เช็กด่วน! 70 พื้นที่เมืองกรุงที่ฝุ่นพิษเกินมาตรฐานในยุคต้องดูแลตัวเอง

ผงะ! คนกรุงเทพฯ เช็กด่วน 70พื้นที่ค่าฝุ่นพิษเกินมาตรฐานมีผลกระทบต่อสุขภาพ ส่วนภาพรวมของ กทม.ค่าฝุ่นอยู่ที่ 78.8 มคก./ลบ.ม.

08 มี.ค.2566 – เพจกรุงเทพมหานคร โพสต์เนื้อหาพร้อมกราฟิกระบุว่า ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 8 มี.ค. 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด)ตรวจวัดได้ 61-103 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 78.8 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังคงเกินมาตรฐานทุกพื้นที่ โดยอยู่ในระดับสีแดงมีผลกระทบต่อสุขภาพและอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 61-101 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 70 พื้นที่ คือ

1.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 101 มคก./ลบ.ม.
2.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 96 มคก./ลบ.ม.
3.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 93 มคก./ลบ.ม.
4.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 92 มคก./ลบ.ม.
5.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 90 มคก./ลบ.ม.
6.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 90 มคก./ลบ.ม.
7.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 89 มคก./ลบ.ม.
8.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 89 มคก./ลบ.ม.
9.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม.
10.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม.

11.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 87 มคก./ลบ.ม.
12.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 87 มคก./ลบ.ม.
13.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 86 มคก./ลบ.ม.
14.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.
15.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.
16.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.
17.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.
18.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม.
19.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม.
20.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม.

21.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 83 มคก./ลบ.ม.
22.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.
23.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.
24.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม.
25.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 80 มคก./ลบ.ม.
26.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 80 มคก./ลบ.ม.
27.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 80 มคก./ลบ.ม.
28.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 79 มคก./ลบ.ม.
29.สวนหนองจอก เขตหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 79 มคก./ลบ.ม.
30.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 79 มคก./ลบ.ม.

31.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 79 มคก./ลบ.ม.
32.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม.
33.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม.
34.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม.
35.เขตบางบอน ใกล้ตลาดสุขสวัสดี : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม.
36.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 77 มคก./ลบ.ม.
37.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม.
38.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม.
39.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน เขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม.
40.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม.

41.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.
42.เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.
43.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม.
44.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 73 มคก./ลบ.ม.
45.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 73 มคก./ลบ.ม.
46.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 72 มคก./ลบ.ม.
47.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 72 มคก./ลบ.ม.
48.เขตสวนหลวง ด้านหน้าสำนักงานเขตสวนหลวง : มีค่าเท่ากับ 72 มคก./ลบ.ม.
49.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 72 มคก./ลบ.ม.
50.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี เขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.

51.เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.
52.อุทยานเบญจสิริ (สวนเบญจสิริ) เขตคลองเตย เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.
53.เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants) : มีค่าเท่ากับ 70 มคก./ลบ.ม.
54.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 70 มคก./ลบ.ม.
55.เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.
56.สวนจตุจักร เขตจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.
57.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.
58.เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.
59.เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.
60.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 68 มคก./ลบ.ม.

61.เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ : มีค่าเท่ากับ 68 มคก./ลบ.ม.
62.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 68 มคก./ลบ.ม.
63.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 68 มคก./ลบ.ม.
64.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
65.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
66.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.
67.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ เขตประเวศ : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.
68.สวนพระนคร เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.
69.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม เขตบางคอแหลม : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
70.สวนลุมพินี เขตปทุมวัน เขตปทุมวัน : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 8 - 13 มี.ค. 2566 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างอ่อน อยู่ในสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จนถึงวันที่ 9 มี.ค.2566 ในช่วงวันที่ 10-12 มี.ค.2566 อากาศเริ่มอยู่ในสภาวะเปิด การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มลดลง ในช่วงนี้มวลอากาศเย็นยังแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน แต่เริ่มมีกำลังอ่อนลง มีอากาศเย็นตอนเช้า กลางวันอากาศร้อน (ท้องฟ้าโปร่ง เมฆน้อย) ลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ พัดปกคลุม มีกำลังอ่อนถึงปานกลาง

ควรระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งในระยะนี้ และต้องระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ควรระวังโรคลมแดด ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 12 - 13 มี.ค.66 อากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ จากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นเกิดการปะทะกันกับมวลอากาศร้อนทำให้มีพายุฤดูร้อน(พายุฝนฟ้าคะนอง) ลมกระโชกแรง มีฟ้าร้อง ฟ้าผ่าและลูกเห็บตกได้ และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

วันที่ 8 มี.ค. 2566 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่ โดยตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. 2566 เป็นต้นไป สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 7 มีนาคม 2566 จำนวน 4 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 เวลา 13.33 น. แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก จุดที่ 2 เวลา 13.52 น. แขวงหนองจอก เขตหนองจอก จุดที่ 3 เวลา 13.52 น. แขวงหนองจอก เขตหนองจอก และจุดที่ 4 เวลา 14.26 น. แขวงหนองจอก เขตหนองจอก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จุลพันธ์' ยันไม่ให้เงิน 'กรมบัญชีกลาง 'เป็นอุปสรรค แก้ปัญหา PM 2.5 พร้อมหนุนเต็มที่

'จุลพันธ์' ยัน จะไม่ให้เงินของ กรมบัญชีกลาง เป็นอุปสรรค แก้ปัญหา PM 2.5 ย้ำ รัฐบาล' ให้ความสำคัญ คือการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือ บอก ไม่ต้องกังวลเรื่องงบขาดพร้อมสนับสนุนเต็มที่

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

คนกรุงเทพฯ 13 พื้นที่ จมฝุ่นพิษ เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร : ประจำวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร