ชัดเจน! 'เอ็ดดี้' ร่ายยาว ทำไมไม่ควรยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ลดขนาด-ตัดงบประมาณกองทัพ

กองทัพและแสนยานุภาพทางการทหาร มิได้มีไว้เพียงเพื่อพร้อมรบเท่านั้น แต่กองทัพยังมีไว้เพื่อปกป้องเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองทั้งในและต่างประเทศ

28 มี.ค.2566- อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ประเด็น “ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ลดขนาด-ตัดงบประมาณกองทัพ คือเกมการเมืองเพื่อหาเสียงเลือกตั้งเสียงของนักการเมืองแดงส้มล้ม……” มีรายละเอียดดังนี้
………………………………………………..………
ก่อนจะเข้าเนื้อหาขอเริ่มด้วยคำถามว่า เพื่อไทยหรือเพื่อใคร ก้าวไกลก้มหน้า SC Asset ไทยซัมมิท มี รปภ.อยู่หรือไม่ มีนโยบายลดหรือเลิก หรือไม่ !

คอนโด หมู่บ้าน บริษัท ที่น้องๆ ส้มแดงสามนิ้วอาศัยหรือสังกัดอยู่ มี รปภ.อยู่หรือไม่ มีนโยบายลดหรือเลิก หรือไม่ !
………………………………………………..…………
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ชูธงมาตั้งแต่เป็นหัวหน้าพรรค อนาคตใหม่ ว่าจะยกเลิกการเกณฑ์ทหาร พร้อมตัดงบประมาณกองทัพ และลดกำลังพลลง

พิธา ยังคงย้ำว่า พรรคก้าวไกลยืนยันมาตลอดตั้งแต่ครั้งเป็นพรรคอนาคตใหม่ ถึงความจำเป็นของการปฏิรูปกองทัพ ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร

พรรคเพื่อไทย หาเสียงให้ ลดขนาดกองทัพไทย ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร เพื่อลดรายจ่ายภาครัฐ

ขบวนการสามนิ้ว ส้มแดง ประสานเสียงว่า มีทหารไว้ทำไม ซื้ออาวุธ-เรือดำน้ำทำไม ในเมื่อในปัจจุบันไม่มีสงครามแล้ว ไม่มีการรบกันแล้ว

ความจริงเป็นเช่นไร ?
………………………………………………..…………
สงครามในตะวันออกกลางมีอยู่และดำรงอยู่ตลอดมา ไม่เคยสงบ ภูมิเอเชีย-แปซิฟิกใกล้บ้านเรา ก็แข่งขันกันเรื่องแสนยานุภาพและสะสมอาวุธ ทั้ง จีน เกาหลีเหนือ ออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา

เมื่อลองมองไปรอบๆ โลกพบว่าปัจจุบันมีอยู่เกือบ 40 ประเทศทั่วโลก ที่ยังคงให้บุคคลผู้มีอายุถึงเกณฑ์ที่ทางรัฐกำหนดต้องเข้าเป็น “ทหาร”

ล่าสุดที่ชัดเจนและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอย่างรุนแรงไปทั่วโลกโดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรปคือ สงครามรัสเซีย-ยูเครน

ทำให้มีบางประเทศ ที่เคยยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ปัจจุบันกลับมามีการเกณฑ์ทหารอีกครั้ง

ตัวอย่างเช่น สวีเดนจะกลับมาใช้ระบบบังคับเกณฑ์ทหารอีกครั้ง หลังจากที่ยกเลิกไปนานกว่า 7 ปี เพื่อรับมือกับภัยความมั่นคง

ผู้นำจากทุกฝ่ายของรัฐสภาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Bundestag) ต่างสนับสนุนการรื้อฟื้นบังคับเกณฑ์ทหารของกองทัพเยอรมนี นายกรัฐมนตรีเยอรมันนีจัดงบประมาณพิเศษครั้งเดียวในปี 2565 จำนวน 100,000 ล้านยูโร เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งแก่กับกองทัพเยอรมนี นอกจากนี้ยังให้สัญญาจะเพิ่มการใช้จ่ายทางกลาโหมของเยอรมนีให้มากกว่า 2% ของจีดีพีภายในปี 2024
………………………………………………..…………
หากย้อนไปในอดีต เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายใหม่ๆ ยูเครนเป็นรัฐเอกราชที่มีแสนยานุภาพทางทหารที่เป็นที่น่าหวั่นเกรงของนานาประเทศ โดยมีขีปนาวุธนิวเคลียร์จำนวนมาก อาจจะเป็นอันดับ 3 ของโลกในขณะนั้น แต่ยูเครนกลับถูกประเทศมหาอำนาจตะวันตกหว่านล้อมให้ปลดอาวุธนิวเคลียร์ โดยยื่นข้อเสนอว่า จะให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ประธานาธิบดีของยูเครนในอดีตก็หลงกล ปลดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งทำให้ยูเครนสูญเสียพลังอำนาจในการต่อรองไปอย่างไม่น่าให้อภัย

