กสม.เผยแพร่สาร เนื่องในวันสตรีสากล จะมุ่งผลักดันและรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิสตรีและความเสมอภาคทางเพศ ให้ผู้หญิงทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและโอกาส
8 มี.ค.2566 - สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เผยแพร่ สารเนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม ประจำปี 2566 โดยประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (นางสาวพรประไพ กาญจนรินทร์ ) มีรายละเอียดดังนี้
วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเตือนให้ระลึกถึงความมุ่งมั่นของนานาประเทศที่ได้ยืนหยัดเรียกร้องและต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและความเสมอภาคทางเพศที่มีมาอย่างยาวนาน
สำหรับประเทศไทย เป็นที่น่าภูมิใจที่ผู้หญิงไทยมีสิทธิในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ปี 2440 และปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้บริหารหญิงจำนวนไม่น้อยทั้งในภาครัฐ องค์กรประชาสังคม และภาคเอกชน ซึ่งปรากฏข้อมูลสถิติที่ชัดเจนว่า ผู้บริหารหญิงระดับสูงในองค์กรภาคธุรกิจมีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ 32 และสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและค่าเฉลี่ยทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการยอมรับในบทบาทและความสำคัญของผู้หญิงในการขับเคลื่อนสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ทั้งเด็ก คนพิการ คนสูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ยังคงประสบปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติ บางส่วนเข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา บริการสาธารณสุข สวัสดิการของรัฐ และการจ้างงาน รวมทั้งยังมีความไม่เท่าเทียมในเรื่องค่าตอบแทนในอาชีพ ผู้หญิงจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการถูกคุกคามทางเพศมากขึ้นในพื้นที่สังคมออนไลน์ ดังนั้น การรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมและช่วยกันแก้ปัญหายังคงเป็นความท้าทายของทุกภาคส่วนที่ต้องร่วมมือกันอย่างแข็งขันต่อไป
ในโอกาสวันสตรีสากล (International Women’s Day) 8 มีนาคม 2566 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ยืนยันจะมุ่งผลักดันและรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิสตรีและความเสมอภาคทางเพศ ร่วมกันขจัดอุปสรรคที่นำไปสู่การเลือกปฏิบัติและการถูกกระทำความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ และขอร่วมรณรงค์ภายใต้แนวคิด DigitalALL: นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ (DigitalALL: Innovation and technology for gender equality) ของสหประชาชาติในปีนี้ ที่เรียกร้องให้รัฐบาลและภาคส่วนต่าง ๆ ได้ร่วมกันปิดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล เพื่อให้ผู้หญิงทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและโอกาส ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในโลกออนไลน์ รวมทั้งแสวงหาแนวทางปกป้องสิทธิของผู้หญิง กลุ่มเปราะบาง รวมทั้งผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อนำไปสู่สังคมที่สันติสุขและเท่าเทียม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กสม. ประณาม 'ทักษิณ' ปราศรัยเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน ย้ำไทยอยู่ภายใต้ CERD
กสม.ซัด 'ทักษิณ' จ้อเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน อบรมคนมีอิทธิพลทางสังคมไม่ควรทำ หวั่นโดนขยายความรุนแรง ซ้ำรอยความสูญเสียในอดีต
กสม.แนะตร.แก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีผู้ต้องขังถูกอายัดตัวกว่า 10 ปี
กสม. แนะ ตร. แก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินคดีอาญาผู้ต้องขังที่ถูกอายัดตัวนานกว่า 10 ปี เสนอเรือนจำงดเว้นการร้องทุกข์ในคดีลหุโทษ
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมจี้ รร.นายร้อยตำรวจเร่งคดีล่วงละเมิดทางเพศ!
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการณ์เรื่องขอให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
กสม. ชื่นชมรัฐบาล เร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะบุคคลแก่ผู้ที่ยังมีปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงว่า ตามที่รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ไว้ในการประชุมระดับสูงว่าด้วยความไร้รัฐ (High-Level Segment on Statelessness) เ
กสม.ขยับ! ออกแถลงการณ์เรียกร้อง 3 ข้อในคดีตากใบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์
กสม. ชี้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในเหตุการณ์ที่ 'สารวัตรกานต์' เสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ
กสม. ชี้ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเหตุการณ์ที่ 'สารวัตรกานต์' เสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะ ตร. อบรมเสริมความรู้ด้านการบริหารเหตุการณ์วิกฤติ