กสม.ชวนสังคมอย่าเพิกเฉยเรื่องผัว-เมียทะเลาะกัน!

กสม.ชี้กรณีหญิงถูกสามีทำร้ายร่างกาย จุดไฟเผาและแทงจนเสียชีวิต สะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เรียกร้องสังคมร่วมดูแล เข้าช่วยเหลือเมื่อพบเหตุ

09 มี.ค.2566 - นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แถลงว่า ตามที่ปรากฏข่าวที่น่าสลดใจกรณีหญิงถูกสามีทำร้ายร่างกาย จุดไฟเผา และแทงจนเสียชีวิต ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยพลเมืองดีที่เข้าช่วยเหลือได้รับบาดเจ็บด้วยนั้น กสม.ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้ที่สูญเสีย และขอชื่นชมพลเมืองดีที่เข้าให้การช่วยเหลือเมื่อพบเห็นการกระทำความรุนแรงดังกล่าว

นายวสันต์ กล่าวว่า เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งที่ กสม.ให้ความสำคัญและกำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนในปีนี้ กรณีนี้นอกจากจะนำมาซึ่งความสูญเสียจากการกระทำที่โหดร้ายทารุณ อีกด้านยังสะท้อนให้เห็นถึงแบบอย่างที่น่าชื่นชมของพลเมืองดีที่เข้าให้ความช่วยเหลือเมื่อพบเห็นการกระทำความรุนแรง ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 5 ที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของทุกคนที่พบเห็นการกระทำความรุนแรงในครอบครัวต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การช่วยเหลือ โดยไม่ต้องให้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงหรือคนในครอบครัวเท่านั้นที่ต้องแจ้งเหตุ ทั้งนี้ ผู้แจ้งโดยสุจริต มีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครองด้วย

ขณะนี้สำนักงาน กสม.ได้ร่วมมือกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดทำสื่อรณรงค์ชุดเรื่องผัวเมียยุ่งได้ เพื่อเผยแพร่รณรงค์ให้สังคมตระหนักและมีความรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ไม่เพิกเฉยกรณีพบเหตุความรุนแรงในครอบครัว และเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล 8 มีนาคม กสม. ขอเน้นย้ำและเรียกร้องให้ทุกคนในสังคมตระหนักว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่ผู้หญิงมักจะเผชิญนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวและไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องที่สังคมต้องช่วยกันสอดส่องดูแล การบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำให้กระทำ ไม่กระทำ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดต่อคนในครอบครัวโดยมิชอบนั้น มีความผิดทางอาญา

“ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวของผู้อื่นรวมทั้งครอบครัวของตนเอง เป็นเรื่องที่ทุกคนที่พบเห็นหรือถูกกระทำต้องไม่เพิกเฉย ไม่ยอมจำนน ไม่คิดว่าไม่ใช่เรื่องของตัวเอง และไม่ปล่อยให้เป็นเรื่องปกติที่คุ้นชินในสังคม โดยต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าให้ความช่วยเหลือทันทีที่เกิดเหตุ เพราะทุกความรุนแรงที่เหยื่อถูกกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายกันด้วยคำพูดหรือการทำร้ายร่างกาย อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ การใช้ชีวิต ไปจนถึงความสูญเสียต่อชีวิตอันเป็นการละเมิดสิทธิที่ร้ายแรงและเป็นความผิดทางอาญาด้วย”นายวสันต์กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สนธิญา' ยื่น 'กสม.' สอบ 'ทักษิณ' ละเมิดสิทธิ์ หานักร้องเป็นหมา

ที่สำนักงาน​คณะกรรมการ​สิทธิมนุษยชน​แห่ง​ชาติ​ (กสม.)​ นายสนธิญา สวัสดี เดินทางยื่นหนังสือ พร้อมหลักฐานภาพข่าวการหาเสียงนายก องค์การ

กสม. ชื่นชมรัฐบาล เร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะบุคคลแก่ผู้ที่ยังมีปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงว่า ตามที่รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ไว้ในการประชุมระดับสูงว่าด้วยความไร้รัฐ (High-Level Segment on Statelessness) เ

กสม.ชงนายกฯ ทบทวนปิดศูนย์การเรียนรู้เด็กต่างด้าว ห่วงผลกระทบเป็นลูกโซ่

'กสม.' มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้คุ้มครองสิทธิเด็กลูกหลานแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ ทบทวนมาตรการปิดศูนย์การเรียนรู้เด็กต่างด้าว ห่วงผลกระทบกว้างขวางเป็นลูกโซ่

กสม. ชี้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในเหตุการณ์ที่ 'สารวัตรกานต์' เสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ

กสม. ชี้ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเหตุการณ์ที่ 'สารวัตรกานต์' เสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะ ตร. อบรมเสริมความรู้ด้านการบริหารเหตุการณ์วิกฤติ

เปิดฉบับเต็ม! รายงานกสม. มัดเรือนจำพิเศษกรุงเทพ-รพ.ตำรวจ เลือกปฏิบัติช่วยทักษิณ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่อง "การเลือกปฏิบัติและสิทธิของผู้ต้องขัง กรณีร้องเรียนว่า นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น" กรณีผู้ร้อง(ปกปิดชื่อ) ผู้ถูกร้อง      เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ที่ 1โรงพยาบาลตำรวจที่ 2

กสม.แถลงค้าน ปิดศูนย์เรียนรู้เด็กข้ามชาติ ชี้สถานศึกษาในพื้นที่ ยังไม่มีความพร้อม

ตามที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีประกาศปิดศูนย์การเรียนมิตตาเย๊ะ บางกุ้ง ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี