'เอ็ดดี้' ชำแหละตัวอย่างตัวเป็นๆ 'ปากเก่ง แต่งานกาก'

18 มี.ค.2566 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค" มีรายละเอียดดังนี้

ตอนหาเสียง “ทำได้จริง Vs ตอนทำงาน ทำงาน ทำงาน ทำเต็มที่แล้ว ได้เท่านี้

เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2564

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว แนะวิธีลดค่าโดยสาร รถไฟฟ้า โดยได้ระบุข้อความว่า

“เรื่องอัตราค่าโดยสารใหม่ของ BTS คงเป็นเรื่องกังวลใจของพวกเราหลายๆ คน มีทางไหนไหม ที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง? วิธีหนึ่งที่หลายๆ ประเทศในโลกใช้กัน คือ เพิ่มรายได้ในส่วนของ Non-Fare รายได้จากกิจการรถไฟฟ้าหรือ กิจการขนส่งทั่วๆไป เราอาจมีรายได้ในสองรูปแบบคือ

1. Fare Revenue รายได้จากค่าตั๋วโดยสาร

2. Non-Fare Revenue รายได้จากกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าพื้นที่ ประโยชน์จากการเชื่อมต่อสถานี

จำนวนผู้โดยสารที่ผ่านระบบมากถึง 700,000 คน-เที่ยวต่อวัน ทำให้พื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้า ในขบวนรถไฟฟ้า ราวจับ รวมถึงรอบตัวรถไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งเสาโครงสร้างรถไฟฟ้า มีมูลค่าสำหรับการโฆษณาสูงมาก เราคงจะไม่เห็นพื้นที่ไหนที่มีการโฆษณามากเท่ากับพื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้าแล้ว

ผมเชื่อว่าถ้าเราบริหารจัดการให้ดี ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนให้ดี เราสามารถนำรายได้ในส่วนของ Non-Fare มาช่วยเสริมรายได้จากค่าโดยสารอีกไม่น้อยกว่า 20%

รายได้จากการโฆษณาและให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟฟ้า BTS ในปี 2562-2563 สูงถึง 2,183.89 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 30% ของรายได้จากค่าโดยสาร

ในอนาคต เมื่อสัมปทานปัจจุบันสิ้นสุดลง ถ้าเรามีการประมูลที่โปร่งใส ยุติธรรมกับทุกฝ่าย มีการนำรายได้อื่นๆ จากรถไฟฟ้ามาช่วยสนับสนุนค่าโดยสาร จะช่วยทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงได้ครับ”

ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564

สภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมกับ สำนักข่าว The Reporters จัดเสวนาออนไลน์หัวข้อ ‘รถไฟฟ้าต้องถูกลง ทุกคนต้องขึ้นได้ ผู้ว่าฯ กทม. ช่วยได้หรือไม่’

โดย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พูดถึงเรื่องราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

“ถ้าไม่เอากำไรแสนล้านบาท ค่าโดยสาร 25-30 บาทเป็นไปได้

กทม. ต้องรีบเจรจา เปิดเผยสัญญาจ้างเดินรถถึง 2585 ให้ชัดเจนว่าต้นทุนที่ต้องจ่ายเอกชนเท่าไร สัญญาเป็นธรรมหรือไม่ รัฐเสียเปรียบไหม ถ้าจ้างเอกชนแพงกลายเป็นว่าต้องไปปรับค่าโดยสารขึ้น

ค่ารถไฟฟ้า 25-30 บาทน่าจะเป็นไปได้ น่าจะทำได้ถูกกว่าราคา 65 บาทในปัจจุบัน นี่คือหัวใจของรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพราะคือสิ่งที่ กทม. รับผิดชอบโดยตรง และมีผู้โดยสารใช้มากที่สุด

ราคา 25-30 บาท ถ้า กทม. ไม่เอากำไรเป็นแสนล้านบาท ตัวเลขน่าจะเป็นไปได้ เอาค่าโฆษณามาช่วยน่าจะเอาอยู่ ถ้าราคาถูกลง จำนวนผู้โดยสารมากขึ้น ค่าโฆษณาก็จะดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น

ต้องแยกสัญญาเดินรถกับสัญญาโฆษณา เพราะเป็นคนละธุรกิจ ถ้าเราแยกจะสามารถทำรายได้สูงสุด ได้ผลประโยชน์สูงสุด”
https://thestandard.co/key-messages-cheap-train-fare.../

ทั้งนี้ ระหว่างหาเสียงนายชัชชาติระบุว่า จะไม่ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้เอกชน แต่จะใช้วิธีเจรจากับเอกชนต่อปัญหาหนี้ค่าจ้างเดินรถ และมีนโยบายโอนสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว(BTS) ที่เหมือนเส้นเลือดใหญ่ ให้กระทรวงคมนาคมรับไปดูแลบริหารจัดการ โดยต้องทำให้ค่าโดยสารไม่เกิน 30 บาท
https://www.thansettakij.com/economy/526283

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอ็ดดี้ ข้องใจปม ‘เกาะกูด’ ถาม ‘ทักษิณ’ มีข้อตกลงอะไรกับ ‘ฮุนเซน’ หรือไม่

ทักษิณ ชินวัตร ไร้น้ำยา ไม่สมราคาคุย หรือ ทักษิณ ชินวัตร มีข้อตกลงอะไรกับฮุนเซน หรือไม่ อย่างไร เป็นคำถามที่ค้างคาใจประชาชนคนไทยทั้งชาติ

'อัษฎางค์' ข้องใจ ม.นเรศวร จ้างฝรั่งมาบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างไร?

อัษฎางค์ ยมนาค โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ระบุข้อความว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรจ้างฝรั่งมาบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างไ

สงสัย 'อเมริกา' คือจุดเริ่มต้นการชุมนุมของนิสิตนักศึกษาเดือนตุลาถึงขบวนการสามกีบหรือไม่?

อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า สหรัฐอเมริกา(ผู้รักษาสันติภาพ ที่ทำลายสันติภาพ) คือจุดเริ่มต้นการชุมนุม

'อัษฎางค์' ยกตัวออย่างเห็นภาพแทรกแซงธนาคารกลาง = หายนะ

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก #ประชานิยม + #การแทรกแซงธนาคารกลาง = #หายนะ เมื่อฝ่ายการเมืองคิดจะใช้นโยบายประชานิยม