โฆษกศาลฯ แจงคืบหน้าตรวจสอบ ปมถอนหมายจับ ส.ว.ชื่อดัง

โฆษกศาลยุติธรรม ชี้เรื่องการถอนหมายจับ สว.คนดัง ยังอยู่ในขั้นตอน คณะกรรมการสดับตรับฟังรวบรวมข้อเท็จจริงเสนอ ปธ.ฎีกา และยังขยายเวลาได้อีกขึ้นอยู่กับความจำเป็น ส่วนผู้พิพากษาปรึกษากับอธิบดีศาลเป็นเรื่องปกติตามรัฐธรรมนูญ

23 มี.ค.2566 - ที่สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ถ.รัชดาภิเษก ในงานมอบรางวัลโครงการจัดประกวดคัดเลือกศาลดีเด่นเพื่อประชาชน นายสรวิศ ลิมปรังสี โฆษกศาลยุติธรรม ได้ให้สัมภาษณ์กรณีประเด็นการร้องขอออกหมายจับ นายอุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภา ว่าตอนนี้อยู่ระหว่าง คณะกรรมการสดับตรับฟังที่ เป็นผู้พิพากษาระดับอาวุโส ได้นำข้อมูลข้อเท็จจริงเบื้องต้นเพื่อมาดูว่าที่จริงแล้วเกิดอะไรขึ้น และคณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ นำข้อมูลทั้งหมดมาสรุป และทำความเห็นเสนอ นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา ถ้าเห็นแล้วว่าเป็นไปตามขั้นตอนของกฎระเบียบและกฎหมาย ก็จะยุติเรื่องไปหรือว่าจบเรื่องนั้น แต่ถ้าข้อเท็จจริงที่สรุปมาอาจมีโอกาสเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวินัยก็จะมีการเสนอความเห็นเพื่อเร่งสอบข้อเท็จจริงต่อไป แต่ตอนนี้คณะกรรมการอยู่ระหว่างรวบรวมข้อเท็จจริงทุกด้าน ทุกคนที่เกี่ยวข้อง และยังไม่ได้ข้อสรุปที่เป็นทางการ โดยมีระยะเวลากำหนดไว้ 30 วัน ซึ่งยังสามารถขยายได้อีกหากมีความจำเป็นทั้งนี้เรื่องดังกล่าวเป็นการดำเนินการเป็นการลับ ตนไม่ได้เข้าร่วมด้วย

เมื่อถามว่าการออกหมายจับของ ส.ส.และ ส.ว. ต่างจากการออกหมายจับบุคคลธรรมดาอย่างไร นายสรวิศ กล่าวว่า เกณฑ์เบื้องต้นไม่ต่างกัน ศาลพิจารณาข้อหาที่ออกหมายจับ เช่นมีโทษจำคุกเกิน 3 ปีหรือไม่ หากโทษไม่เกิน 3 ปีก็จะดูพฤติการณ์ประกอบว่ามีพฤติการณ์หลบหนี หรือจะยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน หรืออาจจะไปทำอันตรายประการอื่น และดูปัจจัยแม้ว่าโทษจะสูงแต่ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ก็อาจจะไม่ได้ออกหมายจับ ยกตัวอย่างปีที่แล้วก็มีการออกหมายจับ ส.ส. โดยศาลได้มีการออกหมายเรียก ก่อน 2 ครั้ง ซึ่งที่จริงแล้วก็คือแนวปฏิบัติเดียวกัน คือการเป็นบุคคลสำคัญไม่ได้เป็น ประเด็นสำคัญในพิจารณาคดี การที่มีอาชีพการงาน มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งโอกาสจะหนีก็ไม่สูง การออกหมายเรียกก็เป็นขั้นตอนปกติอยู่แล้วไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นบุคคลสำคัญหรือไม่

เมื่อถามว่าการออกหมายจับแล้วผู้พิพากษาจะต้องมีการหารือกับผู้บริหารของศาลนั้นเป็นเรื่องปกติหรือไม่ โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า ถ้าดูจากกฎหมาย อย่างรัฐธรรมนูญศาลยุติธรรมให้อำนาจของอธิบดีไม่ว่าจะเป็นอธิบดีศาลชั้นต้น อธิบดีภาค มีหน้าที่ประการหนึ่ง คือการให้คำแนะนำคำปรึกษาเพื่อระมัดระวังให้เป็นไปตามระเบียบ ราชการ ดังนั้นการปรึกษากันจึงเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ส่วนการออกหมายจับและการเพิกถอนหมายจับภายในวันเดียวนั้นประเด็นดังกล่าวต้องขอให้รอทางคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นสรุปข้อมูลดีกว่าเพราะบางเรื่องก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง เป็นประเด็นที่ยังต้องรอทางคณะกรรมการและประธานศาลฎีกา ส่วนที่ฝ่ายสืบสวนของตำรวจสามารถขอออกหมายจับกับทางศาลนั้น การที่เป็นตำรวจโดยหลักก็มีอำนาจ แต่จะมีอำนาจถึงขั้นใด ต้องขึ้นอยู่กับระเบียบของทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก.ต. เสนอ ปธ.ศาลฎีกา ตั้ง คกก.สดับตรับฟังข้อเท็จจริง ปมถุงขนมภาคสอง

ก.ต.เสนอ ปธ.ศาลฎีกา ตั้ง คกก.สดับตรับฟัง ข้อเท็จจริง หลังทราบข่าวปูดถุงขนมภาคสอง พาดพิงอำนาจศาลประกันตัวผู้ต้องหา โฆษกศาลเผยยังไม่มีการตั้ง คกก.สอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นต้น

โฆษกศาลแจงกรณีสั่งหาเอกสารยืนยัน 'บุ้ง' เสียชีวิต เป็นไปตามขั้นตอนก่อนจำหน่ายคดี

กรณี น.ส.ณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ หรือ ใบปอ ทะลุวัง เพื่อนของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้ง จำเลยคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการทำโพลขบวนเสด็จ ที่บริเวณลานหน้าห้างสยามพารากอน

ศาลอาญาดีเดย์ต้น เม.ย.เปิดแผนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

เม.ย.อธิบดีศาลอาญาเปิดเเผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจัดผู้พิพากษาเชี่ยวชาญนั่งพิจารณาคดีบัญชีม้า เว็บพนันฉ้อโกงออนไลน์ทันท่วงที ต่อยอดการเป็นศาลดิจิทัลสืบพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์

ยิ่งลักษณ์ เฮ! ศาลฎีกาฯ ยกฟ้องจัดอีเวนต์เอื้อประโยชน์ พร้อมถอนหมายจับ

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีการอ่านคำพิพากษาคดี อม.2/2565 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

โฆษกศาลฯแจงไทม์ไลน์คดี 'ยิ่งลักษณ์' ศาลฎีกาใช้เวลาพิจารณาเพียง1 ปี 5 เดือน

โฆษกศาลยุติธรรมแจงไทม์ไลน์คดียิ่งลักษณ์ศาลฎีกาใช้เวลาพิจารณาพิพากษาเพียง 1 ปี 5 เดือนเศษไม่ใช่ 12 ปีตามที่สื่อบางแห่งเสนอ

‘ลุงพล’ยกเหตุ ไม่ได้เจตนาฆ่า สู้ในชั้นอุทธรณ์

โฆษกศาลฯ ระบุความเห็นแย้งของหัวหน้าศาลและอธิบดีศาลภาค 4 "คดีน้องชมพู่" จะถูกส่งไปยังศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีผลในการเปลี่ยนแปลงของคำพิพากษาโดยตรง