'กสม.'เผยแพร่สาร 'วันยุติการเลือกปฏิบัติสากล' ชี้เป็นหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งที่ทุกคนพึงปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยก ปลุกปชช.ร่วมผลักดันให้มีกฎหมายกลางห้ามเลือกปฏิบัติ
1มี.ค.2566- คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยแพร่สาร เนื่องในวันยุติการเลือกปฏิบัติสากล 1 มีนาคม ประจำปี 2566 ระบุว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 ให้การรับรองว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิ เสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม ความคิดเห็นทางการเมือง หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้
สิทธิของการไม่ถูกเลือกปฏิบัติดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิใช่เพียงสิทธิตามกฎหมาย แต่คือหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งสำหรับมนุษย์ทุกคนที่พึงปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยก ซึ่งสอดคล้องตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทุกฉบับที่ประเทศไทยเป็นภาคี
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติของประเทศไทย ตระหนักถึงผลกระทบที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล เช่น กลุ่มคนพิการ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มพนักงานบริการทางเพศ กลุ่มผู้ใช้สารเสพติด กลุ่มแรงงาน/แรงงานข้ามชาติ ฯลฯ ต้องได้รับและเผชิญกับความยากลำบากจากการถูกเลือกปฏิบัติ โดยตั้งแต่ปี 2544 – 2565 กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมกว่า 600 คำร้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเด็นการเข้าไม่ถึงสิทธิในการประกอบอาชีพและการได้รับบริการขั้นพื้นฐานจากรัฐอย่างเสมอภาค ทั้งนี้ กสม. ได้มีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายเพื่อยุติการเลือกปฏิบัติเสนอไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง และขอย้ำว่าสิทธิในการไม่ถูกเลือกปฏิบัติเป็นสิทธิของทุกคน เป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน
เนื่องในวันยุติการเลือกปฏิบัติสากล (Zero Discrimination Day) 1 มีนาคม ประจำปี 2566 นี้ กสม. ขอเชิญชวนให้ทุกคน และองค์กรทุกภาคส่วน ร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยมีกฎหมายกลางในเรื่องการห้ามเลือกปฏิบัติต่อบุคคลที่ครอบคลุมทั้งเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติที่หลากหลายและมิติของการเลือกปฏิบัติที่เปลี่ยนไปตามสภาพสังคม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยทุกคนได้มีหลักประกันความเสมอภาค และร่วมกันขจัดการเลือกปฏิบัติ ให้เกิดผลได้อย่างแท้จริงในสังคมไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กสม.แนะตร.แก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีผู้ต้องขังถูกอายัดตัวกว่า 10 ปี
กสม. แนะ ตร. แก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินคดีอาญาผู้ต้องขังที่ถูกอายัดตัวนานกว่า 10 ปี เสนอเรือนจำงดเว้นการร้องทุกข์ในคดีลหุโทษ
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมจี้ รร.นายร้อยตำรวจเร่งคดีล่วงละเมิดทางเพศ!
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการณ์เรื่องขอให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
กสม. ชื่นชมรัฐบาล เร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะบุคคลแก่ผู้ที่ยังมีปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงว่า ตามที่รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ไว้ในการประชุมระดับสูงว่าด้วยความไร้รัฐ (High-Level Segment on Statelessness) เ
กสม.ขยับ! ออกแถลงการณ์เรียกร้อง 3 ข้อในคดีตากใบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์
กสม. ชี้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในเหตุการณ์ที่ 'สารวัตรกานต์' เสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ
กสม. ชี้ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเหตุการณ์ที่ 'สารวัตรกานต์' เสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะ ตร. อบรมเสริมความรู้ด้านการบริหารเหตุการณ์วิกฤติ
จองเวรต่อ! ยกผลสอบ กสม. สอย 'นายกฯอิ๊งค์' พ่วง 2 รมต.
'เรืองไกร' จองเวรต่อ! ยกคำวินิจฉัย กสม. ร้อง กกต. ส่งศาลรัฐธรรมนูญ สอย 'นายกฯอิ๊งค์' พ่วง 'สมศักดิ์-ทวี' ส่อขัด ม.160 ฝ่าฝืนจริยธรรมข้อ 8