24 เม.ย.2566 - นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. กล่าวว่า การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน แต่ปัจจุบันพบว่ามีประชาชน ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากคดีทุจริตจำนวนมาก ที่กลัวการแจ้งเบาะแส ไม่กล้าร้องเรียนมายังสำนักงาน ป.ป.ช. เพราะกลัวอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัว
เนื่องจากคดีทุจริตคอร์รัปชันส่วนใหญ่มักมีผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้บริสุทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริต ประกอบด้วย ผู้กล่าวหา ผู้ทำคำร้อง ผู้เสียหาย ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ และผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลใดเกี่ยวกับการทุจริต รวมถึงคู่สมรส บุพการี หรือบุคคลในครอบครัวที่ใกล้ชิด ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้สามารถร้องขอการคุ้มครองช่วยเหลือพยานได้
โดยยื่นคำร้องขอรับการคุ้มครองช่วยเหลือได้ 3 ช่องทาง คือ 1. ยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สำนักงาน ป.ป.ช.ส่วนกลาง สำนักงาน ป.ป.ช.ภาค หรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด 2. ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานอื่น ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองช่วยเหลือพยาน อาทิ กระทรวงยุติธรรม หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นต้น และ 3. กรณีเร่งด่วน หากผู้ร้องขอที่ไม่อาจมายื่นคำร้องได้ด้วยตนเองสามารถดำเนินการส่งเป็นหนังสือหรือจดหมาย ยื่นผ่านช่องทางโทรสาร หรืออีเมล หรือจะเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
และไม่ว่าจะเป็นช่องทางไหน ผู้ขอคุ้มครองช่วยเหลือจำเป็นต้องเขียนคำร้องที่ระบุชื่อ สกุล และที่อยู่ของผู้ร้องขอ ตลอดจนใส่รายละเอียดพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องขออาจไม่ได้รับความปลอดภัย ถูกกลั่นแกล้งในการปฏิบัติหน้าที่ จากนั้นต้องลงลายมือชื่อ ระบุชื่ออย่างชัดเจน เมื่อเข้าสู่มาตรการคุ้มครองช่วยเหลือพยาน ผู้ร้องขอรับการคุ้มครองจะได้รับสิทธิช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น สิทธิที่จะมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองความปลอดภัย สิทธิที่จะได้รับค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ สิทธิที่จะได้รับค่าที่พักอาศัยเมื่ออยู่ในเซฟเฮาส์ สิทธิที่จะได้รับค่าอาหาร และสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนกรณีเกิดความเสียหายแก่ชีวิตร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เพราะมีการกระทำผิดอาญาโดยเจตนา เนื่องจากการที่ได้ให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแสต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ซึ่งทั้งหมดนี้สำนักงาน ป.ป.ช.จะพิจารณาตามความเหมาะสมหรือพฤติการณ์ความไม่ปลอดภัยเป็นสำคัญ แต่ขอให้มั่นใจว่าผู้ที่ยื่นรับการคุ้มครองช่วยเหลือพยานจะได้รับความปลอดภัย รวมถึงในกรณีที่มีการแจ้งเบาะแสการทุจริตมายังสำนักงาน ป.ป.ช. ข้อมูลของผู้แจ้งจะถูกปิดเป็นความลับ โดยผู้ที่พบเห็นการทุจริตสามารถแจ้งมาได้ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ทั่วประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ป.ป.ช.สะดุ้ง! ยก 6 เหตุผลปราบคอร์รัปชันไร้ประสิทธิภาพ คนโกงจึงเหิมลำพอง
สาเหตุที่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตไม่ได้ผลไร้ประสิทธิภาพและพวก คนโกงคนชั่วหรือเหิมลำพอง อยู่ได้ก็เพราะ
ป.ป.ช. ลุยตรวจระบบประปา อบต.วังสำโรง ใช้งบ 5 ล้าน ชาวบ้านร้องน้ำยังขุ่น
ป.ป.ช.พิจิตร ลุยตรวจ อบต.วังสำโรง ใช้งบกว่า5 ล้าน สร้างระบบผลิตน้ำประปาตามแบบนวัตกรรมไทย แต่ชาวบ้านร้องน้ำประปายังขุ่น
'ผู้พิพากษา-อัยการ-บิ๊กสีกากี' แห่สมัคร! ชิง 3 เก้าอี้ ป.ป.ช.
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะหน่วยธุรการ เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ศาลฯพิพากษาจำคุก 6 ปี 18 เดือน 'ชาญ พวงเพ็ชร-พวก' คดีทุจริตถุงยังชีพ
ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบภาค 1 สระบุรี ได้พิพากษาจำคุก 6 ปี 18 เดือน นายชาญ พวงเพ็ชร์ และพวกรวม 7 คน คดีทุจริตในการจัดซื้อถุงยังชีพ
เอาแล้ว! ศาลฯ รับคดีไว้ไต่สวน หลัง 'วีระ' ฟ้อง ป.ป.ช.ไม่เผยสำนวนนาฬิกาหรูบิ๊กป้อม
นายวีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชัน โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำเร็จไปอีกขั้น วันนี้ศาลอาญาคดีทุจริตแ