‘อดีตอธิการบดี มธ.’ สอน ‘ก้าวไกล-ก้าวหน้า-3นิ้ว’ รู้จักยุทธศาสตร์ชาติก่อนจะชูธงล้ม

‘รศ.หริรักษ์’ อดีตรองอธิการบดีฯ มธ. สอน ‘ก้าวไกล-คณะก้าวหน้า-3นิ้ว’ อย่าใช้อคติล้มเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล แนะต้องเรียกร้องข้อดีข้อเสีย ก่อนตั้งธงยกเลิกเสียทุกอย่าง

28 พ.ย.2564-รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า พรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้า และแนวร่วม 3 นิ้ว พยายามที่จะให้ยกเลิกทุกอย่างที่เกิดจาก คสช โดยไม่สนใจว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศหรือไม่ ไม่ว่าอะไรที่เกิดขึ้นจาก คสช ถือว่าไม่ดีไปหมด นี่คือมุมมองที่เกิดจากอคติล้วนๆ

งานชิ้นหนึ่งที่พยายามจะให้ยกเลิก ก็คือ “แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ซึ่งความจริง แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก็ไม่ใช่แผนยุทธศาสตร์ที่ดีนัก แต่เหตุผลที่เป็นข้ออ้างที่ต้องการให้ยกเลิกคือ  1. ระยะเวลา 20 ปี ยาวนานเกินไป ในขณะที่โลกเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา แผนยุทธศาสตร์จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนตามโลก การกำหนดแผนนี้จึงไม่มีความยืดหยุ่นที่จะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนของโลกได้ 2. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นเสมือนโซ่ตรวนที่ผูกมัดไว้ถึง 20 ปี ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล แม้ไม่เห็นด้วยก็ต้องเดินตามแผนนี้

ผู้ที่อ้างเหตุผล 2 ข้อนี้ แสดงว่า ไม่ได้อ่านแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีดีพอ ซ้ำร้ายกว่านั้นยังอาจไม่มีความเข้าใจคำว่า ยุทธศาสตร์ และแผนยุทธศาสตร์ดีพออีกด้วย เราลองมาดูแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อย่างคร่าวๆว่ามีสาระสำคัญอย่างไร

แผนยุทธศาสตร์ หรือ strategic plan จะต้องประกอบด้วย พันธกิจ (mission) วิสัยทัศน์(vision) และแน่นอนว่าต้องมี ยุทธศาสตร์ (strategy) ต่อจากยุทธศาสตร์ก็จะเป็นแผนปฏิบัติหรือ operational plan หรือกิจกรรม(activities)ที่จะทำเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ที่กำหนด

ดูเหมือนว่า แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะไม่ได้กำหนดพันธกิจไว้ แต่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ดังนี้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน”

วิสัยทัศน์คือ ภาพที่เรามองเห็น หรือต้องการให้เป็นในอนาคต ซึ่งต้องถือว่า คสช ได้กำหนดวิสัยทัศน์ได้ดีพอสมควร สำหรับประเทศไทย เมื่อมาดูที่ยุทธศาสตร์ ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 6 ด้านดังนี้ 1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 2 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับเปลี่ยนค่านิยม และวัฒนธรรม การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

ต่อจากยุทธศาสตร์แต่ละด้านก็จะมีกิจกรรม หรือแผนปฏิบัติที่เขียนไว้กว้างๆ แต่ก็มีรายละเอียดมากพอควร ถึงตรงนี้เราลองมาดูบ้างว่า ยุทธศาสตร์ที่แท้จริงแล้วคืออะไร ยุทธศาสตร์ หรือ strategy เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน นั่นคือเราจะแข่งขันกับคนอื่นๆหรือประเทศอื่นๆด้วยอะไร เพื่อทำให้องค์กรหรือประเทศเราในอนาคตเป็นดังวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ยุทธศาสตร์จึงเป็นการเลือกที่จะไม่ทำ มากกว่าที่จะทำไปเสียทุกอย่าง เนื่องจากไม่มีองค์กรใดหรือประเทศใดที่มีทรัพยากรไม่จำกัด ที่จะทำทุกเรื่องทุกอย่างได้ ยุทธศาสตร์จึงมีได้เพียงหนึ่งเดียว ไม่ใช่มี 6 ด้านอย่างในแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ยุทธศาสตร์ 6 ด้านที่กำหนดไว้จึงไม่ใช่ยุทธศาสตร์แต่เป็นเพียงกิจกรรมที่เราต้องการจะทำที่แบ่งเป็น 6 ด้านด้วยกัน เนื่องจากไม่มียุทธศาสตร์ กิจกรรม 6 ด้านดังกล่าว จึงเป็นกิจกรรมที่ปราศจากทิศทาง ตัวอย่างเช่น การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แต่ในเมื่อในแผนไม่ได้กำหนดว่าจะแข่งขันด้วยอะไร จึงไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านใดและอย่างไร เมื่อไม่มีกำหนดไว้ จึงเขียนแผนครอบคลุมไปหมดทุกเรื่อง ซึ่งก็เป็นไปได้ยากที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันในทุกเรื่องได้พร้อมๆกัน

