บี้ 'ชัชชาติ' ทวงคืน 'สวนชูวิทย์' สาธารณสมบัติแผ่นดิน

24 มี.ค. 2566 – เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อสอบถามสถานะของที่ดินสวนชูวิทย์ บริเวณสุขุมวิท ซอย 10 หลังเคยมีกรณีพิพาทกันในคดีรื้อทุบบาร์เบียร์ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามกฎหมายไปแล้วหรือไม่

ทั้งนี้สืบเนื่องจากเมื่อ 22 พ.ค.2548 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ จัดแถลงข่าวครั้งแรกระหว่างการต่อสู้คดีรื้อบาร์เบียร์ในศาล เพื่อแสดงความตั้งใจว่าไม่ต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดินผืนดังกล่าว และจะนำที่ดินคืนสาธารณะให้สังคมโดยจัดทำเป็นสวนสาธารณะ และต่อมาวันที่ 24 ธ.ค.2548 ไม่ทันถึงปีนายชูวิทย์ก็จัดแถลงข่าวเปิดตัวสวนชูวิทย์และกล่าวในวันนั้นว่า เจตนาที่จะเสียสละนำที่ดินดังกล่าวสร้างเป็นสวนสาธารณะให้กรุงเทพมหานคร ให้เป็นปอดของคน กทม. ได้ใช้ประโยชน์แทนโครงการสร้างโรงแรม เรียกว่า “สวนชูวิทย์”

ต่อมาในคดีรื้อบาร์เบียร์นั้น ศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อ ม.ค.59 ว่าที่ดินพิพาทบริเวณสุขุมวิทซอย 10 นั้นศาลฎีกาเห็นว่าหลังเกิดเหตุ นายชูวิทย์กับพวก ได้ร่วมกับจำเลยอื่นชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายไปบางส่วนแล้ว และยังมีการนำที่ดินพิพาทไปทำประโยชน์เป็นสวนสาธารณะให้ประชาชนทั่วไปใช้ได้ โดยไม่ได้นำที่ดินไปทำธุรกิจแสวงหาผลกำไรอีก บ่งบอกว่าจำเลยรู้สึกสำนึกผิด นับว่ามีเหตุปรานี เห็นสมควรกำหนดโทษใหม่ให้เหมาะสม พิพากษาแก้ว่าจากจำคุก 5 ปี ให้เหลือแค่ 2 ปี ไม่รอลงอาญา

แต่ทว่าปัจจุบันสวนดังกล่าวไม่มีแล้ว เพราะถูกนำไปพัฒนาเป็นอาคารสูงโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ อันเป็นที่สงสัยและวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมกันอย่างมากว่า การอุทิศที่ดินของนายชูวิทย์ให้เป็นสวนสาธารณะ โดยมิได้นำไปจดทะเบียนนั้น จะถือได้ว่าที่ดินกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจดทะเบียนการให้ต่อเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 525 อันมีผลโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วหรือไม่ หากมีผลสมบูรณ์แล้ว เป็นหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม.ที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย

ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจำต้องนำความมาร้องถามผู้ว่าฯ ชัชชาติ ให้วินิจฉัยและดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในวันนี้ ซึ่งหากท่านผู้ว่าฯ วินิจฉัยว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวมีสถานะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามกฎหมายแล้วไซร้ กทม. ก็ต้องดำเนินการเรียกคืนที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นสวนสาธารณะ หรือให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามครรลองของกฎหมายต่อไป หากไม่ดำเนินการสมาคมฯ จำต้องนำความไปยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฝุ่น PM 2.5 กทม. แนวโน้มลดลง เกินค่ามาตรฐานเหลือ 15 พื้นที่ อยู่ฝั่งธนบุรีเป็นส่วนมาก

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร

คนกรุงเทพฯ สำลักฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน อยู่ในระดับสีส้ม 63 พื้นที่

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 07.00 น. : ตรวจวัดได้ 34.3-74.3 มคก./ลบ.ม. พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 63 พื้นที่ คือ

นักวิชาการ เตือนคนกรุงฝุ่น PM 2.5 สูงมาก อากาศข้างนอกเย็นสบาย แต่ออกไปอาจป่วยตายได้

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า กรุงเทพฯช่วงนี้ อากาศข้างนอกเย็นสบายแต่ออกไปอาจป่วยตายได้..

สส.รทสช. จี้ ‘ผู้ว่าฯกทม.’ เร่งแก้ปัญหาคนแร่ร่อน นอนเกลื่อนถนนริมคลองหลอด

สส.เกรียงยศ จี้กทม.เร่งแก้ปัญหาคนแร่ร่อนนอนเกลื่อนถนนริมคลองหลอดใกล้ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครแค่เอื้อม หวั่นชาวต่างชาตินำภาพไปเผยแพร่จะเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีกับเมืองท่องเที่ยว ดักคออย่าโยนให้แต่กระทรวงพม.