สภาที่ 3 ชำแหละ! ที่ดินเขากระโดง ย้ำที่ดินพระราชทานเป็นของรัฐแต่ถูกบุกรุก ศาลฎีกา-ปปช.ตัดสินแล้วเป็นของรฟท. จี้เร่งฟ้องกรมที่ดินและยึดคืนมาก่อนปล่อยให้เช่า 'วีระ' เชื่อ! อิทธิพลบ้านใหญ่บุรีรัมย์ทำข้าราชการล่าช้า เทียบกรณี 'แม่ธนาธร' 2 ปีจบ ไม่ต้องรอคำสั่งศาลฎีกา
17 มี.ค.2566- เมื่อ เวลา 10.00-11.30 น. สภาที่ 3 ร่วมกับ คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา'35 จัดเสวนา - The Third Council Speaks" เรื่อง "โกงที่ดินการรถไฟ เขากระโดง เมื่อไหร่รัฐจะได้คืน?" โดยมีนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา'35 กล่าวเปิดงาน , นายวีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น และ นายสุวิช ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ ร่วมอภิปรายและดำเนินรายการโดย นายอินทร์ แย้มบริบูรณ์
นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ กล่าวว่า สภาที่ 3 ได้จัดวาระ 'ทวงคืนสมบัติชาติ' ตั้งแต่ปี 2564 มีหลายเรื่องจำเป็นต้องทวงคืน โดยเฉพาะกรณี เขากระโดง ที่มีความขัดเจน ได้อธิบายให้ประชาชนทราบว่า ทำไมต้องเอาเรื่องที่เขากระโดงกลับมาเป็นของแผ่นดิน ปัจจุบันสังคมชัดเจนแล้วว่ามีการแอบอ้างออกโฉนด กระทั่งฟ้องร้องและศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นที่ดินการรถไฟ ต้องเพิกถอนจากผู้บุกรุกและคืนทรัพย์สินให้แผ่นดิน แต่มีการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ยื้อจนปัจจุบันนี้ยังไม่ทำอะไร กระทั่งเรื่องนี้เป็นข่าวอีกครั้งเมื่อนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตนักการเมืองจอมแฉ ออกมาเปิดเผยอีกครั้ง ถือว่า นับแต่ปี 2564 ยังไม่มีผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีที่มีอำนาจหรือผู้ว่าการรถไฟ ไม่ทราบว่าใช้อำนาจและเทคนิคกฎหมายอย่างไร แต่เป็นเรื่องไม่สมควร เพราะที่ดินเป็นจองรัฐต้องคืนให้รัฐ
"ถ้าประชาชนฟ้องร้องกัน ใช้เทคนิคกฎหมายเอาชนะกันได้ แต่นี่เป็นที่ดินรัฐพระราชทานมา การทำเช่นนั้นน่ารังเกียจ ทั้งยังเกี่ยวพันพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบ้านเมือง จึงต้องเคลียร์ให้สะอาด อะไรที่เป็นของรัฐ มันตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม คืนให้กลับมาให้รัฐ"
นายสุวิช ศุมานนท์ กล่าวว่า รัชกาลที่ 6 พระราชทานที่ดินให้การรถไฟฯใน ปี 2464 ดระทั่งปี 2464 ออกเป็น พ.ร.บ.จัดวางรางรถไฟและทางหลวง ถือเป็นของการรถไฟโดยสมบูรณ์ เจากระโดง มีหินแกรนิตดีที่สุดในการทำรางรถไฟ ต่อมามีผู้บุกรุก โดยเฉพาะนักกการเมือง กรณีเขากระโดงก็มีฝ่ายการเมืองที่เกี่ยวข้อง ออกมาอ้างว่า ผู้บุกรุกได้ที่ดินมาครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเชื่อว่า เป็นการพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะศาลได้ตัดสินแล้วว่าที่ดิน 5 พันไร่ที่เขากระโดงเป็นพื้นที่ของการรถไฟฯทั้งหมดรวมทั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) ก็ชี้ขาดแล้วว่าเป็นที่ดินของการรถไฟ แต่มีการใช้การเมืองเบี่ยงเบนเพื่อฮุบที่ดินไปเป็นของตัวเอง
นายวีระ สมความคิด กล่าวว่า ที่ดินเขากระโดงจึงของรัฐ เป็นของประชาชนทั้งประเทศ ที่ให้การรถไฟเช่า ทำโรงโม่ เพื่อนำหินมาใช้สร้างทางรถไฟ แม้มีผู้เกี่ยวข้องในกรมที่ดินที่ระบุว่าเป็นผู้ออกโฉนด 170 ไร่ให้ชาวบ้านโดยชอบและขั้นตอนการรังวัดมีเจ้าหน้าที่การรถไฟเป็นผู้ชี้แนวให้จึงถือว่ายอมรับและออกเอกสารสิทธิ์ให้ชาวบ้าน กระทั่งมีการนำคดีฟ้องศาลจำนวน 35 ราย ทราบว่ามีเจ้าพ่อบุรีรัมย์หนุนหลังให้ชาวบ้านฟ้องร้องภาครัฐ ก่อนศาลฎีกาพิพากษาให้การรถไฟฯชนะคดีและให้กรมที่ดินไปเพิกถอน 4 แปลง แต่กรมที่ดินไม่ยอมดำเนินการ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจในรัฐบาล และแม้ศาลฎีกาตัดสินแล้ว แต่ฝ่ายผู้บุกรุกที่ดินรัฐดังกล่าว ยังนำเรื่องไปยื่นศาลปกครอง เชื่อว่าเป็นเพราะมีผู้มีอำนาจรัฐอยู่เบื้องหลัง
“ศาลปกครองอยู่ในอำนาจกำกับดูแลกระทรวงยุติธรรม มีรัฐมนตรีช่วย (รมช.ยุติธรรม)เป็นญาติสนิท 'บ้านใหญ่บุรีรัมย์' ส่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่ใต้กำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรี ทั้ง 2 กรมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของบ้านใหญ่ จึงไม่รีบปฏิบัติตามคำสั่งศาล เพราะถ้าปฏิบัติตามคำสั่งศาลเขาจะเสียหาย แต่ถ้าทำตามคำสั่งศาลฎีกา ชาติและประชาชนไม่เสียหายอะไรแต่จะได้จะได้ประโยชน์ กรณีนี้จึงเลวร้ายยิ่งกว่าผลประโยชน์ทับซ้อน”
นายวีระ กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องแน่นอน พร้อมเทียบกรณีที่ นางปารีณา ไกรคุปต์ อดีต ส.ส.ราชบุรี ยื่นกรมที่ดินตรวจสอบที่ดินดินสองพันกว่าไร่ ของนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มาดาซึ่งเป็นนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเมื่อปี 2563 กรมที่ดินสั่งเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ทั้งแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) และโฉนด รวม 53 ฉบับเป็นที่ดิน 2,111 ไร่แล้ว เมื่อปีที่แล้ว 2565 โดยมองว่า มี่รวดเร็วได้เช่นนั้นเป็นเพราะนายธนาธร เป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล จึงใช้เวลา 2 ปี ก็จบ ที่สำคัญไม่ต้องมีคำสั่งศาลฎีกา กรมที่ดินก็เพิกถอนให้ได้ตามกฎหมายที่ดิน
"ต้องเข้าใจนะ บุรีรัมย์ใครคุม ตอนร่วมรัฐบาลมีพรรคไหนบ้าง ถามว่าทำไมเจ้าหน้าที่บุรีรัมย์กล้าออกโฉนด ในความจริงประเทศไทยผู้มีอำนาจสั่งได้หมดทุกหน่วยงาน"
นายวีระ เสนอแนวทางแก้ปัญหาว่า ให้แนวทางแบบกรณีทวงคืนผืนป่า ของ คสช. และหลายๆกรณีที่รัฐบาลทำ คือ ยึดที่ดินคืนมาเป็นที่การรถไฟฯ หากจะพัฒนาพื้นที่ด้วยการปล่อยเช่าก็กำหนดเกณฑ์สำหรับปล่อยเช่าทำธุรกิจด้วยอัตราค่าเช่าที่เเพงกับปล่อยเช่าเพื่อเกษตรกรรมในราคาถูกให้ชัดเจน และเรียกร้องให้การรถไฟฯ ฟ้องร้องเอาผิดกับกรมที่ดิน ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ด้วย
ขณะที่ นายสุวิช กล่าวอีกว่า นอกจากการรถไฟฯ ชนะคดีแล้ว ยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายผู้บุกรุกได้ กรณี 35 รายนั้นต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยแต่การรถไฟปล่อยให้ราษฎรทั้ง 35 รายที่บุกรุกที่ดินดังกล่าวได้เช่าพื้นที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและทำกินตามที่ร้องขอ กระทั่งที่ดินเปลี่ยนมือและเปลี่ยนการใช้ประโยชน์และไม่ได้แจ้งให้การรถไฟฯทราบ แต่หน่วยงานที่ดูแลระบบผิดชอบ ไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ ไม่ทำตามคำพิพากษาศาลฎีกา เชื่อว่า หากนำที่ดินกลับคืนสู่รัฐแล้ว สามารถทำสัญญาเช่าตามหลักเกณฑ์ ซึ่งปกติมีระบบนี้อยู่แล้วในการออกแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการปล่อยเช่าทั้งเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อการพานิชย์ เพื่อเกษตรกรรมในอัตราที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม
“ต้องการให้กรมที่ดินกับการรถไฟฯควรจับมือกัน หาข้อสรุป โดยเฉพาะผู้ว่าการรถไฟฯและผู้มีอำนาจ ให้ตระหนักและใส่ใจโดยปฏิบัติตามหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย” นายสุวิช กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วีระ ข้องใจทักษิณประกาศไฟฟ้าปีนี้ต้องเห็นเลข 3 ถาม ลูกหรือพ่อเป็นนายกฯกันแน่?
วีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชัน แชร์โพสต์ของ Suthichai Yoon นำคำพูดของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี บนเวทีปราศรัย
'กรมที่ดิน' โต้ยิบการรถไฟฯ ชี้คำพิพากษาศาลฎีกาผูกพัน 35 ราย ไม่ได้เหมารวม 5,083 ไร่
กรมที่ดินออกแถลงการณ์ว่าตามที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงถึงการดำเนินการของ การรถไฟฯ เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง
'วัชระ' ไล่บี้ ป.ป.ช. เร่งสอบ 2 กรณี ทุจริตรัฐสภาใหม่-กรมที่ดินขัดคำสั่งศาลปมเขากระโดง
นายวัชระ เพชรทอง เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวเรื่องอธิบดีกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ไม่เพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ
เปิดข้อมูลใหม่ปม 'ปมกระโดง' พิรุธแผนที่การรถไฟฯรุกสิทธิชาวบ้าน
ปมพิพาทพื้นที่บริเวณเขากระโดง กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งเมื่อ “ทรงศักดิ์ ทองศรี” รมช.มหาดไทย (มท.2) และ “กรมที่ดิน” ลงพื้นรับฟังปัญหาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชน และหน่วยราชการ ในพื้นที่เขากระโดงใน จังหวัดบุรีรัมย์
คนงานรถไฟจี้ผู้ว่ารฟท.ฟ้องบังคับคดีที่ดินเขากระโดงตามคำพิพากษาของศาล
‘สมาพันธ์คนงานรถไฟ’ จี้ผู้ว่ารฟท.ดำเนินคดีผู้บุกรุกที่ดินเขากระโดงตามคำพิพากษาของศาลโดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลการการเมือง โต้ ‘รมช.มท.-อธิบดีกรมที่ดิน’ อ้างปชช.อยู่มาก่อน2460 เป็นความเท็จ มีแต่ชาวบ้านริดรอนสิทธิ์รฟท. ลากไส้’นักการเมือง’ เคยยอมรับอาศัยอยู่ในที่ดินรฟท.ตั้งแต่ปี 2513 แล้วใช้อิทธิพลออกเอกสารสิทธิ์ ย้ำแผนที่ถูกกำหนดชัดเจนตั้งแต่ปี2462
อธิบดีที่ดิน ชี้เพิกถอน 'เขากระโดง' หลักฐานต้องชัด 100% ต่าง 'คดีอัลไพน์' ทำนิติกรรมไม่ถูกต้อง
นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง บริเวณที่ดินเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการอ้างสิทธิในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.