นอกจากขีปนาวุธนิวเคลียร์แล้ว เรือดำน้ำก็ถือเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญเช่นกัน ถือว่าเป็นแสนยานุภาพที่ร้ายกาจมากพอที่จะช่วยป้องปราม เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความยับยั้งชั่งใจก่อนการตัดสินใจใช้กำลังทางทหาร

ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ผมก็ขอยกตัวอย่างง่ายๆ เวลานักเลงปากซอยจะตีกัน ถ้าฝ่ายเขามีปืนกันทุกคนและฝ่ายเราก็มีปืนกันทุกคน ต่างฝ่ายย่อมจะคิดให้ดีก่อนจะลงมือ แต่ถ้าฝ่ายเขามีปืน แต่ฝ่ายเราไม่มี เขาก็ชักปืนยิงเราโดยไม่ต้องคิดอะไรเลย

เป็นที่น่าเสียดาย ที่เรือดำน้ำเพียงหนึ่งลำของยูเครน ถูกรัสเซียยึดไปในช่วงที่รัสเซียผนวกแหลมไครเมียเมื่อปี พ.ศ.2557 ถือได้ว่าเป็นการสูญเสียกำลังทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญไปอีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้นในสถานการณ์นี้ รัสเซียก็ไม่มีความกังวลอะไรเมื่อคิดจะบุกยูเครน เพราะยูเครนหมดอำนาจต่อรองกับรัสเซียไปนานแล้ว เหมือนกับมวยที่หมดทางสู้ตั้งแต่ยังไม่เริ่มชก
……………………………………………….…………
แม้สหรัฐฯ จะเรียกร้องให้นานาประเทศร่วมกันคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย แต่ก็ยังมีหลายประเทศ รวมทั้งบริษัทต่างชาติอีกหลายแห่ง กลับยังไม่กล้าแซงก์ชั่นรัสเซีย เนื่องด้วยสาเหตุอะไร ถ้าไม่ใช้แสนยานุภาพทางการทหารของรัสเซีย และพลังงานที่ประเทศตะวันตกต้องพึ่งพา

แล้วหันมาดูบ้านเรา แม้ว่าเราจะมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และทางการทูตในระดับหนึ่งแล้ว แต่แสนยานุภาพทางการทหารของไทย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน จะสามารถช่วยส่งเสริมและสนับสนุนเสถียรภาพทางการเมือง อำนาจการต่อรองทางการทูต และความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้หรือไม่
……………………………………………….…………
อ่าวไทย

เห็นตัวอย่างที่ยูเครนโดนประเทศมหาอำนาจตะวันตกหลอกให้ปลดอาวุธ ลดแสนยานุภาพทางทหารแล้วทำให้คิดถึงม็อบและพรรคการเมืองไทยที่อยู่เบื้องหลังม็อบที่ออกมากดดันให้รัฐบาลลดกำลังพล ยกเลิกการสั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งเรือดำน้ำหรือไม่

ขอถือโอกาสเล่าถึงความสำคัญของการปกป้องอ่าวไทย

ท่านทั้งหลายเคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่า สินค้าอุปโภคบริโภคที่นำเข้าเพื่อปากท้องของคนในประเทศและสินค้าส่งออกซึ่งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ประเทศเจริญรุ่งเรือง ส่วนใหญ่ขนส่งโดยใช้เส้นทางน้ำผ่านอ่าวไทยและทะเลอันดามันเป็นหลัก ความปลอดภัยของเรือสินค้าและเรือขนส่งน้ำมัน ที่ผ่านเข้าออกอ่าวไทยและทะเลอันดามันขึ้นอยู่กับอะไร ถ้าไม่ใช่แสนยานุภาพของกองทัพเรือ

มีกลุ่มคนบางกลุ่มพูดว่า สงครามไม่มีวันเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน แต่ตอนนี้คงได้คำตอบแล้วว่าสงครามเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ถ้าเรายกเรื่องสงครามออกไป แสนยานุภาพทางการทหาร รวมทั้งเรื่องของเรือดำนำ ก็ยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดของชาติ ขอยกตัวอย่างเรื่องการขนส่งข้ามประเทศเพียงเรื่องเดียว

การขนส่งข้ามประเทศในปัจจุบันนี้มีความสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังมีทางเลือกในการบริการหลากหลายขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางอากาศ หรือทางเรือก็ตาม แต่การขนส่งทางเรือนั้นมีมาอย่างช้านาน ตั้งแต่สมัยยังไม่มีเครื่องบิน โดยการขนส่งทางเรือ มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการขนส่งทุกประเภท และการขนส่งสินค้าทั่วโลกกว่า 95% เป็นการขนส่งทางเรือ

ผลประโยชน์จากการขนส่งทางเรือเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ที่มีผลโดยตรงต่อปากท้องของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ

ท่านเห็นหรือไม่ว่าสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้น้ำมันราคาแพงขึ้นในทันตาขนาดไหน แล้วทราบกันหรือไม่ว่า ถ้ามีใครก็ตามนำเรือดำน้ำเข้ามาเพียง 2 ลำ ก็สามารถปิดอ่าวไทยได้สนิทแล้ว โดยไทยไม่มีโอกาสตอบโต้ใดๆ เลย เพราะเรายังไม่มีเรือดำนำ ที่จะเอาไว้รบหรือเอาไว้ขู่ศัตรู

นอกจากนี้ น้ำมันสำรองที่เรามีในประเทศนั้น มีใช้ได้เพียง 66 วันเท่านั้น ลองคิดดูว่าจะเกิดความวุ่ยวายอะไรขึ้น ความมั่งคงทางด้านพลังงานคือความมั่งคงของชาติ

ในอดีตอ่าวไทยก็เคยถูกปิดด้วยเรือดำน้ำต่างชาติ และเรือสินค้าก็เคยถูกยิงจมมาแล้วในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ถ้าอ่าวไทยถูกปิดอีกครั้ง หรือมีการจมเรือขนส่งน้ำมันหรือเรือสินค้าอีก ก็จะไม่มีใครกล้าผ่านอ่าวไทย ผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนในชาติ อุตสาหกรรม และการพาณิชย์จะเป็นอย่างไร ท่านทั้งหลายคงพอจะจินตนาการได้
……………………………………………….…………
ทรัพยากรแสนล้านใต้อ่าวไทย จะให้ใครดูแล ถ้าไม่ใช่กองทัพเรือ

เมื่อปี พ.ศ.2515 ได้มีการสำรวจพบว่า ใต้ทะเลทางตอนใต้ของไทยและทางเหนือของมาเลเซีย เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติปริมาณมหาศาล ทั้งไทยและมาเลเซียต่างก็อ้างสิทธิในพื้นที่ทางทะเลดังกล่าว จนเกิดข้อโต้แย้งกันขึ้น และมีการตั้งโต๊ะเจรจาอย่างจริงจัง ซึ่งการเจรจาในครั้งนั้นจบลงด้วยการใช้วิธีการลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของแผ่นดินของแต่ละฝ่ายตามหลักสากล ซึ่งทำให้พื้นที่แหล่งก๊าซธรรมชาติกลายเป็นของมาเลเซียทั้งหมด

แต่แล้วความโชคดีของไทยก็มาเยือน เมื่อเราพบ“เกาะโลซิน”ซึ่งเป็นกองหินใต้ทะเล คล้ายกับภูเขาหินขนาดย่อม ที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาเพียง 10 เมตร และมีฐานกองหินใต้ผืนน้ำกว้างประมาณ 50 ตารางเมตร ไม่มีหาดทราย ไม่มีต้นไม้ใดๆ ทั้งสิ้น มีเพียงประภาคารตั้งโดดเด่นเป็นจุดสังเกตแก่นักเดินเรือเท่านั้น

เกาะโลซิน ที่ทางการไทยยืนยันว่าได้ก่อสร้างประภาคารไว้บนเกาะหินแห่งนี้ เพื่อแสดงอาณาเขตมาเนิ่นนานแล้วนั้น ได้กลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญ เนื่องจากตามอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล เกาะโลซินถือเป็นจุดอ้างอิงในการประกาศน่านน้ำอาณาเขต จากเกาะโลซินออกไป 200 ไมล์ทะเล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอย่างก๊าซธรรมชาติ

