'นพ.ธีระวัฒน์'ชี้ปรากฏการณ์สะอิดสะเอียน!

หมอธีระวัฒน์ชี้ปรากฏการณ์ทางสมองระบาดหนัก ทั้งคลื่นไส้ อาเจียนและสะอิดสะเอียน ชี้หากขาดความสะอิดสะเอียนจะไม่มีความละอายและทำให้สังคมไม่มีความเที่ยงธรรม

05 เม.ย.2566 - ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ปรากฏการณ์ทางสมองระบาดหนัก: อาการคลื่นไส้ อาเจียน และสะอิดสะเอียน (Disgust)” เมื่อขาดความ “สะอิดสะเอียน” จะไม่มีความ “ละอาย” และย่อมนำไปสู่สังคมที่ไม่มีความถูกต้อง เที่ยงธรรม มีศีลธรรม

อาการที่ว่านี้มาด้วยลักษณะคลื่นไส้ ทำให้อยากอาเจียน ทั้งนี้ โดยไม่มีอาการนำ หรือมีอาการร่วมของอาการเวียนศรีษะ บ้านหมุน หรือ โคลงเคลง แต่เป็นลักษณะเฉพาะเจาะจงออกฤทธ์ที่ศูนย์ของก้านสมองระดับ medulla (ศูนย์อาเจียน)

ระยะแรกคิดว่ามันคงเกิดจากมลภาวะในอากาศ หรือ ในอาหาร แต่ลักษณะการดำเนินของอาการ และความรุนแรงกลับแปรตามการรับรู้จากสื่อ วิทยุ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์

ความทรมานจากการที่สมองส่วน “ คลื่นไส้/อาเจียน” ถูกกระตุ้นจนยกระดับขึ้นจนถึงขั้น “สะอิดสะเอียน”
“สะอิดสะเอียน” (Disgust) เป็นศัพท์วิทยาศาสตร์ทางสมองและอารมณ์

ในระยะแรกจัดเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อการรับรู้สิ่งสกปรก สิ่งผิดปกติ จากประสาทสัมผัส ทั้งรส รูป กลิ่น และมีการบันทึกเป็นหนังสือโดยชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1872 และในเวลาต่อมา Robert Plutchik (เสียชีวิตเมื่ออายุ 78, 29 เมษายน 2006 ) ถือว่า “สะอิดสะเอียน” จัดเป็นอารมณ์ความรู้สึก 1ใน 8 อย่าง ได้แก่ ความโกรธ (Anger) กลัว (Fear) เศร้าสร้อย (Sadness) สะอิดสะเอียน (Disgust) ประหลาดใจ (Surprise) ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) การยอมรับ (Acceptance) และความปิติ (Joy)

Plutchik ได้เสนอว่า อารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้เป็นการตอบสนองขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆเพื่อให้คนสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อม เพื่อมีการดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคม และจรรโลงสังคมในทางที่ถูกต้อง เหมาะสม

ความสะอิดสะเอียนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีหน้า (ซึ่งสีหน้าสามารถจำแนกได้ถึง 15 แบบ ตามทฤษฎีของ Paul Ekman) โดยที่จะมีหัวใจเต้นช้าลง ซึ่งต่างจากปฏิกิริยาของหัวใจที่เต้นเร็วขึ้นในอารมณ์กลัว หรือโกรธ
ดังนั้น “สะอิดสะเอียน” ขณะนี้ในปัจจุบันไม่ได้จำกัดว่าเป็นความรู้สึก หรือสัญชาติญาณ เพื่อป้องกันชีวิตแต่อย่างเดียว (เช่น มีต่ออาหารที่เป็นพิษ สิ่งปฏิกูล อาหารบูด เน่าเสีย ของเสีย)

แต่เป็นสัญชาติญาณ อารมณ์ ความรู้สึกที่มีปฏิกิริยา ต่อความไม่ถูกต้องทางศีลธรรม ความไม่ถูกต้องของสังคม ต่อความประพฤติเลวร้าย ซึ่งรวมถึงการย่ำยีผู้ไม่มีทางสู้ ผู้ด้อยโอกาส

ความ “สะอิดสะเอียน” ก่อให้เกิดความรู้สึก “ละอาย” ต่อพฤติกรรม ความประพฤติที่ผิดมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นที่ผู้อื่นก่อขึ้น หรือเป็นจากที่ตนเองก่อก็ตาม

สมองที่มีส่วนใน “สะอิดสะเอียน” อยู่ที่ anterior insula (Nature, 1997) จากการศึกษาโดยคอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Functional magnetic resonance imaging) แต่ยังมีข้อโต้แย้งในตำแหน่งของสมองส่วนนี้บ้าง (Neuroreport, 2002; Neuroimage, 2004) ผู้ป่วยที่มีสมองผิดปกติทางกรรมพันธุ์ (Huntington’s disease) ปรากฏว่าไม่มีปฏิกริยาของความ “สะอิดสะเอียน” ต่อการรับรู้ทางวัตถุสิ่งของหรือทางการรับรส โดยที่มีความเสื่อมของสมองเป็นคนละส่วนกันกับ anterior insula

คนในประเทศ มีความรู้สึก คลื่นไส้/อาเจียน และ “สะอิดสะเอียน” ต่อการกระทำ การประพฤติผิดมิชอบ
ขอเรียนวิงวอนประชาชนกลับหันมาพินิจพิเคราะห์ที่สถานการณ์ประเทศของเราควรอย่างยิ่งที่จะมีการพัฒนาสมอง จิตใจ จิตสำนึกดวงเดียวกัน “ต้านโกง”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ในหลวง พระราชินี ทรงเปิดอาคาร 'จักรีทศมรามาธิบดินทร์' โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคาร "จักรีทศมรามาธิบดินทร์" ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

'เส้นเลือดแตกในสมอง' ทำไมพบบ่อยมากและรุนแรงขึ้น

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เส้นเลือดแตกในสมอง

ไขข้อข้องใจ! ทำไมกินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี…… สนใจมั้ย?

'หมอสมอง' เตือน! 'บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ' เสี่ยงอัมพฤกษ์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ…แล้วก็เสี่ยงอัมพฤกษ์

เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"