นโทษหมดแล้ว การนิรโทษกรรมจึงไม่มีประโยชน์
3.ที่มีปัญหามาก คือ “คดีทุจริต” ในบางรัฐบาล มีนักการเมือง รัฐมนตรี และข้าราชการ โดนจำคุกในคดีทุจริตมากที่สุด คดีเหล่านี้ไม่ถือเป็นคดีการเมือง หากนิรโทษ เกิดการชุมนุมรอบใหม่แน่
ผมไม่ได้ “ชักใบให้เรือเสีย” แต่พอเริ่มทำ MOU ก็จะมีปัญหาตามมาว่า “คดีการเมือง” คืออะไร อย่าลืมนะครับ ในการชุมนุม ก็มีทหาร ตำรวจ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ เสียชีวิตเยอะเหมือนกัน
4.ผมจำได้ว่า ตอนผมเป็นกรรมการพิจารณาเรื่องนิรโทษกรรม เรามีข้อสรุปว่า ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เราต้องเริ่มต้นจากหลักว่า (1) ค้นหาความจริง (2) เปิดเผยความจริง (3) จัดการกับความจริง (4) ลืม
5.บางเรื่องมันต้องให้เวลาแก้ปัญหา อย่างอื่นมันนำมาใช้แก้ปัญหาไม่ได้ “เวลา” คือยาสมานแผลที่ดีที่สุด
การ “ลืม” นี่เป็นหลักสากลทั่วโลกในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ที่รัฐบาลหลายประเทศเขาทำสำเร็จแล้ว ความขัดแย้ง มันจะเริ่มตั้งแต่การค้นหาความจริง แต่หลายคน ไม่อยากให้ค้นหาความจริง ยิ่งค้นหา แล้ว นำความจริงมาเปิดเผยด้วย ก็เหมือนเอาบางคนมาแก้ผ้าล่ะครับ เชื่อเถอะไม่มีใครยอมหรอก
-ยิ่งหากท่านว่าที่นายกรัฐมนตรี จะพ่วงคดี ม.112 เป็นคดีการเมืองด้วย เหมือนเติมฟืนเข้าในกองไฟเลยครับ อย่าทำเป็นโลกสวยไปนะครับ
6.สิ่งที่ยากที่สุดตอนนี้ คือ การบริหารอารมณ์ของกองเชียร์ครับ มันยากกว่าการพูดและโบกมือบนหลังคารถมาก ประเภท “มีกรณ์ ไม่มีกู มีกูไม่มีกรณ์” หรือ “ฉันเกิดในรัฐบาล 9 ไกล” อย่าให้กองเชียร์ทำเลยครับ ไม่งั้นอาจจะมี “มีทิม ไม่มีกู มีกูไม่มีทิม” บ้านเมืองก็ไปไม่ได้
-เมื่อเรียกตัวเองว่า เป็นคนรุ่นใหม่ อย่าสร้างประเทศนี้ ด้วยความโกรธแค้น ชิงชัง เลยครับ ห้ามกองเชียร์หน่อย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ สั่งเกาะติด 7จังหวัดภาคใต้ที่เจอฝนถล่มหนัก
นายกฯ กำชับทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงจากฝนตกหนักในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้
นายกฯ อิ๊งค์ฝากติดตามแถลง 12 ธ.ค.ผลงานรัฐบาล 90 วัน
นายกฯอิ๊งค์ ลั่นรัฐบาล มุ่งสร้างโอกาสจับต้องได้ให้ประชาชน ปากท้องอิ่ม ดึงศักยภาพคนไทย ลั่นปรับสมดุลการค้าสหรัฐ-จีน ย้ำ รบ.อยู่ครบเทอม ฝากติดตามแถลงผลงานรัฐบาล 12 ธ.ค.นี้
'เอ็ดดี้ อัษฎางค์' มีคำตอบให้! 'พิธา' ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูเพื่อไทย
เอ็ดดี้-อัษฎางค์ ยมนาค อินฟลูเอ็นเซอร์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูกับเพื่อไทย อัษฎางค์ ยมนาค มีคำตอบให้
เปิดโปรแกรมทัวร์ 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรกที่เมืองเหนือ
เปิดโปรแกรม 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรก จัดที่แม่ริม เชียงใหม่ 29 พ.ย. ก่อนถก 'คลังสัญจร' เชียงราย ฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจ พร้อมพบประชาชน
'เทพไท' วิเคราะห์ชัดๆ 'ทักษิณ-อุ๊งอิ๊งค์' ใครคือนายกฯตัวจริง
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช
'ธนกร' ชี้หลัง 22 พ.ย.ประเทศก็ยังเดินหน้าต่อ!
'ธนกร' มองทุกคดีศาล รธน.ยึดตามหลักกฎหมาย เชื่อการเมืองหลัง 22 พ.ย.นี้ประเทศต้องเดินหน้าต่อ ขอทุกฝ่ายอย่าคาดเดาจนอาจก้าวล่วงอำนาจ ฝากรัฐบาลเร่งทำผลงาน