จึงทำให้ทั้งสองประเทศต้องลงนามในสัญญาพื้นที่พัฒนาร่วม (JDA) ซึ่งสัญญานี้จะสิ้นสุดลงในอีก 5 ปี คือ ปี พ.ศ.2571 เมื่อถึงเวลานั้น เราก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่า ความขัดแย้งเรื่องทรัพยากรใต้ทะเลเช่นในอดีตจะไม่เกิดขึ้นอีก และหากความขัดแย้งเกิดขึ้น ไทยจะใช้อะไรเพื่อเพิ่มอำนาจการเจรจาต่อรองทางการทูต

แหล่งก๊าซธรรมชาติปริมาณมหาศาลนับแสนล้านนี้จะมอบความไว้วางใจให้ใครดูแล ถ้าไม่ใช่กองทัพเรือ แล้วแสนยานุภาพทางเรือของเราพร้อมขนาดไหน ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีเรือดำน้ำทุกประเทศ แต่เรายังไม่มีแม้แต่ลำเดียว มีเพียงการสั่งต่อเรือดำน้ำเพียง 1 ลำ เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพออย่างแน่นอน นอกจากนั้น ยังถูกการเมืองเล่นงานอยู่ตลอดเวลา

เราอยากให้ประเทศไทยของเราเป็นอย่างยูเครนหรือ ที่ถูกประเทศมหาอำนาจตะวันตก หลอกให้ลดแสนยานุภาพทางการทหาร จนหมดอำนาจในการต่อรองและอำนาจในการปกป้องทรัพยากรของประเทศ อย่างนั้นหรือ?
เราอยากให้อธิปไตยและความมั่นคงของชาติถูกกำหนดด้วย ข้อมูลที่บิดเบือนและเกมส์การเมืองอย่างนั้นหรือ?
………………………………………………..…………
สรุป

กองทัพและแสนยานุภาพทางการทหาร มิได้มีไว้เพียงเพื่อพร้อมรบเท่านั้น แต่กองทัพยังมีไว้เพื่อปกป้องเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ยังรวมถึง การสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลในการช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ของพี่น้องประชาชน
………………………………………………..…………
อ่านมาจนจบแล้ว ท่านยังคิดว่า เราควรยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ลดขนาด-ตัดงบประมาณกองทัพ

หรือเราควรสร้างความมั่นคงทางการทหารเพื่อสร้างความมั่นใจในการปกป้องชาติ ประชาชนและการเมืองทั้งในและต่างประเทศ

รวมถึงการปกป้องเศรษฐกิจการค้า เส้นทางเดินเรือ ทรัพยากรธรรมชาติ หรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุทิน' ยันไม่ล้วงลูก ทอ. เลือก 'กริพเพน' หรือ 'เอฟ-16' เชื่อไม่กระทบสัมพันธ์ สองค่ายขั้วเดียวกัน

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ ภายหลังกองทัพอากาศ ได้สรุปข้อมูล 2 แบบ ได้แก่ F-16 Block 70 บริษัท Lockheed Martin สหรัฐ​อเมริกา และ Gripen E บริษัท SABB สวีเดน ผ่านมายัง รมว.กลาโหม

ครม. อนุมัติโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดของกลาโหม ปีงบประมาณ 68-70

นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม (กห.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570

เอาแล้ว! ทูตสหรัฐส่งหนังสือจี้ 'เศรษฐา' เร่งซื้อเอฟ-16

เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ส่งหนังสือถึงนายกฯ เร่งเครื่องโค้งสุดท้ายดัน เอฟ-16 เสนอเงินกู้ยืม 9 ปีแต่เสียดอกเบี้ย -การค้าต่างตอบแทนกับไทย ก่อน ทอ. ฟันธงเลือกแบบในเร็วๆ นี้

'เรือดำน้ำ' ส่อแววจบไม่ทันยุค 'บิ๊กดุง' หลังหลายฝ่ายกังวลข้อกฎหมาย

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเรือดำน้ำ ที่ยังอยู่ระหว่างการดูข้อกฎหมายของนายกรัฐมนนตรี จะเสร็จทันนำเข้า ครม. ก่อนที่ ผบ.ทร. จะเกษียณฯ 30ก.ย.นี้ หรือไม่ ว่า พยายามจะทำให้เร็วที่สุด ไม่ได้กับยึดโยงกับเรื่องเกษียณฯ