โพลเผยคนไทยหนุนศึกษาวิจัยรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ!

คนส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะมีการวิจัยเรื่องภัยพิบัติเพื่อให้เตรียมความพร้อมรับมือให้ดี มองเรื่องอากาศเป็นเรื่องด่วนที่สุด ส่วนเรื่องสึนามิรั้งบ๊วย!

23 มี.ค.2566 - ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพลของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับ ฟิวเจอร์เอิร์ธแห่งประเทศไทย (Future Earth Thailand) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่อง การศึกษา (วิจัย) ภัยพิบัติเพื่อการป้องกันและเตรียมความพร้อมของประเทศ ซึ่งทำการสำรวจในเดือนมีนาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 400 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติเพื่อการป้องกันและเตรียมความพร้อมของประเทศ

โดยจากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการศึกษา (วิจัย) เรื่องภัยพิบัติ (น้ำท่วม แผ่นดินไหว สึนามิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ พบว่า ตัวอย่าง 78% ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา 17.25% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย 2.50% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และ 2.25% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องภัยพิบัติที่ต้องทำการศึกษา (วิจัย) อย่างเร่งด่วนมากที่สุด พบว่า 46% ระบุว่า เรื่องคุณภาพอากาศ เช่น PM 2.5 รองลงมา 26.75% ระบุว่า เรื่องการป้องกันน้ำท่วม/การตื้นเขินของแม่น้ำหรือทะเลสาบ 13% ระบุว่าเรื่องภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ภาวะโลกร้อน 9% ระบุว่า เรื่องการเกษตรสมัยใหม่ 3.5% เรื่องแผ่นดินทรุดตัว เช่น ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 1.75% ระบุว่า เรื่องสึนามิ (Tsunami)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

น้ำท่วมภูเก็ตเริ่มคลี่คลาย 2 อำเภอประสบภัยเสียหายหนัก เร่งฟื้นฟูพื้นที่

นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่าสถานการณ์น้ำท่วมขังในจังหวัดภูเก็ต ขณะนี้ได้คลี่คลายเข้าสู่สภาวะปกติสามารถเดินทางสัญจรได้ทุกพื้นที่

เหนื่อยแน่! เพื่อไทย รับต้องปรับยุทธศาสตร์ หลังผลโพลตามหลังก้าวไกล

นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลนิด้าโพลเปิดผลโพลในไตรมาส 2 ที่ ปรากฏว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ พรรค

อุตุฯ พยากรณ์มรสุมกำลังอ่อนลง ทั่วไทยฝนลด ยังตก 35 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง

ผู้เชี่ยวชาญ เตือนสถานการณ์เลวร้ายที่สุด อาจเกิดขึ้นเสมอจากสภาพอากาศรุนแรง

ารเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้สภาพอากาศแปรปรวนมากขึ้น โดยที่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีขีดจำกัดในการคาดการณ์