คนกรุงหายใจคล่องขึ้นบ้าง ค่าฝุ่นละอองเฉลี่อยู่ที่ 44.6 มคก./ลบ.ม. แต่มี 9 พื้นที่ยังโดนฝุ่นพิษเล่นงาน ข่าวดีนับแต่วันนี้มีแนวโน้มดีขึ้นเพราะลมฟ้าอากาศเปลี่ยน
16 มี.ค.2566 - เพจสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร โพสต์ว่า ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 16 มี.ค. 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 32-58 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 44.6 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5มีแนวโน้มลดลง แต่ยังคงเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพบางพื้นที่
ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 32-56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 9 พื้นที่ คือ
1.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
2.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
4.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
5.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
6.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
7.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
8.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
9.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 16-22 มี.ค.2566 อากาศเริ่มอยู่ในสภาวะเปิด การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 16-23 มี.ค.2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ลมใต้ และตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมแทนที่ อากาศจะเริ่มร้อนขึ้น (ยังไม่ถึงร้อนจัด) และมีหย่อมความกดอากาศต่ำเข้ามาปกคลุมแทน ควรระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้งที่ควรระวังโรคลมแดดและวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
ช่วงวันที่ 16 มี.ค.2566 เป็นต้นไปสถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่
2.จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
PM2.5 มาแล้ว พบ ‘กทม.’ ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่
ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ พบเกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพฯ
คุณภาพอากาศทั่วไทยอยู่ระดับปานกลางถึงดีมาก!
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