17 พ.ค. 2566- นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการ ได้ยื่นหนังสือความเห็นทางวิชาการกฎหมายต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามการร้องขอความช่วยเหลือทางกฎหมายของมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและเครือข่ายญาติผู้สูญหายและผู้ถูกซ้อมทรมาน กรณีการออกพระราชกำหนดเลื่อนการบังคับใช้มาตราของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 จำนวน 4 มาตรา ว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือและลงมติวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 9.30 น.
ความเห็นทางวิชาการกฎหมายของศูนย์นิติศาสตร์ ระบุหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลื่อนการบังคับใช้ บทบัญญัติ 4 มาตรา โดยพระราชกำหนดของรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร สามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172 เท่ากับศาลรัฐธรรมนูญยินยอมให้ฝ่ายบริหารยกเลิกมาตรการในการคุ้มครองความปลอดภัยสาธารณะที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซี่งขัดต่อเจตนารมณ์ของพ.ร.บ. ฉบับนี้โดยทันที และจะเป็นบรรทัดฐานที่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นฝ่ายตุลาการยินยอมให้คณะรัฐมนตรีตรากฎหมายที่มีผลบังคับเทียบเท่าพ.ร.บ.ได้ตามอำเภอใจ โดยไร้ซึ่งเหตุจำเป็น และไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และมีผลทำให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถตัดอำนาจของรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติในการตรวจสอบการออกพระราชกำหนดของรัฐบาลอีกด้วย
นอกจากนี้ความเห็นทางวิชาการยังระบุด้วยว่า “การเลื่อนการบังคับใช้ 4 มาตรา ทำให้หากเจ้าหน้าที่รัฐไม่ปฏิบัติตามมาตรา 22,23,24, และ 25 จะไม่มีบทลงโทษแต่อย่างใด จึงเท่ากับเป็นการยอมให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจโดยมิชอบในการควบคุมตัวประชาชน อุ้มหาย หรือซ้อมทรมาน เฉกเช่นที่ทำอย่างเคยต่อไป ดังนั้นพ.ร.ก.ฉบับนี้จึงไม่ใช่กรณี ความปลอดภัยสาธารณะ แต่คือการเลื่อนออกไปของการบังคับใช้ต่างหากที่ทำให้ไม่ปลอดภัย”
เดิมพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 จะมีผลบังคับใช้ทั้งฉบับในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 หนึ่งอาทิตย์ก่อนพ.ร.บ. ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ออกพระราชกำหนดแก้ไขโดยเลื่อนการบังคับใช้มาตรา 22,23,24, และ 25 ไปเป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2566
ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร รัฐบาลจะต้องนำพ.ร.ก.ฉบับนี้ให้รัฐสภาเพื่อพิจารณาว่าจะรับรองหรือไม่โดยทันที โดยสภาผู้แทนราษฎร มีกำหนดพิจารณาในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่ในวันเดียวกัน สส.ของฝ่ายรัฐบาลจำนวน 1 ใน 5 ของจำนวนส.ส.ในวันดังกล่าว ได้อ้างอำนาจตามมาตรา 173 แห่งรัฐธรรมนูญ ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การตราพ.ร.ก.เลื่อน 4 มาตรา ของพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ของรัฐบาลนั้นขัดบทบัญญัติมาตรา 172 วรรคหนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมจี้ รร.นายร้อยตำรวจเร่งคดีล่วงละเมิดทางเพศ!
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการณ์เรื่องขอให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ส่งฟ้องแล้ว! 'ดีเอสไอ' แจ้ง 2 ข้อหาหนัก 8 ตำรวจสภ.อรัญฯ ซ้อมทรมานลุงเปี๊ยก
นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน หัวหน้าคณะทำงานตรวจสอบหรือกำกับการสอบสวน ตามมาตรา 31 แห่ง พรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายพ.ศ. 2565
รำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม ไม่ควรเสียเลือดเนื้อกันอีก ต้องทำให้รธน.เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ที่อนุสรณ์สถานฤษภาประชาธรรม สวนสันติพร ถนนราชดำเนิน คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา' 35 จัดงาน ‘รำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535’
คดีถึงที่สุด ชาวเลราไวย์ชนะคดีพื้นที่หน้าหาด ศาลฎีกาชี้อยู่มานาน
นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เปิดเผยว่า เมื่อไม่นานมานี้ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาคดี นายสมศักดิ์ เจริญทรัพย์ และพวกรวม 10 คน เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ นางสาวอ้อมใจ กันเสนาะ, นายเจริญ ดำรงเกษตร
'ลูกชายสหายภูชนะ' ร้อง กมธ.กฎหมายสอบข้อเท็จจริงพ่อถูกบังคับสูญหาย!
'ลูกชาย สหายภูชนะ-มูลนิธิผสานวัฒนธรรม' ร้อง ปธ.กมธ.กฎหมาย สอบข้อเท็จจริงบังคับสูญหายที่ลาวเมื่อปี 2561
'ดร.ปริญญา' เปิด 4 กรอบนโยบาย ชิงเก้าอี้อธิการบดีม.ธรรมศาสตร์
ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ความในเฟซบุ๊ก เรื่อง ธรรมศาสตร์จะไปทางไหน และ ใครจะเป็นอธิการบดีคนต่อไป 2 มีเนื้อหาดังนี้