ยุทธศาสตร์ชาติที่ควรกำหนดคือ การมีจุดเน้น(focus) โดยอาจ focus ที่การเกษตรและจะแข่งขันด้วยความแตกต่างของผลิตผลทางการเกษตร และการแปรรูปสินค้าการเกษตร กิจกรรมที่ต้องทำกิจกรรมหนึ่งคือ การสร้างความสามารถในการแข่งขันของชาวนา ชาวไร่ เราก็จะต้องทุ่มเททรัพยากรไปกับการนี้ เพื่อให้ชาวนาชาวไร่ มีความรู้เพิ่มขึ้น ใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยขึ้น เพื่อสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพสูงและมีต้นทุนต่ำ 

ป้ายโฆษณาของห้าง DIY บอกว่า “ไม่ต้องตกใจหากพบว่า ของเราถูกกว่า” แสดงชัดเจนว่า DIY เลือกที่ไม่แข่งขันด้วยผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง แต่เลือกที่จะแข่งขันด้วยราคา ผู้ที่จะเป็นลูกค้าของ DIY ก็คือผู้ที่ต้องการสินค้าราคาถูกกว่า ไม่ใช่สินค้าคุณภาพสูงราคาแพง ในขณะที่สินค้า designer เช่น กระเป๋า Hermes เลือกที่จะไม่แข่งขันด้วยราคา แต่แข่งขันด้วยความแตกต่างของสินค้า หากสร้างความแตกต่างที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคได้ ก็จะสามารถตั้งราคาสูงได้ ลูกค้าของ Hermes จึงไม่ใช่ผู้ที่ต้องการสินค้าราคาถูก ตรงข้าม สินค้ายิ่งแพงยิ่งอยากได้เสียด้วยซ้ำ

ถึงแม้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ไร้ยุทธศาสตร์ แต่หากจะบอกว่า เป็นแผนที่ไม่มีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้นั้น ไม่จริง เนื่องเพราะ 6 ด้านที่กำหนดไว้ จะเรียกว่าเป็นยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นเพียงหัวข้อกว้างๆจนกว้างเกินไปไม่มีด้านไหนที่จะต้องเปลี่ยนตามโลก เช่น การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนอย่างไรก็ควรทำ สิ่งที่ต้องเปลี่ยนตามโลกคือ แผนปฏิบัติซึ่งเป็นรายละเอียดคือ จะสร้างระบบบริหารอย่างไรต่างหาก ซี่งก็สามารถเปลี่ยนแปลงตามตามทฤษฎีใหม่ๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆได้อยู่แล้ว การต้องการยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ขาติ 20 ปี ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น

“แทนที่จะให้ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลน่าจะเรียกร้องให้รัฐบาลนำเสนอต่อสาธารณะว่า หลังจากที่มีการประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีไปแล้วจนถึงปัจจุบัน ได้มีการดำเนินการอะไรตามแผนไปแล้วบ้าง หรือมีความคืบหน้าอะไรบ้าง มีอะไรที่บ่งชี้ได้ว่า หลังจาก 20 ปีผ่านไป โอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นไปตามวิสัยทัศน์คือ เป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีมากน้อยแค่ไหน ถ้าเรียกร้องเช่นนี้ จะขอลงชื่อสนับสนุนด้วยอย่างแน่นอน”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก้าวไกลแพ้! ศาลยกฟ้อง 'ณฐพร โตประยูร' แจ้งเท็จ-หมิ่น ล้มล้างการปกครอง

ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีดำ อ.308/2564 ที่พรรคก้าวไกล เป็นโจทก์ฟ้องนายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ,หมิ่นประมาทฯพร้อมเรียกค่าเสียหาย 20,062,475บาท   

รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง

'เพื่อไทย' ไม่ฟังเสียงต้าน! ดันทุรังเข็น 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน

'ธนาธร' ร่อนหนังสือถึงนายกฯอิ๊งค์ จี้เบรกรับซื้อพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ' ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่าได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี